-=Jfk=- Scuba

คนเรานี่เน้อ!!!!!!!!!!!!! อยู่บนบกสบายๆ ดีๆ หาเรื่องลงไปอยู่ใต้น้ำ เหงือกก็ไม่มี เลยต้องกระเสือกกระสน หาอุปกรณ์ มาแบก ช่วยหายใจให้ดำลงไปใต้น้ำได้ แต่ก็ได้พบความแปลกใหม่ ตื่นตา ของโลกใต้น้ำ ชวนให้ค้นหา ถ้ารัก จะเปิดโลกใต้น้ำ โดยไม่ต้องซ่าเหมือนโค้ก ในมือ ก็ตามลงมา :P

การดำน้ำ (Diving)

หลายคนอยากท่องเที่ยวดำน้ำ ดูโลกใต้น้ำ โดยเฉพาะแนวประการังและปลาสวยงาม ตลอดจนสัตว์ แปลกๆที่ไม่ค่อยได้พบเห็นทั่วไป โลกใต้น้ำมีอะไรรอเราอยู่มากมาย ถ้าเราพร้อม

เมื่อจะเริ่มต้นดำน้ำ คนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวง ดำน้ำ อาจจะสับสนบ้าง ว่าการดำน้ำ นั้นมีแบบไหนกันบ้าง แตกต่างกันอย่างไร ถ้าแบ่งกันง่ายๆ การดำน้ำ มีสามชนิด

พวกแรก ที่เราเห็นกันบ่อยๆตามแหล่งท่องเที่ยว คือ Snorkeling พวกนี้ ไม่จำเป็นต้องมีประสพการณ์ใดๆ ไม่ต้องว่ายน้ำเป็น แค่มีผู้นำท่องเที่ยวแนะนำก็ดำได้แล้ว โดยผู้ดำจะได้รับการแจก ชูชีพ เพื่อช่วยในการลอยตัว และ หน้ากาก ดำน้ำ(Mask) เพื่อช่วยให้มองเห็นในน้ำได้ชัดไม่แสบตา และ สุดท้าย ก็คือ ท่อช่วยหายใจ (Snorkle ) ที่คาบด้วยปากแล้วมีสายรั้งติดกับ Mask และปลายท่อจะชี้พ้นน้ำ เมื่อคว่ำหน้าลงในน้ำ เวลาดำ ก็แค่ สวมอุปกรณ์ แล้ว ก็ลอยตัว (ด้วยชูชีพที่ช่วยลอย) คว่ำหน้าลงในน้ำ บริเวณจุด ที่มีประการังน้ำตื้น ก็จะมองผ่านหน้ากาก ลงไป และหายใจผ่านท่อ ซึ่งปลายพ้นน้ำ ก็ลอยตัวดูประการังที่สวยงามไปได้เรื่อยๆ ถ้ามีน้ำกระเซ้นเข้าไปในท่อ ก็ออกแรงเป่าไล่น้ำออก หรือ เงยหน้าขึ้น แล้ว คายท่อ ปล่อยน้ำไหลออกมาแล้วค่อยดำใหม่ได้ การดำแบบนี้ ผู้ดำ อาจจะไม่ต้องใช้ ตีนกบ หรือ Fins สวม ช่วย ก็ได้ อาจจะตีขาปล่าว หรือสาวเชือก ที่เค้ามีตรึงไว้ ตามผู้นำไปเท่านั้น

พวกที่สอง คือการดำแบบ Skin Diving หรือ ดำผิวน้ำ เป็นการดำชมประการัง และสัตว์น้ำตื้นๆ คล้ายๆกับ พวก Snorkeling แต่ว่า การดำแบบนี้ อาจจะต้องใช้ทักษะในการว่ายน้ำและ การเคลียร์ท่อหายใจช่วยด้วย ผู้ดำ จะสวม Mask และ Snorkel เหมือนกัน แต่จะไม่สวมชูชีพ และมักนิยม สวม ตีนกบ หรือ Fins เพื่อช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี แรงและเร็ว ขึ้น การดำแบบนี้ ปกติคนเราเมื่อคว่ำหน้าลงน้ำ ใส่ Mask และคาบ Snorkel แล้ว ตัวจะลอยปริ่มน้ำ ปลายท่อจะลอยพ้นน้ำอยู่แล้ว ดังนั้นแม้คนที่ว่ายน้ำไม่เป็น หรือไม่แข็ง เพียงแค่ตีขา แหวกน้ำและทรงตัวได้ ก็ดำได้ ที่ไม่ใส่ชูชีพเพราะว่าการดำน้ำแบบนี้ บางครั้ง ผู้ดำต้องการลงไปใต้น้ำที่ระดับความลึกประมาณ 1-3 เมตรก็สามารถกลั้นหายใจ ปักหัวดำแ ละใช้ Fins ช่วยโบกส่งตัวเราลงไป ใต้น้ำสัมผัสโลกใต้น้ำได้ ใกล้ชิดอีกระดับนึง ตลอดจนถ่ายรูปต่างๆได้ด้วยกล้องใต้น้ำ แต่เนื่องจากต้องกลั้นหายใจ ดังนั้น มักจะลงไปได้แค่ไม่ถึงนาที หรือ ไม่เกิน 1-2 นาที เมื่อใกล้สุดการกลั้นหายใจ ก็ต้องพุ่งขึ้นมาสู่ผิวน้ำ ตอนที่ลงใต้น้ำ จะมีน้ำไหลเข้าไปในท่อ ดังนั้นเมื่อพ้นขึ้นมาถึงผิวน้ำแล้วก่อนหายใจเข้า จะต้องเป่าลมแรงๆ ไล่น้ำออกจากท่อให้หมด( Clear Snorkel ) ก่อนหายใจ เข้าไปใหม่ ขณะดำลงไปใต้น้ำ ที่ระดับความลึกระดับ 1-3 เมตรนี่แรงกดอากาศที่เพิ่มขึ้น อาจจะทำให้บางคนรู้สึกหูอื้อปวดหูบ้าง (โดยเฉพาะคนเป็นหวัด) ดังนั้นการเคลียร์หู (ปิดปากปิดจมูกออกแรงเป่าลม) จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้ แต่การเคลียร์หู ในระดับการดำลึกไม่มากอย่างนี้ ยังไม่จำเป็นเท่ากันดำน้ำลึก ในระดับ Scuba การดำน้ำแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องเข้าคอร์สเรียนเหมือนกัน แค่ มีคนคอยแนะนำและฝึกเล็กน้อย ตาม จุดดำน้ำหรือในสระ ก็สามารถดำได้แล้ว

