Function
การใช้งานต่างๆ ของ
T-Touch จะใช้การสัมผัส
กับ
ตำแหน่งของสี่เหลี่ยมคางหมูบนหน้าปัดนาฬิกา
และตำแหน่งกลางหน้าปัด
รวม 7 จุด
โดยการที่จะเรียกการทำงาน
ให้หน้าจอสัมผัส
ทำงานทำได้โดยการ
กดปุ่มกลาง (ปุ่ม T )
ค้างไว้ ประมาณ
สองวินาที
จนมีเสียยงบี๊ย
พร้อมกับ
จะมีสัญญานขีดกระพริบ
ที่มุมขวาบน
ถ้าไม่ใช้งาน
หน้าจอสัมผัส
นานเกิน
สามสิบวินาที
หน้าจะสัมผัสจะตัดการทำงานเองโดยอัตโนมัติ
ป้องกันการแตะหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจ
หลังจากเปิดการทำงานของหน้าจอสัมผัส
โดยกดปุ่ม T
ค้างแล้ว
จะใช้งานฟังชั่นต่างๆ
ได้โดยการสัมผัสกับหน้าจอ
ที่ตำแหน่งนั้นๆ
ฟังชั่นที่ 1 กดกลางหน้าปัด
ดูเวลาปกติ
ถ้ากดซ้ำที่กลางจอ
จะเปลี่ยนหน้าจอ LCD
ได้เป็นสามแบบ
สลับกันไป คือ
1 บอกเวลาชม. นาที
วินาที เป็น
ดิจิตอล(ตั้งได้ว่าจะให้เป็น
24 hr หรือ 12 hr)
2 บอกวันที่ กับ
เดือน
3 Unit Mode จะบอกว่า
การทำงานขณะนั้น
เป็นMode 24hr หรือ 12 hr หรือ
บอกหน่วยเป็น องศาC
กับความสูงเป็น M
หรือ หรือ องศา F
กับความสูงเป็น Foot
วิธีการตั้งเวลา
เปิด Touch
แล้วแตะกลางจอให้
จอ LCD
แสดงฟังชั่นดูเวลาปกติ
แล้วกดปุ่ม + ค้าง
จนตัวมีเสียงบี๊บ
ดังขึ้นและตัวเลขเวลากระพริบ
แล้วกดปุ่มบวก (ปุ่มบน)เลื่อนเวลาเพิ่ม
หรือ กดปุ่มลบ(ปุ่มล่าง)
เลื่อนเวลาลง
จนได้เวลาที่ต้องการ
แล้วกด T
หยุดการตั้ง (เมื่อกด
T ตัวเลขวินาที
จะวิ่งไปที่ 00
ให้โดยอัตโนมัน และ
ถ้าเวลาตอนนั้น
ตัวเลขวินาทีอยู่เกิน
30วินาที
นาฬิกาจะจะปัดเศษเวลานาทีขึ้นไปหนึ่งนาที)
การตั้งวันที่ และ
เดือน
เหมือนการตั้งเวลาปกติ
แต่จะทำการตั้ง ตอน
จอ LCD ทำงานบอก
วันที่ และ
เดือนอยู่ (
เดือนอื่นๆนาฬิกาจะปรับ
30-31 วันให้เอง ยกเว้น
เดือนกพ.จะบอก 29
วันต้องคอยเลื่อนเอง
หรือ ทำงานแบบ Anual Calendar
นั่นเอง)
การปรับ Unit Mode
เปิด Touch แล้วเลือก Unit
Mode กด ปุ่มบวก หรือ ลบ
ค้าง
ให้ตัวเลขกระพริบ
แล้วกด ปุ่มบวก
เพื่อเปลี่ยน
ระหว่าง C M กับ F Ft และ
กดปุ่มล่าง เปลี่ยน
12Hr กับ 24 Hr เสร็จแล้ว
กด ปุ่มT
(note หน้าปัด Unit Mode ถ้า Touch
ไม่ได้ทำงานแล้วจะเปลี่ยนไปเป็นบอกเวลาปกติ)
ฟังชั่น GMT
เป็นฟังชั่นแฝงอันนึงที่
ทางผู้ผลิตไม่ได้ระบุไว้
หรือแนะนำการใช้
แต่สามารถใช้งานได้
เนื่องจากเวลาที่บอกด้วยเข็มที่หน้าปัด
สามารถตั้งแยกจาก
นาฬิกาดิจิตอล
ที่จอ LCD
ได้เพื่อใช้ดูเวลาที่สอง
ทำได้โดยกด T
แล้วแตะหน้าปัด
จนหน้า LCD อยู่ที่ Unit
Mode แล้วกดปุ่ม T
ค้างไว้ จนมีเสียง
บี๊บ "สองครั้ง"
จอ LCD จะขี้น คำว่า "Syncho"
แล้วเข็ม
บอกเวลาที่หน้าปัดจไปชี้อยู่ที่
12 น. ใช้ปุ่ม +
เลื่อนเข็มนาที และ
ปุ่ม - เลื่อนเข็มชม.
