-=Jfk=- Cyber Clinic

การให้วัคซีนป้องกันโรค

1 วัคซีนตามโปรแกรมป้องกันโรคทั่วไป

2 วัคซีน ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (HIB)

3 วัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบชนิด A

4 วัคซีนป้องกัน โรคอีสุก-อีใส (Chickenpox)

5 วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและเซรุ่ม

6 วัคซีนป้องกัน หัดเยอรมัน (Rubella)

7วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่(H Flu)

วัคซีนในโปรแกรมป้องกันโรค
ที่เด็กทุกคนควรจะได้รับ

รายการวัคซีน

อายุ ที่ควรจะได้รับ

วัคซีนป้องกันวัณโรค
BCG

ให้ตั้งแต่วันแรกเกิด

วัคซีนป้องกันโรค
คอตีบ-ไอกรน- บาดทะยัก-โปลิโอ
DPT & OPV

ครั้งที่ 1............2 เดือน
ครั้งที่ 2............4 เดือน
ครั้งที 3............6 เดือน
กระตุ้น ครั้งที่ 1...........1ปี 6 เดือน
กระตุ้น ครั้งที่ 2................4-6 ปี

วัคซีนป้องกันโรค
ไวรัสตับอักเสบชนิด B
Hepatitis B Vaccine

ครั้งที่ 1...........แรกเกิด
ครั้งที่ 2.........1-2 เดือน
ครั้งที 3............6 เดือน

วัคซีนหัด-หัดเยอรมัน-คางทูม
Measle-Rubella-Mump
(MMR)

ครั้งที่ 1...........1ปี
ครั้งที่ 2...........4 ปี

วัคซีนป้องกันโรค
ไข้สมองอักเสบ
JE Vaccine

ครั้งที่1 แล้วแต่แพทย์กำหนด (นิยมให้ตอน 1 1/2 ปี)
ครั้งที่ 2 ห่างกับ ครั้งแรก 7-14 วัน
ครั้งที่ 3 กระตุ้นห่างจากครั้งที่2 อีก1ปี

หมายเหตุและข้อสังเกต
1 วัคซีนDPT & OPV มีบางบริษัท ทำเป็นโปลิโอชนิดฉีด(IPV) รวมไปด้วยกันเป็นวัคซีนฉีด เข็มเดียวไม่ต้องกิน วัคซีนโปลิโอ (OPV)
หรือ บาง บริษัท ยัง เพิ่มวัคซีน ป้องกันไวรัสตับอักเสบ B และ หรือ วัคซีน HIB (วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อ Hemophilus Type B) ไปพร้อมด้วยกัน ก็มี) โดยจะใช้แทนการให้วัคซีน DPT & OPV สามครั้งแรกและ Heb B Vaccine 3 เข็ม และ HIB 3 เข็มเช่นกัน
2 วัคซีนป้องกัน ตับอักเสบชนิด B แต่เดิม จะให้ กระตุ้นหลังจากฉีดเข็มสามไปแล้วทุก 5 ปี แต่ ปัจจุบัน แนะนำว่า ไม่จำเป็นต้องฉีดกระตุ้น หลังจากได้รับครบสามเข็มแรก แล้ว ในเด็กอายุน้อยกว่าสิบปี ใช้วัคซีนของเด็ก ซึ่งขนาดน้อยกว่า ของผู้ใหญ่ ครึ่งหนึ่ง แต่เด็ก อายุมากกว่าสิบปี และคนโต ใช้ของวัคซีนผู้ใหญ่
กลับไป Menu ด้านบน


วัคซีนอื่นๆ นอกโปรแกรมปกติ

วัคซีน ป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (HIB)

เป็นวัคซีนคนละตัว กับ วัคซีนไข้สมองอักเสบ แต่ ตัวนี้เป็นวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อ Haemophilus influenze type B หรือ ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจ และ ปอดอักเสบ แต่ใตเด็กเล็กบางครั้งทำให้เกิด อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งค่อนข้างรุนแรงได้
หลักการให้วัคซีน HIB
เด็กอายุ 2-6 เดือนจะให้ สามครั้ง ห่างกันครั้งละ 1-2 เดือน และให้กระตุ้นอีกครั้ง หนึ่งปี หลังเข็มที่สาม
เด็กอายุ 6-12 เดือน จะให้สองครั้ง ห่างกัน 1-2 เดือน และให้กระตุ้นอีกครั้ง หนึ่งปี หลังเข็มที่สอง
เด็กอายุ 1-5 ปี ให้ครั้งเดียว
ถ้าเด็กอายุเกิน 5 ขวบไปแล้วโอกาส จะเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองจากเชื้อนี้น้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องให้วัคซีนนี้ อีกต่อไป