พวกที่สาม อันนี้แหละ ที่หลายคนอยากลอง อยากเล่น แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ก็คือ การดำน้ำแบบ Scuba Diving หรือ การดำน้ำโดยมีอุปกรณ์ช่วยหายใจ ที่บางคนก็เรียก นักดำน้ำ(Diver) เหล่านี้ ว่า นักประดาน้ำ หรือ มนุษย์กบ (ทั้งที่บางคนหุ่นเหมือนมนุษย์อึ่งมากกว่า อิๆ) การดำแบบใช้อุปกรณ์ ช่วยหายใจ ทำให้เรา สามารถดำลงไปได้ลึกมากขึ้น ดำได้นานขึ้น สัมผัสกับโลกใต้น้ำที่แปลกใหม่ได้มากขึ้น แต่การจะน้ำแบบนี้ จำเป็นต้องเข้าคอร์สเรียน ฝึกหัด ตลอดจนเลือกหาอุปกรณ์ต่างๆ (ทั้งมีซื้อไว้เป็นของตัวเอง หรือ เช่าใช้) แต่ไม่ว่าจะซื้อ หรือ เช่าใช้ ก็ต้องทำความรู้จักกับมัน เป็นอย่างดี และแน่นอน เมื่อเข้าคอร์สเรียน อจ.หรือครูผู้สอน จะแนะนำการใช้งานและเลือกซื้อ อุปกรณ์ต่างๆ ให้กับเรา อีกที

เริ่มต้น
หลายคน อยากเริ่มต้นดำน้ำ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง รวมทั้งคำถามที่ มักได้ยินตลอดว่า ว่ายน้ำไม่เป็นดำน้ำแบบ Scuba ได้หรือไม่ และมีโรคอะไรที่เป็นอุปสรรคต่อการดำน้ำมั่ง

คำตอบแรกสำหรับ เรื่องการว่ายน้ำไม่เป็น นั้นคำตอบ จะหลากหลายแล้วแต่ประสบการณ์ของแต่ละคน แต่คำตอบรวมๆ ก็คือ ถ้าจะดำน้ำการฝึกว่ายน้ำให้เป็น จนคล่อง จะช่วยให้เราเอาตัวรอดได้ ในยามเกิดปัญหาต่าง หรือ อุปกรณ์มีปัญหา แต่ถึงแม้จะว่ายน้ำไม่เป็น หลายคนก็ยังดำน้ำกันได้ เก่งๆ แต่อย่างที่บอกแล้ว ถ้าว่ายน้ำเป็นด้วยจะยิ่งปลอดภัยกว่า

คำตอบที่สองสำหรับเรื่องโรค และอุปสรรคในการดำน้ำ เนื่องจากการดำน้ำ จะเกี่ยวข้องกับ ระบบทางเดินหายใจ และความกดอากาศ ที่มีต่อโพรงอากาศในกระโหลกศรีษะ( Sinus) และช่องหู ดังนั้นคนที่มีปัญหา เกี่ยวกับโรคพวกนี้ อาจจะประสบปัญหา ปวดศรีษะหรือหู ขณะความกดอากาศเปลี่ยน ตอนดำลงลึก ดังนั้น อาจจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือแจ้งให้ครูผู้สอนทราบก่อนเรียน และลงน้ำทุกครั้ง รวมมทั้งผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดหรือ โรคหัวใจ ที่อาจจะมีปัญหาเวลาเหนื่อยมากๆ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวถึงความเสี่ยงก่อนเรียน หรือทำการดำน้ำ ทุกครั้ง

อีกคำถามที่ มีคนถาม กันบ่อยคือ คนอ้วนดำน้ำได้หรือไม่ คำตอบให้ดูจากภาพนี้แทนล่ะกัน :P

น้ำหนักมากแม้จะหาอุปกรณ์ยากหน่อย แต่ถ้าใจรักดำน้ำได้ ครับ แต่ไขมันจำนวนมากที่พอกพูนตามตัวจะทำให้ลอยน้ำมากจมไม่ค่อยลง ดังนั้น สังเกตุ Diver คนข้างบนนั่นจึงต้องใช้ตะกั่วถ่วงมากกว่าคนอื่นเกือบสิบเท่า ดังนั้น ลดหุ่นซะหน่อยก่อนดำ ก็ดี อิๆ

หาที่เรียน
ร่างกายพร้อมใจพร้อม ก็เตรียมหาที่เรียน การเรียนดำน้ำแบบ Scuba นั้น ใช้หลักสูตรการสอน สองสถาบันหลักใหญ่ๆ อันแรก คือ ยักษ์ใหญ่ในวงการ ที่ทุกคนที่ดำน้ำต้องรู้จัก คือ PADI และ อีก สถาบันที่ได้รับความนิยมรองลงมา คือ NAUI การเลือกเรียนหลักสูตรไหน ก็แล้วแต่ความชอบ บางคน ว่า PADI เรียนง่าย ไม่ยุ่งยาก บัตรดำน้ำที่จบแล้ว ได้รับการยอมรับกว้างขวาง ส่วนบางคนก็ว่า NAUI หลักสูตรเข้มข้น จบแล้วเจ๋งดี ก็ว่ากันไป แต่ ถ้าเอาความนิยม ก็อย่างที่บอก PADI กินตลาดน่าจะมากกว่า 90% ของนักดำน้ำทั่วโลก และ ได้รับการยอมรับกว้างขวาง ผมเอง ก็เรียนหลักสูตร PADI เช่นกัน
สำหรับ รร.หรือ สถานที่สอนดำน้ำหรือร้านสอนดำน้ำ เมืองไทยเรามีมากมาย หลายที่ที่เปิดสอน เคยได้ยินกันว่า เกาะเต่าของไทยเรา เป็นแหล่งผลิต Diver ให้จบหลักสูตร ออกมาเป็นนักดำน้ำ สันทนาการ หรือนักดำน้ำ เพื่อการท่องเที่ยว มากเกือบที่สุดของโลกแห่งนึง ถ้ายังหาไม่ได้ลงไปดูลิ้งค์ Dive Shop และชมรมต่างๆข้างล่างได้ หรือ
คลิคที่นี่กระโดดไปได้เลย :P

หลักสูตรการเรียน มีหลายระดับ ตั้งแต่แค่ พวกเรียนแบบไม่เอา บัตร ดำแค่สนุกๆ แต่ถ้านักดำน้ำที่คิดจะออกทริป ไปดำน้ำตามที่ต่างๆ ทั่วไทย หรือทั่วโลก น่าที่จะเรียน จนจบหลักสูตรนักดำน้ำเบื้องต้น คือ หลักสูตร Open Water เป็นอย่างน้อย ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้รับอนุญาติให้ดำน้ำได้ที่ระดับ ความลึกไม่เกิน 18 เมตร อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
และถ้ามีโอกาส ค่อยเรียนต่อไปในระดับ Advance ซึ่งจะทำให้เราสามารถดำน้ำได้ที่ระดับลึกเพิ่มขึ้น ตลอดจน สามารถดำน้ำในเวลากลางคืน (Night Dive ) และในสถานะการณ์ที่อื่นๆที่ต้องใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญเพิ่ม รวมทั้งมีความรู้ในการใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่นเข็มทิศใต้น้ำ หรือ การถ่ายรูปใต้น้ำ ซึ่งจะเพิ่มความสนุกสนาน และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น
และ บางคนอาจจะเรียนต่อไปถึงขั้น Rescue หรือ เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นได้ หรือ ไปจนขั้นสุดท้าย คือ เป็น Dive Instructor หรือ ครูสอนดำน้ำได้เลย
สำหรับมือใหม่ ยังไม่ต้องไปไกล กลับมาเรียนหลักสูตร Open Water กันก่อน :P หลักสูตร Open Water นี่ ผมเคยคิดว่ามันเหมือนเราเปิดน้ำ (เปิดซิง ) ลงน้ำหรือ แต่ปล่าวหรอก เค้าหมายถึงการดำน้ำในแหล่งดำน้ำเปิด ซึ่งก็คือทะเล หรือ มหาสมุทร นั่นเอง