ให้เวลา ต่างกัน กับ
เวลาที่บอก อยู่
ที่จอ LCD (เวลาที่ตั้งไว้เดิม)
ตามจำนวนที่ต้องการ
เสร็จแล้วกดปุ่ม T
อีกครั้ง
ฟังชั่นที่ 2
Meteo (Meteorological Trend ) เป็นฟังชั่นบารอมิเตอร์
บอกความกดอากาศ
ถ้าอากาศดีฟ้าใส (Anticyclone)
ความกดอากาศจะสูง
เข็มจะชี้ไปทางขวา
ถ้าอากาศไม่ดีฟ้าครึ้ม
(Depression) มีโอกาสฝนตก
ความกดอากาศ จะต่ำ
เข็มจะชี้ไปทางซ้าย
โดยดีกรีความรุนแรงมีตั้งแต่
0-6
นาทีตามความรุนแรง
Note Meteo ของ T-Toch ต่าง
กับบารอมิเตอร์อื่น
โดยเอาข้อมูลจากแปดชม.ก่อนหน้าเข้ามาช่วยในการคำนวน
(ไม่ได้ยึดติดกับ
ความกดอกาศที่ระดับน้ำทะเลเท่านั้น)
นอกจากนี้การเปลี่ยนระดับความสูงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งทำให้ความกดอากาศเปลี่ยนไป
ก็ได้รับการคำนวนชดเชย
ด้วยเช่นกัน
ดังนั้นทำให้ความแม่นยำในการพยากรณ์อากาศ
จาก T-Touch จะสูงกว่า
การอ่านจากบารอมิเตอร์ธรรมดา
ฟังชั่นที่ 3
การใช้งานเป็นเข็มทิศ
(Compass )
การใช้งาน เปิด Touch
แล้ว แตะ Compass
เข็มนาทีจะชี้ทิศเหนือ
และเข็มชม.จะชี้ไปทางทิศใต้
เข็มทิศของ T Touch
เหนือกว่าเข็มทิศปกติทั่วไป
ตรงที่สามารถปรับตั้งให้
ชี้ตรงตามแผนที่โลกจริง
แทนที่จะชี้ไปตามแกนแม่เหล็กโลกเหมือนเข็มทิศปกติ
ปกติแล้วถ้าไม่มีปรับตั้งชดเชยมุมเบี่ยงเบนดังกล่าว
เข็มทิศจะชี้ไปตามแกนแม่เหล็กโลก
Magnetic North (Nm) ซึ่งจะเอียงจากทิศตามแผนที่จริงGeographical
North (NG)
เป็นค่ามุมสมมุติ Alfa
ซึ่งมุม Alfa นี่
แตกต่างกันไปตามตำแหน่ง
ต่างๆของโลก
และระยะเวลาต่างๆของปี
ซึ่งหาดูได้จาก
ตาราง Topographical Map
ขณะใช้งานเข็มทิศ
ตัวเลขที่จอ LCD
จะบอกค่าการชดเชยเข็มทิศดังกล่าว
ว่าไปทางทิศตะวันออกและตก
กี่องศา
ฟังชั่นเข็มทิศ
จะทำงาน 30 วินาที
ก่อนที่จะเปลี่ยนกลับไปเป็นหน้าปัดแสดงเวลาปกติ
และขณะใช้งาน
ควรวางนาฬิกาตามแนวราบ
เพื่อให้เข็มทิศ
ชี้ทางได้ถูกต้อง
การปรับตั้ง
การชดเชยมุม Alfa
ทำได้โดย
ขณะที่ฟังชั่นเข็มทิศกำลังทำงาน
ให้กดปุ่ม + หรือ -
ค้างไว้จนมีเสียงบี๊บ
และตัวเลขกระพริบ
แล้วกดปรับมุมชดเชยโดยดูจากตัวเลขในจอ
LCD
ให้เปลี่ยนไปมากน้อยตามต้องการ
(+ มาทาง East ) และ - มาทาง
West ) แล้วกด T
หยุดการปรับ
ฟังชั่นที่ 4
Altimeter (บอกระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล)
สามารถเลือกตั้งได้ว่าจะใช้หน่วยความสูงจากระดับน้ำทะเลของพื้นที่ที่อยู่ขณะนั้น
(Attitude) เป็น M (เมตร)หรือ
Ft (ฟุต) โดย
เข้าไปตั้งที่ Unit Mode
ตามที่บอกข้างบน
หลักการระบบนี้จะใช้แรงกดอากาศเป็นตัวคำนวนความสูง
ดังนั้น
มันจึงถูกรบกวน จาก
ความกดอากาศ และความครึ้มฟ้าฝน
(ฟ้าใสความกดอากาศสูง
จะวัดระดับได้ต่ำ
แต่ถ้าครึ้มฝน
ความกดอากาศต่ำ
ก็วัดระดับได้สูงกว่าปกติ)
แต่ว่าปกติ
มักจะพบว่าไม่ค่อยต่างกัน