กลับไป Menu ด้านบน

วัคซีนป้องกัน ไวรัสตับอักเสบชนิด A

เป็นวัคซีนป้องกันการเกิดตับอักเสบ จากเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิด A ซึ่งเป็นโรคที่ติด ทางทางเดินอาหารโดยกินอาหารที่มีเชื้อปะปน
ก่อนฉีด อาจจะเจาะเลือดดูก่อน ว่า มีภูมิต้านทานต่อเชื้อนี้อยู่แล้วหรือไม่ ถ้ามีแล้วไม่จำเป็นต้องฉีดก็ได้
การให้วัคซีนปกติให้ สามครั้ง ห่างกันทุก 6 เดือน
เด็กอายุ 1-18 ปี ใช้ของเด็ก (Junior)
อายุ 18 ปี ขึ้นไปใช้ของผู้ใหญ่
สำหรับเด็ก อายุ ต่ำกว่า สิบห้าปี อาจจะใช้ของเด็กเล็กซึ่ง ขนาดน้อยกว่า เด็กโต อีกครึ่งหนึ่งก็ได้

กลับไป Menu ด้านบน

วัคซีนป้องกัน โรคอีสุก-อีใส (Chickenpox)

เป็นวัคซีนที่มีออกมาใช้ ระยะหนึ่งแล้วช่วยป้องกันการเกิดโรค อีสุก-อีใส ราคาวัคซีนยังค่อนข้างแพง (เข็มล่ะประมาณ หนึ่งพันกว่า ถึง สองพันบาท แล้วแต่สถานที่) ดังนั้นจึงยังไม่นิยมกันมากนัก
หลักการให้วัคซีนอีสุกอีใส
เด็กอายุมากกว่าหนึ่งขวบ ถึง สิบสามปี ฉีดเข็มเดียว
เด็กอายุมากกว่าสิบสามปี ฉีดสองเข็ม ห่างกัน 6-10 สัปดาห์
ข้อสังเกตุ
จากประสบการณ์การใช้วัคซีนนี้ พบว่า มีผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ ไม่ได้ป้องกันได้ 100% ผู้ได้รับวัคซีนครบแล้ว บางคนยังคงติดเชื้อ และเป็นโรค สุกใสได้ในบางราย แต่ ความรุนแรงของโรคในรายที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนจะไม่รุนแรงมากนัก

กลับไป Menu ด้านบน

วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าและเซรุ่ม

มีวิธีการให้สองวิธีใหญ่คือ

  • ให้ก่อนรับเชื้อ (Pre Expossure)ใช้สำหรับ คนที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อบ่อยๆ เช่นสัตวแพทย์ หรือ แพทย์ ที่ดูแลผู้ป่วยโรคนี้บ่อย
    พวกนี้จะให้ ชุดแรก สามเข็ม โดยให้ เข็มแรก ในวันแรก (Day 0) เข็มที่สอง Day 7 และเข็มที่สาม Day 28 และให้กระตุ้นอีกครั้งห่างเข็มสาม หนึ่งปี หลังจากนั้นกระตุ้น หนึ่งเข็มทุก สามปี

  • ให้หลังรับเชื้อ ( Post Exposure) คือให้หลังถูกสัตว์กัด แล้ว

  • หลักเกณฑ์พิจารณาว่า ผู้ถูกกัดรายใดควรจะต้องได้รับการฉีดวัคซีน คำนึงได้จาก

  • สัตว์ที่กัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม(สัตว์ประเภทอื่นไม่มีเชื้อนี้)

  • สัตว์นั้นไม่ได้รับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า ตามเวลาที่กำหนดหรือไม่แน่ใจ

  • แผลที่กัดมีรอยแผลให้เห็น หรือ มีแผลเปิด ทีสัมผัสกับน้ำลายสัตว์

  • แผลที่ถูกกัดทะลุผ้า และมีรอยช้ำเลือดซิบๆ ถือว่าเป็นการกัดเข้า

  • การให้วัคซีน
    ปัจจุบัน จะเลือกใช้แต่วัคซีนที่เพราะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อคน และเซลของไก่ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีตารางการให้คล้ายๆ กันส่วน พวกที่เพาะเลี้ยงจากสมองสัตว์ ทั้งสมองแกะและสมองหนู พบแพ้ได้บ่อยปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว

    เริ่มให้วัคซีนให้เร็วที่สุด รวม ห้าเข็ม เข็มแรก นับเป็นวันที่ 0 (Day 0) ต่อไปฉีดครั้งล่ะเข็ม วันที่ Day 3 ,Day 7,Day 14,และเข็มสุดท้าย Day 30, แต่ก่อนให้กระตุ้นอีกครั้ง Day 90 แต่ปัจจุบัน WHO ให้คำแนะนำว่า เข็มที่ 6 ไม่จำเป็นต้องให้แล้ว