การเรียน จะแบ่งเป็น 2 ส่วน
1 ภาคทฤษฏี
เรียนเล็คเชอร์ ความรู้ ในเรื่องทฤษฏีการดำน้ำต่างๆ และฝึกการใช้อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งฝึกหลักสูตรการปฏิบัติ ในการดำน้ำต่างๆ ในแหล่งน้ำปิด(Confined Water)เช่นในสระว่ายน้ำ (หรือ ริมชายหาดที่น้ำไม่ลึก) ให้คล่อง ซึ่งปกติเท่าที่เห็นใช้เวลาสอนกัน ในส่วนนี้ รวม 2 วัน
2 สอบภาคปฏิบัติในทะเล โดยลงดำน้ำจริง ในทะเล (Open Water ) เพื่อเรียนรู้การใช้งานอุปกรณ์ และฝึกปฏิบัติ หัตถการต่างๆในการดำน้ำจริง ในทะเล โดยมีครูผู้ฝึกสอนควบคุม ปกติ จะเรียน และสอบ รวม 4 Dive ใน 2 วัน
ดังนั้น หลักสูตรการเรียนดำน้ำ ระดับ Open Water ทั่วไป มักจะเป็นหลักสูตร 4 วัน ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีเปิดสอนหลายแห่ง ทั้งในบริเวณแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงของไทย อย่างเช่น เกาะเต่าชุมพร สมุย ภูเก็ต และพัทยา ซึ่งอาจจะจัดแพ็คเกจ การสอนรวมที่พัก ซึ่งมีข้อดี คือ เราได้เรียน และ ได้สนุกกับการท่องเที่ยวไปด้วย ค่าเรียน รวมทั้ง การออกบัตร นักดำน้ำ ระดับ Open Water สำหรับ ร้านดำน้ำแบบนี้ มักอยู่ระดับหมื่นกว่า บาท ขึ้นไป แล้วแต่ว่า จะเป็นที่ไหนที่พักเป็นอย่างไร
แต่บางคนมีเวลาจำกัดในการไปเรียน (เช่นผมเป็นต้น) อาจจะมีเวลาว่างแค่ เสาร์อาทิตย์ ดังนั้น จึงมีผู้สอนหลักสูตรดำน้ำโดยแบ่งการเรียน ภาคทฤษฏี และการฝึกใช้อุปกรณ์ในสระว่ายน้ำ สองวันแรก ในกรุงเทพ แล้วจึง ไปสอบภาคปฏิบัติ ลงทะเล ที่ทะเล ที่ไม่ไกลนัก ที่นิยมกัน ก็เป็น แสมสาร สัตหีบ หรือ ที่พัทยา (ใครเรียนพัทยา ระวัง Speed Boat และ Jet Ski หน่อยนะ) ส่วน พวกเรียนแสมสาร ก็ระวังกระแสน้ำที่แรง แต่ ครูฝึกมักเลือกดูความปลอดภัยให้เราอยู่แล้ว
ดังนั้นจะเลือกเรียนที่ไหน ก็สอบถามจากเพื่อนๆที่เรียนมาก่อน ว่าที่ไหนดี ถ้าไม่รู้จะเริ่มที่ไหนก็ลองคลิคหาข้อมูลดูตามลิงค์ ข้างล่าง นี่ได้ครับ หมายเหตุการเลือกที่เรียน นี่ส่งผลต่อการตะเวณดำน้ำต่อไปในอนาคต ด้วยนะครับ เพราะว่าหลายคนรวมทั้งผม จะเลือกดำน้ำกลับ กลุ่มเพื่อน ที่เรียนมาด้วยกันทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากความคุ้นเคยกัน อย่างผม ดำมา 7-8 เดือนแรกรวมเกือบร้อย Dive ยังไม่เคย นอกใจดำ กับกลุ่มอื่นเลย แม้ซักครั้งเดียว (สงสัยเพราะว่าชมรมผมจัดดำน้ำถูกด้วยมั้ง อิๆ)

#####################################################

เรื่องหลักสูตร เอาแค่พอให้รู้คร่าวๆ แค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวตอนไปเรียน แล้วก็รู้เอง ว่าต้องเรียนอะไร เตรียมตัวไงเพิ่มมั่ง
อยากบอกว่าตอนเราเริ่มเรียน เรายังไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ต่างๆใดๆทั้งสิ้น ทางชมรม หรือ ร้าน และครูฝึกจะจัดเตรียมอุปกรณ์ให้ทุกอย่าง และเมื่อดำไประยะนึง เราจึงค่อยๆ เลือกหาซื้ออุปกรณ์ ที่เหมาะสม และจำเป็นสำหรับตัวเราเป็นของส่วนตัว เพิ่มขึ้นเป็นระยะๆ ต่อไป ถ้ารีบร้อนซื้อไปก่อน อาจจะได้ของที่ไม่เหมาะสม เสียเงินไปปล่าวๆได้ (อย่างผม ก็เสีย ฟรีไปมั่งแล้ว อิๆ)

อุปกรณ์ และ ชุดในการดำน้ำที่จำเป็น
แม้จะบอกว่า ยังไม่ต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ดำน้ำ แต่ ว่าทำความรู้จักกับมันไว้บ้าง ก็ดี เวลาครูบอกหรือ ถามในห้องจะได้รู้จัก ไม่หน้าแตก และตอนไปเรียน จะได้แอบดูของครูของเพื่อนเตรียมไว้ก่อนอิๆ

อันดับแรกสุดที่ทุกคนต้องมี คือ ชุดดำน้ำชนิดบาง(Body Suits) หรือ Rush Guard เป็นชุดดำน้ำที่ทำจากผ้ายืดบางๆ ช่วยปกคลุมร่างกาย ป้องกันแสงแดด และ ผ้าบางชนิดก็มีการเคลือบสารป้องกัน UV ปกป้องผิวด้วย แต่ผ้าที่บางจะทำให้ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียความร้อน หรือ อุณภูมิจากร่างกายได้ และชุดพวกนี้ยังทำให้ เวลาเราสวม Wet Suit ทับลงไป สวมใส่และถอดได้ ง่ายไม่ติดผิวหนังเรา อันนี้สำหรับผมเองเป็นคนทนหนาวได้ดี ไม่ค่อยกลัวความเย็นดังนั้น น้ำในเมืองไทยทั้งหมด ระดับอุณหภูมิ ไม่ค่อยต่ำกว่า 25 องศา ผมดำด้วย ชุดบางที่สั่งดัดได้เลย ไม่ต้องใช้ Wet Suit