เกิน 100 เมตร (จากอิทธิพลของอากาศ)
โดยขอบเขตความสามารถจะวัดความสูงได้
ในช่วง -400 ถึง + 9000 เมตร
การปรับตั้ง
ความสูงให้เข้ากับสถานที่จริง
ถ้าเรารู้ว่าตำแหน่งที่เราอยู่ขณะนั้น
ว่าสูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไร
(เช่นดูจากแผนที่
หรือ
หลักบอกความสูงตามที่ต่างๆ
)เราสามารถ
ปรับตั้งตัวเลขนี้ได้เพื่อให้ได้ค่าใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
โดย เปิด ฟังชั่น
Altimeter ให้ทำงาน กด +
หรือลบค้างไว้
จนมีเสียงบี๊บ และ
ตัวเลขกระพริบ แล้ว
ใช้ปุ่ม + หรือ -
เพิ่มหรือลดความสูงตามต้องการ
จนได้ความสูงที่ต้องการ
แล้วกด ปุ่ม T
อีกครั้ง
Note Altimeter ของ T Touch
จะมีการคำนวนชดเชยผลเบี่ยงเบน
ที่เกิดจากอุณหภูมิโดยอัตโนมัติให้อยู่แล้ว
เพื่อลดการคลาดเคลื่นอ
แต่มันจะใช้บอกความสูงไม่ได้บนเครื่องบิน
เนื่องจากในเครื่องบิน
จะมีการปรับความดันไว้ให้คงที่
เมื่อเปิดใช้ฟังชั่นนี้
ถ้าไม่ได้สัมผัสหน้าจอเกิน
30 วินาที
เข็มหน้าปัดจะกลับไปบอกเวลาปกติ
แต่ว่า ตัวเลข ที่จอ
LCD จะยังคงบอก Attitude (ความสูง)
อยู่
และทำงานตลอดเวลา
ฟังชั่นที่ 5
วัดอุณหภูมิ (Thermometer)
สามารถปรับตั้งให้บอกเป็น
องศา C หรือ F ได้ที่ Unit
Mode
และเนื่องจากมันวัดอุณหภูมิจากตัวเรือนนาฬิกา
ดังนั้นถ้าต้องการอุณหภูมิ
ที่แท้จริง
ของอากาศรอบๆ
แนะนำให้ถอดนาฬิกาออกจากข้อมือก่อนวัด
15-30 นาที
ถ้าเปิดใช้งาน
แล้วไม่สัมผัสจอ 30
วินาที
เข็มหน้าปัดจะกลับไปบอกเวลาปกติ
แต่ตัวเลขที่จอ LCD
จะยังคงบอกอุณหภูมิอยู่
ต่อไปตลอดเวลา
ขีดความสามารถมันจะวัดได้ตั้งแต่
-10 ถึง 60 C ความแม่นยำ +
หริอ - 1 C
ฟังชั่นที่ 6
การตั้งปลุก (Alarm )
เปิด ฟังชั่น Alarm (กด T
ค้าง แตะ Touch AL )
การเลือกตั้งปลุก (AL)
หรือ ปิดให้ไม่ปลุก
(Of)ใช้ กดปุ่ม T ค้าง
สลับกัน (เมื่อหน้าจอแสดงเวลาปลุกอยู่)
การปรับเปลี่ยนเวลาตั้งปลุก
กดปุ่ม + หรือ -
ค้างจน
ตัวเลขกระพริบ
แล้วใช้ปุ่ม + หรือ -
เพิ่มหรือลดเวลา
จนได้เวลาตั้งปลุกที่ต้องการ
(ถ้าตั้งเวลาปลุกใหม่แล้ว
จะเปิด AL
ใหม่โดยอัตโนมัติ
การปิดเสียงปลุก
กดปุ่มใดก็ได้
แต่ถ้าไม่กดปิด
เสียงจะเงียบเอง
ภายในประมาณ 30
วินาที และ
ถ้าไม่ได้กดปิด AL
นาฬิกา
ยังคงปลุกที่เวลาเดียวกันนี้
ในวันถัดไป
ฟังชั่นที่ 7
การจับเวลา (Chronograph)
เปิด ฟังชั่น Chrono
แล้ว ใช้ปุ่ม บวก
แทนปุ่ม Start Stop ปุ่ม ลบ
แทนปุ่ม Reset (กด Start
เริ่มจับเวลา และกด
Stop หยุดการจับเวลา
และอ่านค่า แล้วกด
Reset
ให้ตัวเลขจับเวลากลับไปเป็น
00:00:00
ถ้าจับเวลาหลายคน
หรือ Lap หรือ Split second
หลังกด Start แล้ว ให้
กดปุ่ม ลบ
เพื่อหยุดอ่านเวลา
และกดอีกครั้ง
ปล่อยให้
เวลากระโดดไปยังเวลาจริง
และจับเวลาต่อไปได้
และจับซ้ำได้ไปได้เรื่อยๆ
จนถึงคนสุดท้ายค่อยกด
Stop อ่านค่าสุดท้าย
และ Reset