    การให้ เซรุ่มป้องกันพิษสุนัขบ้า
    จะพิจารณาให้เพิ่มกับผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดนอกจากการให้วัคซีนโดยจะให้ใน สองกรณีคือ

    1 แผลที่ถูกกัด เป็นแผลใหญ่ฉีกขาดมาก มีโอกาสได้รับเชื้อเข้าไปจำนวนมาก
    2 แผลที่ถูกกัด อยู่ที่ มือ แขน ใบหน้า หรือศรีษะ ซึ่งมีเส้นประสาท ที่ต่อเชื่อมเข้าสมอง ใกล้กว่าส่วนอื่น ทำให้โรคมีโอกาศดำเนินได้ไว กว่าปกติ
    การให้เซรุ่มนี้ จะ ให้ในวันแรกที่ถูกกัดใหม่เลย โดยแบ่งครึ่งหนึ่งฉีดรอบๆ บาดแผล และอีกครึ่งหนึ่งฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

    กลับไป Menu ด้านบน

    วัคซีนป้องกัน หัดเยอรมัน (Rubella)

    มักนำมาใช้ ในหญิงวัยเจริญพันธ์ ที่ยัง ต้องการมีบุตรอีก และไม่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้ หรือได้รับ วัคซีนนี้ในวัยเด็กมาก่อน หรือไม่แน่ใจว่าเคยได้รับมาก่อนหรือป่าว
    เนื่องจากถ้ามีการติดเชื้อหัดเยอรมันในตอนตั้งครรภ์อ่อน หรือระยะครรภ์ ไม่เกิน 20 สัปดาห์ อาจจะทำให้ทารกในครรภ์ออกมาพิการ เช่นมีต้อกระจกหรือหูหนวกได้
    ในรายผู้ป่วยที่มีไข้ออกผื่น ตอนตั้งครรภ์อ่อนๆ และไม่แน่ใจ ว่าเป็นหัดเยอรมันหรือไม่อาจจะต้องเจาะเลือดดูภูมิต้านทาน(แอนติบอดี้)ของเชื้อ นี้ ว่ามีการติดเชื้อในขณะนั้นหรือไม่(อาจจะต้องเจาะ 2 ครั้งห่างกัน ประมาณ 4 สัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของแอนติบอดี้ดังกล่าวด้วย
    การให้วัคซีน
    ปกติ ควรให้ก่อน แต่งงาน หรือ ถ้า แต่งงานแล้วมีเพศสัมพันธ์แล้ว แนะนำให้คุมกำเนิดหลังฉีด ประมาณ 3 เดือน แต่ถ้าการคุมกำเนิดเกิดพลาดทำให้ตั้งครรภ์ ก็ไม่จำเป็นต้องทำแท้ง เพราะว่ายังไม่เคยมีรายงานว่ามีเด็กพิการหรือผิดปกติ จากแม่ที่ได้รับวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ดังกล่าว
    ในรายที่ไม่แน่ใจ ว่าตัวเองมีภูมิต้านทานหรือไม่ อาจจะเจาะดูภูมิต้านทานก่อนฉีดวัคซีนก็ได้ แต่แนะนำว่าฉีดไปเลยดีกว่า ครับ แม้ว่าจะมีภูมิต้านทานอยู่แล้ว ฉีดซ้ำก็ไม่มีข้อเสียอะไร
    แต่ถ้า เจาะเลือดดูก่อนค่าเจาะเลือดดูภูมิต้านทานตัวนี้ แพงกว่า ค่าวัคซีน และ ถ้าเจาะแล้ว ไม่มีภูมิต้านทานก็ต้องฉีดวัคซีนอยู่ดี เปลืองตังค์และเจ็บตัว 2 รอบ

    กลับไป Menu ด้านบน

    วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Hemophilul Influenza)

    เป็น Vaccine ที่ไม่ได้ให้กับคนไข้ทุกราย แต่ว่าจะเลือกใช้ กับคนที่ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย และรุนแรง ถ้าเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่นคนแก่ และเนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีหลายสายพันธ์ และเปลี่ยนแปลงการระบาด หรือกลายพันธ์ไปได้ทุกปี ดังนั้นจึงต้องออกวัคซีนสายใหม่ๆ ออกมาใช้ฉีดทุกปี และสิ้นเปลือง จึงเลือกใช้เฉพาะในรายที่ จำเป็นดังกล่าว เท่านั้น

    กลับไป Menu ด้านบน

     

    มีปัญหาเพิ่มเติม เมลล์มาคุยกันได้ ครับ

    jfk@2jfk.com

    Back to -=Jfk=- Cyber Clinic

    www.2jfk.com