ชุดดำน้ำชนิดหนา (Wet Suit) เป็นชุดดำน้ำ ที่ทำจากวัสดุพวกยางและโฟม หรือ โพลี่ยูรีเทน( PU) เป็นชุดดำน้ำที่ใช้สวมทับชุดดำน้ำชนิดบางเพื่อช่วยเป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อนของร่างกาย(ป้องกันหนาว) และยังป้องกันร่างกายจากการขูดขีดจากประการังและ ของมีคม พวกนี้ มันมีคุณสมบัติลอยน้ำ ดังนั้น เมื่อสวมแล้ว จะทำให้ร่างกายเราลอยขึ้นไม่ค่อยจมน้ำดังนั้น ในการดำน้ำ ถ้าใส่ Wet Suit ที่หนา มาก อาจจะต้องถ่วงตะกั่วเพิ่มขึ้นไปด้วย ชุดพวกนี้ ความหนาแตกต่างกันไป สำหรับบ้านเรานิยม ความหนาระดับ 3 มม. หรือ 5 มม.(ผมเอง พวกทนหนาวนี่ แค่ 3 มม. ก็ลุยน้ำเย็นบาหลี อุณหภูมิ 20 C มาได้แบบพอไหว :P


ตัวอย่าง Wet Suit อันนี้รุ่น Tropical หนา 3 mm ของ mares

ตัวนี้ไม่หนามากสำหรับผม ทนน้ำระดับ 20 C ไหว แต่ถ้าคนขี้หนาวไปดำน้ำต่างประเทศ ที่เย็นลงต่ำกว่า 25 C อาจจะไม่ค่อยไหว ต้องใช้ 5 mm หรือ ซ้อนสองชั้น หรือไม่ก็หนีไป Dry Suit เลย อิๆ

หน้ากากดำน้ำ (Mask) เป็นอุปกรณ์จำเป็น ที่ขาดไม่ได้ในการดำน้ำ เนื่องจาก ช่วยป้องกันน้ำเข้าตา และจมูกตลอดจนทำให้เรามองเห็นในน้ำได้ และ การดำแบบ Scuba นั่น ต้องเลือกหน้ากากที่กระจกเป็น กระจกนิรภัย หรือ Safety Glass หรือ Tempered Glass เนื่องจากทนแรงกดอากาศ ในระดับน้ำลึกได้มากกว่า กระจกธรรมดา หรือ พลาสติค ถ้าคนที่มีปัญหาสายตา ที่สั้นหรือ ยาวมากๆ ก็สามารถเลือกหน้ากาก ที่เปลี่ยนเลนส์สายตาได้ มีหลายร้านที่รับทำ หรือเลือกแบบสำเร็จรูปที่สายตาใกล้เคียงเราก็ได้ เช่นกัน
Mask มีสองพวกใหญ่คือ พวกช่องมองรวมกันเป็นช่องเดียว และ แบบแยกสองตา ซึ่งเลือกใช้ตามความชอบ แต่ถ้าเป็นสาวๆ หรือคนที่นิยม ท่าถ่ายรูปตัวเองใต้น้ำ Mask แบบช่องเดียว จะทำให้หน้าตาดูดี กว่า แบบสองตา ซึ่งถ่ายออกมาแล้ว ดูตลก แต่ที่สำคัญกว่าความสวยงาม ก็คือเลือกแมสก์ ที่เหมาะกับรูปหน้าเราให้มากที่สุด เวลาลองลองครอบ แล้วหายใจเข้าแรงๆ มันจะต้องดูดติดกับหน้าเราไม่ตกมา แม้จะไม่ได้รัดสาย


อันนี้ตัวอย่าง Mass ช่องเดียวCOCO ของค่าย Ripcurl สีหวานแหววสาวๆน่าจะชอบ :)

อันนี้ mares รุ่นดัง X Vision Liquid skin

รุ่นนี้มีเลนสายตาสั้นและยาวให้เปลี่ยนได้ และ เฟรมทำจาก Silicone เกรดดีนิ่มกระชับผิวไม่ระคายเคืองผมเองก็ใช้รุ่นนี้ ใส่สบายดี ไม่ค่อยมี น้ำรั่วเข้า Maskd แต่รูปทรงมันนี่ สาวๆใส่ถ่ายรูปออกมาจะหน้าตาตลกเป็น ET ตาโตๆ:P

Snorkel หรือท่อช่วยหายใจที่ผิวน้ำ สำหรับ การดำน้ำ แบบ Scuba แม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้ ท่อช่วยหายใจแบบนี้ เหมือนการดำน้ำผิวน้ำ แต่ก็ยังจำเป็นต้องมีไว้สำรอง เพราะว่ากรณีเกิดฉุกเฉิน เมื่อขึ้นสู่ผิวน้ำและอากาศหมดถัง เหลือแต่หน้ากากและ ตีนกบ ถ้าหลุดห่างจากเรือไปไกลต้องลอยคอในทะเล การมี snorkel และ Mask จะทำให้เราสามารถคว่ำหน้า หรือ หงายหน้า ลอยผิวน้ำและหายใจได้ตลอดโดยสำลักน้ำ ทำให้ลอยตัวได้สบาย และว่ายน้ำไกลๆ ได้หลายๆชั่วโมง ดังนั้นแม้โดยปกติจะไม่ใช้ นักดำน้ำจำนวนมากก็ยังได้รับการสอนให้ติด snorkel ไว้กับแมสก์เสมอ หรือ ถ้าไม่อยากเกะกะกับมันจริง ๆ หลายคนก็เลือกที่ใช้ ชนิดอ่อนที่มันม้วนเก็บได้เป็นก้อนกลม หรือพับแล้วใส่ไว้ในกระเป๋า BCD แล้วหยิบออกมาใช้ตอนฉุกเฉินได้


Oceanic Pocket Snorkel พับเก็บยัดใส่กระเป๋าได้

ตีนกบ (Fins) มีอยู่ 2 แบบใหญ่ คือ แบบเต็มเท้า (Full Foot ) หรือ หุ้มส้น คือเป็นแบบที่เราสวมเท้าปล่าวลงไปเลย ทำให้เราปรับขนาดมันไม่ได้ ดังนั้นบางครั้ง ถ้ามันหลวมเล็กน้อย อาจจะต้องใส่ถุงเท้าช่วยเสริม


อันนี้คือตัวอย่าง Fins แบบ Full Foot รุ่น Avanti Superchannel FF ของ mares
เป็น Fins Full Foot รุ่นที่ได้รับความนิยมมากรุ่นนึง

อีกแบบคือ แบบส้นเท้าเปิด (Open heel )และมีสายรัดที่ข้อเท้า พวกนี้ใช้ร่วมกับรองเท้าบูท อันนี้ นักดำน้ำนิยมใช้กันมาก เนื่องจากปรับให้พอดีกับเท้าได้ดี และ เวลาเดิน ชายหาด ตัวบูทยังช่วยปกป้องเท้า จากหินและเปลือกหอยบาดเท้าได้ และ บูทยังช่วยป้องกันความหนาวกรณีดำน้ำเย็นได้ด้วย
การเลือก Fins ก็ ต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเองด้วย เพราะว่า Fins มีหลายแบบหลายรุ่น แข็งอ่อนกินแรง มากน้อยต่างกันไป เหมาะกับคนแต่ละคนไม่เท่ากัน ลองของเพื่อนๆ หลายๆครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ ไม่งั้นเด๋วต้องซื้อใหม่อีกหลายคู่ กว่าจะได้ที่ อิๆ ที่สำคัญ Fins ก็เหมือน Mask อย่าไปเอา Fins อันเล็กๆ ของพวก Skin Dive หรือ Snorkeling มาใส่ ล่ะ มันกินน้ำไม่พอ อิๆ


ข้างบนนี่ตัวอย่าง Fins Open Heel ที่ได้รับความนิยมสูง

ตัวซ้าย เป็นรุ่น Super Channel OH ของ mares เหมือนกับ FF ข้างบนรุ่นนี้ใบFins แข็งเล็กน้อยต้องออกแรงมากหน่อย เวลาโบกขา แต่ว่าสู้กระแสน้ำได้ดี สู้กับการน้ำที่ มีกระแสแรงๆ มาก ได้ด้วย
ส่วน 3 ตัวขวาเป็นรุ่นเดียวกันคือ mares Volo Power OH ตัวนี้ เป็นรุ่นยอดนิยม ที่นักวิจารณ์หลายคนแนะนำเชียร์กันเยอะ ใบ Fins มีรอยหยักเป็นสปริงช่วยให้พัดโบก ได้ง่ายไม่กินแรง เหมาะสำหรับคนที่ไม่ชอบออกแรงมาก แต่ตัวนี้ ถ้าเจอกระแสน้ำแรงๆ นี่โบกแรงๆเหมือนตีน้ำฟรีๆ มันสู้กระแสน้ำไม่ได้ แต่ผมเองชอบเบาๆ ก็เลยเลือกรุ่นนี้มาใช้ แต่เจอกระแสแรงๆ มาสองสามรอบ ตีไม่ไป เลยคิดว่า อาจจะต้องเอา Super Channel มาสำรองอีกคู่

รองเท้าบูท ผ้ายืด(Boot) ใช้ร่วมกับ Fins แบบ Open Heel อย่างที่บอกไว้ข้างบน จากที่ลองสังเกตุมา และลองใส่ ผมลอง ของ mares และ Aqua Lung ผมว่า mares ใส่สบายกว่า และสวยกว่า ไม่เชื่อออกทริปลองมองรอบๆตัวคุณดู แล้ว นับสิ ว่า Brand ไหนฮิตกว่ากัน อิๆ


หน้าตาอย่างนี้แหละ Boot ยอดนิยม Mares Classic 5 mm
ใครซื้อมาจำเบอร์เขียนชื่อติดไว้ด้วยนะ ขึ้นเรือพวกตรึมเด๋วหารองเท้าตัวเองไม่เจอ อิๆ:P

ถุงมือ นิยมใช้ถุงมือหนัง ช่วยป้องกันมือเราไม่ให้สกปรก และยังป้องกันเพรียง เปลือกหอย ประการัง หรือของมีคมบาดขณะลงไปในน้ำ (เพรียงที่เกาะตามเชือก สายทุ่น หรือ เรือจมนั่นแหละตัวดี ไม่มีถุงมือ ตอนสาวเชือกพักน้ำ มีโอกาสได้เลือด อ่ะ
ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก และเข็มขัดตะกั่ว(Weitght & Weight Belt) ปกติ คนเรา จะลอยน้ำ เล็กน้อย ดังนั้น เพื่อทำให้ตัวจมลงน้ำ ได้ ก็ต้องใช้ตะกั่วถ่วงน้ำหนักให้พอเหมาะกับแต่ล่ะคน ถ้าคนอ้วนก็มักใช้ตะกั่วมากกว่า คนผอม รวมทั้งถ้าใช้ Wet Suit หนา ก็อาจจะต้องเพิ่มตะกั่วขึ้นไปอีก ตะกั่วมักนิยมร้อยกับเข็มขัด รัดไว้กับเอว แต่ก็มีชุดดำน้ำ หลายแบบ ที่มี ซองใส่ตะกั่ว ติดไว้กับชุด เรียกว่า Integrated Weight ทำให้ไม่ต้องคาดเข็มขัดตะกั่วได้ ปกติแล้ว เข็มขัด และตะกั่วเราไม่ต้องเตรียมหรอก สถานที่เราไปดำน้ำหรือเรือ เค้าจะจัดเตรียมไว้ให้เราอยู่แล้ว ไม่ต้องขนไปมาให้หนัก
เรกกูเลเตอร์ (RegulatorSystem) หรือ ตัวเครื่องช่วยหายใจทั้งระบบ ที่ช่วยปรับแรงดัน อากาศจากถังอากาศ (ย้ำถังอากาศนะ ไม่ใช่ถังอ๊อกซิเจน) ที่มีแรงดันสูง ให้ กลับมเป็นแรงดันปกติ ที่เราใช้หายใจ โดยแบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือ First Stage และ Second Stage
First Stage
คือส่วนที่เห็นเป็นโลหะติดอยู่กับ คอถังอากาศ เป็นตัวปรับแรงดันเบื้องต้น ก่อนส่งอากาศมาตามสายไป ยัง Second Stage


ตัวอย่างหน้าตาของ First Stage SCUBAPRO Mark 17

เลือกเอาอันใกล้ตัวหน่อยคือ อันที่ตัวเองใช้อยู่ ตรงจุดดำตรงกลางนั่นเป็นฝาปิด(cap) กันฝุ่นและน้ำเข้า เวลาใช้ก็หมุนปุ่มดำข้างบนคลายเกลียว แล้ว เอาฝานี้ออก เอาวาล์วไปต่อกับวาล์วของถังอากาศ รุ่นนี้ ส่วนที่เห็นยื่นออกมาเป็นครีบโลหะด้านหน้าคือส่วนที่เพิ่มพัฒนาต่อมาจาก Mark 11 เป็นระบบ Anti Freeze ใช้ดำน้ำได้ที่ ระดับอุณหภูมิต่ำกว่า 0 C คือ ระดับนั้น วาล์วยังจ่ายอากาศให้ ถ้าคนดำไม่หนาวตายไปก่อน อิๆ เวลาเลือก First Stage ที่ต้องคำนึงอีกอย่างคือ รูที่จ่ายอากาศ ต้องดูว่า มี High Pressue กี่รู และ Low Pressure กี่รู เพราะว่าจะต้องคำนึงถึง อุปกรณ์ที่ต้องต่อกับมันด้วย เช่น Reg ที่เราหายใจ Octopus สาย Inflator ที่ไปต่อกับ BCD สาย Controle Gauge และบางคนต่อ Sensor วัดอากาศ ของ Dive Com ก็ต้องเผื่อดูไว้ด้วย เด๋วรูไม่พอใช้ ถามครูก่อนนะจ๊ะ อิๆ
Second Stage คือตัวที่ปากเราคาบไว้หายใจ ซึ่งมีวาล์วปล่อยอากาศเข้าออก รวมทั้งจ่ายแรงดันที่เหมาะสมให้กับเราในการหายใจ ตัวนี้ หลายคนรวมทั้งผมให้ความสำคัญกับมันมาก เพราะว่า Regulator ที่ดี จะทำให้เราหายใจใต้น้ำได้อย่างปลอดภัย ไม่กินแรง และมีความสุข สำหรับ ตัว Second Stage ที่เราใช้หายใจนี้ นอกจากตัวหลักที่เราหายใจ ที่เรามักเรียกมันติดปากว่า Reg หรือ Regulator แทนตัวระบบทั้งหมดของมัน


ตัวอย่างหน้าตา second stage หรือ Regulator

เช่นกันเป็นรุ่นใกล้ตัวที่ใช้อยู่ คือ S600 ของ SCUBAPRO ตัวนี้ เป็น Balance Reg (เข้าชุดกันได้ดีกับ Mark17 ตัวข้างบนที่ เป็น Balance first stage เช่นกัน ทำให้จ่ายอากาศได้ดีนิ่มนวล ไม่กินแรง (เด๋วตอนเรียนครูคงสอนว่า Balance และ Unbalance Reg มันดียังไงอีกที)

และอีกเหตุผลที่เลือกรุ่นนี้ นอกจาก คุณภาพของมันแล้วก็คือ หน้ากากของมันเปลี่ยนสีได้หลายสี เลยจัดการเปลี่ยนหน้ากากเป็นสีแดง - ดำ ให้เข้า กับ ชุด BCD และ หัว Octopus Air 2 ที่ใช้ ซะเลย :)

นอกจากตัว Regulator หลักแล้ว ยังมี second stage เป็นชุดหายใจสำรองพร้อมสายอีกชุดต่อไว้ด้วย เผื่อชุดหลักมีปัญหา จะได้ใช้ชุดสำรองนี้ได้ รวมทั้งยังใช้เป็นตัวช่วยเพื่อนที่อากาศเค้าหมดถังให้มาใช้อากาศร่วมถังกับเราแทน( Shared Air กัน) ชุดนี้ มีชื่อเรียกตามหน้าที่ของมัน ที่ใช้สับเปลี่ยนกับชุดจ่ายอกาศหลัก คือ Alternate Air Sorce แต่นักดำน้ำเกือบทุกคนนิยมเรียกชื่อเล่นของมันว่า Octopus เกือบทั้งนั้น และส่วนใหญ่ มักนิยมใช้สีเหลืองกัน เพื่อให้แตกต่างกับ Reg ชุดหลัก แต่จะเอา Regulator ปกติ มาทำเป็น Octopus ก็ไม่ผิดกติกา แต่ว่าอาจจะต้องดูว่าสายยาวพอแบ่งคนอื่นใช้มั้ย


Octopus mares MV สีสวย ขนาดกระทัดรัด ราคาไม่แพง ที่หลายคนนิยมใช้

จริงๆแล้ว Octopus ส่วนใหญ่ของทุกค่าย ก็หน้าตาเหมือนๆกับ Regทั่วไป นั่นแหละ แต่ spec อาจจะต่ำกว่า Reg ชุดหลักที่ใช้ประจำบ้างและราคาก็มักถูกกว่า อย่างอันนี้ ก็เป็น ares Prestige Octopus

สำหรับชุดOctopus นี้ มีนักดำน้ำหลายคนที่ต้องการลดไม่ใช้สายOctopus และ หัวของมัน ให้เกะกะ โดยออกไปหนึ่งชุด เพื่อความคล่องตัว แล้วเปลี่ยนมาใช้ตัว Second Stage ที่เรียกกันว่า Air 2 แทนตัว Octopus

ตัวอย่างเช่น Atomic Aquatics SS1 นี้

ผมเองใช้ตัว SS1 Titanium สีดำอยู่ น้ำหนักเบาดีโดยเอามันไปต่อแทน Inflator ของ BCD Icon ซึ่งสายเท่ากันพอดี แล้วจะทำให้มันทำหน้าที่เป็นทั้ง Octopus หรือ Reg สำรองไว้หายใจ และ เป็น Inflator เติมลม ปล่อยลมเข้าไปใน BCD ได้ในตัว แต่มันมีข้อจำกัดคือ เนื่องจากมันไม่มีสายยาว ดังนั้น ถ้าต้องใช้ เพื่อ Shared Air ให้กับเพื่อน เราจะต้องเป็นคนมาใช้ Air 2 อันนี้หายใจแทน และส่งสาย Regulator หลัก ของเราซี่งมีสายยาวไปให้เพื่อนใช้แทน แต่ว่าการที่ลดสายไปอีกหนึ่งเส้น และไม่ต้องมีหัว octopus คอยหลุดลงไปเกะกะลากพื้นนี่ ผมใช้แล้วชอบมากๆ ใครสนใจ ก็ลองพิจารณาเป็นทางเลือกดูนะ (ปล.จริงๆจะสั่ง ตัว SS1 Stainless Steel สีแดงในรูปขวาให้เข้าชุดกับอุปกรณ์ แต่ตอนสั่งของขาด เลยเปลี่ยนมาเล่น ชุด Titanium แทน ซึ่งเค้าว่าทนทานกว่าเบากว่าแทน)

ชุดดำน้ำ หรือ BCD (Boyancy Control Device ) เป็นเสื้อชูชีพนักดำน้ำ ที่สามารถปรับการลอยตัวโดยการเติมลม และปล่อยลม เข้าไปในเสื้อ มากน้อยตามต้องการได้ โดยมีสายต่ออากาศจากถัง และมีและปุ่มปล่อยปรับลมเข้าออก ควบคุมได้( Inflator ) ถ้าต้องการดำลงไปในน้ำก็ปล่อยลมออก ถ้าต้องการลอยตัวขึ้น ก็เติมลมเข้าเสื้อ และเมื่ออยู่ในความลึกต่างๆกันเราก็ปรับเติม หรือลดลม มากน้อย เข้าเสื้อเพื่อให้เราลอยตัวได้อย่างสมดุลย์ได้ ที่ใต้น้ำ (ปกติเมื่อดำลงไปลึก อากาศในเสื้อจะหดเล็กลงจากแรงกดอากาศทำให้ต้องเติมลมเพิ่มเข้าไปให้ลอยตัวพอดี ตรงกันข้าม ถ้าลอยขึ้นสูง ลมจะขยายตัว ทำให้เราลอยมากขึ้นต้องปล่อยลมออกเพื่อให้สมดุลย์พอดีเช่นกัน)
นอกจากนี้ BCD ยังมีช่อง ใส่ของเก็บอุปกรณ์ และเครื่องมือต่างๆ ได้ด้วย รวมทั้ง บางรุ่น อย่าง Icon รุ่นยอดนิยมรุ่นนึง ของ mares ที่ผมใช้อยู่ ก็มี ซองใส่ตะกั่ว Integrate Weight ) ติดไว้ด้วยเช่นกัน

มาลองดูหน้าตา BCD กัน รูปร่างคล้าย Jacket หรือชูชีพดำน้ำ แต่จะเห็นมีสายอุปกรณ์ต่างๆหลายอันและที่สำคัญ ตรงแผ่นที่ยื่นมาโอบด้านหน้าทั้งสองข้าง รวมทั้ง ที่แผ่นเสื้อด้านหลัง จะมีถึงลมที่เติมอากาศเข้าออกได้เพื่อปรับการลอยตัว ส่วนท่อที่เห็น คือ ท่อที่ต่อกับ Inflator ไปมีสายไปต่อกับถังอากาศ คอยรับลมมาเติมเข้าออกเสื้อ (หรือจะเป่าด้วยปากก็ได้เช่นกัน) แบบนี้คนนิยมใช้กันมากเนื่องจากพยุงตัวรอบตัว ลอยบนผิวน้ำได้สบายๆ เหมือนชูชีพ

ส่วนอันนี้ เป็น BCD อีกแบบ เรียกกันว่า Wing BCD รุ่นนี้ คือ รุ่นยอดนิยม อีกรุ่นของ mares พวกนี้ จะมีขนาดกระทัดรัดน้ำหนักเบา เนื่องจากมีถุงลมเฉพาะ ด้านหลังเท่านั้น (ถุงด้านหน้าที่เห็นยื่นมาโอบเอง และมีมือจับสีแดง นั่นเป็นถุงสะหรับใส่ตะกั่วถ่วงน้ำหนัก (Integrate weight )ทำให้ไม่ต้องคาดเข็มขัดตะกั่ว) เวลาพับเก็บเหมือนรูปขวาจะเล็กน้ำหนักเบาเหมาะกับการพกพาเดินทางไปต่างประเทศ แต่ข้อเสียคือพวกนี้เนื่องจากมีแต่ถุงลมด้านหล้งดังนั้นเมื่อขึ้นผิวน้ำเติมลมลอยตัวแล้วถุงลมมันจะคอยดันเราให้คว่ำหน้า ต้องหงายหลังต้าน แต่ถ้าปรับตัวชินแล้วก็โอเคผมเอง ก็เลือกใช้รุ่นนี้เหมือนกับเพื่อนๆ ผู้ชายในชมรมอีกหลายคน เนื่องจาก รูปทรงสวย และกระทัดรัดดี แต่ตอนนี้ ชักอยากได้ Wing BCD แท้ๆขนาดเล็กๆบางๆ ที่มีแต่ถุงลมปล่าวๆ เอาไว้พกเดินทางต่างประเทศมั่งแล้วดิ :P
Submersible Pressure Guage (SPG)หรือ Console คือเกจ์ วัดแรงดัน หรือ ปริมาณอากาศ ที่เหลือในถัง กับ ความลึก เพื่อช่วยบอกว่าเราดำอยู่ที่ความลึกแค่ไหน และเหลืออากาศในถังอยู่มากน้อยแค่ไหน

พวกนี้มีหน้าจอหลายแบบ อย่างอันซ้าย mares console mission 2 นั่นมีสองจอ บอกความลึก หนึ่งจอ และ ปริมาณอาศที่เหลือในถังกาศอีกหนึ่งจอ ส่วนอันขวา Scubapro console -3 มีหน้าปัด 3 อัน เพิ่มเข็มทิศอันบนมาอีกอัน แต่หลายคนไม่ชอบมันเยอะยาวเกินเกะกะ มักนิยม 2 จอกันมากกว่า ส่วนเข็มทิศแยกใส่ข้อมือต่างหาก
สำหรับคนที่อยากให้มันเล็กกระทัดรัดเพิ่มไปอีกและ ใช้ Dive Com อยู่แล้ว อย่างผม ก็จะตัดจอ วัดความลึกออกไป ใช้เฉพาะ ตัววัดปริมาณอากาศในถังอย่างเดียว ก็ใช้เกจ์แบบหน้าปัดเดียว

ส่วนตัวนี้คือ OD Slimline ที่ผมใช้อยู่ เป็นแบรนด์ไต้หวัน แต่ผลิตในอิตาลี และโรงงานนี้ ยังผลิต Guage และคอนโซล ให้ค่ายยักษ์ใหญ่อื่นด้วย ว่ากันว่า รุ่นนี้ไม่สวยมาก แต่มันทนดี :P

Dive Computor หรือ คอมพิวเตอร์ควบคุมการดำน้ำ หรือ บางคนเรียกมันตามรูปทรงว่านาฬิกา ดำน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอันนึง ที่นักดำน้ำ ที่ดำบ่อยมักมีติดตัวเป็นของตัวเอง เนื่องจากมันช่วยเป็นพี่เลี้ยง คอยบอกสภาวะต่างๆของเราในการดำน้ำ ว่าอยู่ในสถานะการณ์อย่างไร ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ตลอดจนบันทึกข้อมูลการดำน้ำ ทั้งเวลาในการดำ ระดับความลึก ที่เราอยู่ในช่วงเวลาต่างๆ อุณหภูมิน้ำ และข้อมูลอื่นที่จำเป็นอีกมากมาย สำหรับ Dive com ส่วนใหญ่ จะมีตัวบอกระดับความลึกอยู่แล้ว และบางรุ่นจะมี Sensor รับสัญญานจาก Sensor ที่ต่อจากถังวัดอากาศเพื่อบอกปริมาณอากาศที่เหลือในถัง ออกมาทาง Dive com ได้เลย ทำให้บางคนอาจจะไม่ใช้ Console หรือ Guage เลย เพื่อลดสายที่เกะกะไปอีกเส้น แต่เรื่องปริมาณอากาศเป็นเรื่องใหญ่ ดังนั้นหลายคน จึงมักจะยังคงติด Pressure Guae ไว้ดูปริมาณอากาศ ส่วนความลึก ซึ่งสำคัญน้อยกว่า ก็ใช้ดูจาก Dive Com ได้
Dive Com
เอาตัวอย่าง Dive Com จากค่ายดัง SUUNTO มาเป็นตัวอย่าง ค่ายนี้ผลิต Dive Com ที่ได้ชื่อว่ามาตรฐาน เชื่อถือได้แต่ราคาแพงกว่า ค่ายอื่นเล็กน้อย และข้อเสียสำคัญก็คือ แบตเตอรี่เวลาหมดต้องเข้าศูนย์และราคาแพง ทำให้หลายคนหนีไปเล่น Brand อื่นกันเยอะ


ตัวนี้ Suunto D4 ตัวเล็กสุดของ ตะกูล D

ฟังชั่นใช้งานต่างๆพอครบพอสมควร ทั้งคำนวนโปรแกรมการดำน้ำแบบต่างๆ ระดับความลึกอุณภูมิ และ เก็บข้อมูล Log Dive ไว้ได้ 1000 Log ขาดเข็มทิศ Electronic ไปอย่างนึงสายเป็นยางมีให้เลือกเปลี่ยนได้หลายสีถูกใจสาวๆ หลายคน


ตัวนี้ น้องกลาง Suunto D6

ฟังชั่นใช้งานค่อนข้างครบ เหมือน D4 มีเพิ่มมาบางอย่างรวมทั้ง เข็มทิศ Electronic สายมีให้เลือก เป็นสายยาง Elastomer Strap และสาย Titanium ผมเองเลือกใช้ตัวนี้ ที่ราคาปานกลาง ไม่แพงมากและเลือกสายยางที่ดูสปอร์ตกว่าและเป็นรอยยากกว่าสายไททาเนี่ยม


พี่ใหญ่ Suunto D9

ตัวTop สุดของ Suuntoฟังชั่นใช้งานสมบูรณ์ที่สุด โปรแกรมการเก็บข้อมูลได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก และมี อ๊อปชั่น ตัว Transmitter ซึ่งเป็น sensor วัด Pressure อากาศในถัง (ปุ่มดำ ด้านซ้ายสุด) และส่งสัญญานมาให้ กับ D9 ให้เลือกซื้อใช้ ร่วมกับ D9 ได้ด้วย ทำให้อาจจะไม่ต้องใช้ สาย console วัดอากาศและความลึกเลยก็ได้ ผมก็เกือบอยากจะใช้แบบนี้ ให้มันกระทัดรัด แต่ครูและเพื่อนๆหลายคน เตือนว่า มันเป็นอีเลคทรอนิค ถ้าเกิดพลาด ไม่มี Black Up เรื่องอากาศค่อนข้างอันตราย เลยไม่เสี่ยงดีกว่า อิๆ สาย D9มีให้เลือก เป็นสายยาง Elastomer Strap และสาย Titanium เช่นกัน

ดูของค่ายอื่นกันมั่ง

Oceanic Geo สีหวาน มีให้เลือกหลายสีสวยหวานถูกใจสาวๆ (อีกแล้ว)
ราคาระดับหมื่นต้นๆแถมเปลี่ยนแบตเองได้ ถูกๆทำให้คนนิยมกันมาก(แต่ระวังน้ำเข้าหน่อย อิๆ)

Aeris Manta ก็สวย
ตัวนี้ก็ราคา และคุณภาพ พอๆกันกับ Geo

mares Nemo ตัวนี้ไม่ค่อยสวย
เอามาใส่แทนนาฬิกาคงไม่เหมาะเท่าไรแต่จอยักษ์มองง่าย ใต้น้ำ

ถ้าข้างบนนั่นยังใหญ่ไม่พอมาตัวนี้เลย
mares ICON HD จอยักษ์แถมเป็นจอสีซะด้วย ว่ากันว่าต่อไปคงดูหนังฟังเพลงกันในน้ำแล้ว :P

เรียนแล้วอุปกรณ์มีแล้ว แล้วไปดำน้ำกันที่ไหน
ของผมระยะแรก หลังเรียนกับชมรมจบหลักสูตร Open Water แล้ว ก็ยังคงไปดำน้ำหาประสพการณ์ ( Fun Dive กับ) ชมรมผม ที่แสมสารอีกหลายครั้ง แถวเกาะไข่ เกาะจาน รวมทั้งเรือจม สุคนธา หรือ Hardeep ที่คนรู้จักกันดี หลังจากนั้นก็เริ่มออกทริปดำน้ำ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งมีคนจัดมากมาย (ตามลิ้งค์ข้างบนนั่นก็มี) แต่อย่างที่บอก ผมสนิทกับชมรมมากกว่า ก็เลยเลือกไปกับชมรม
การซื้อทริป ไปดำน้ำ จะมีสองแบบใหญ่ๆ คือ
พวก Day Trip หรือ การไปพักที่รีสอร์ท แล้วนั่งเรือ ออกไปยัง Dive Site หรือจุดดำน้ำ แล้วกลับเข้าฝั่งมาพักที่รีสอร์ท
อีกพวก คือ Live Aboard หรือ การไปดำน้ำโดยพัก บนห้องพักบนเรือ กินอยู่หลับนอน บนนั้น และลงดำน้ำตามเวลา ก็สะดวกสบาย และ ไม่ต้องเสียเวลา เดินทางไปกลับจากฝั่งทำให้ดำน้ำได้วันละหลาย Dive (สูงสุดอาจจะมากถึง 4 Dive ต่อวัน 3 Day Dive และ 1 Night Dive)
ถ้าสนใจ ก็ลองค้นหาทริปดำน้ำ ที่น่าสนใจ ตามลิ้งค์ต่างๆข้างบน หรือสอบถามจากเพื่อนที่ดำน้ำได้เลย และเมื่อเข้ามาอยู่ในสังคม Scuba แล้ว เราจะได้เพื่อนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทำให้ มีข้อมูลในการออกทริปมากมาย เมื่อถึงวันนั้น เราขอต้อนรับคุณเข้าสู่

"ชมรม คน ขนเงิน ขนทอง ไปถมทะเล"
หาได้เท่าไรเอาไปถมทะเลกันหมด :P
เด๋วว่างๆ จะใช้หน้านี้เป็น Portal ไปยัง Review ทริปดำน้ำสำหรับเพื่อนๆต่อไปครับ :)
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

Link Web ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงดำน้ำ ช่วยทุ่นแรงให้เข้าไปหาที่เรียน หาความรู้ ตลอดจนเลือกหาซื้ออุปกรณ์ และ จองทริปดำน้ำ ครับ ถ้ายังไม่จุใจ ใช้ อากู๋ Google Serch เพิ่มได้ ครับ อันนี้ ที่ผมใช้บ่อยๆ อิๆ คลิคที่ลิงค์ได้เลย
Siam Scuba Diving เว็บที่เป็นแหล่งรวมความรู้ คำถาม ข้อมูลด้านการดำน้ำ เว็บนี้ คนดำน้ำห้ามพลาด :)
ชมรมดำน้ำศิษย์เก่าลาดตะเวณกองทัพเรือ (Recon Diver) อันนี้ เว็บชมรมผมเอง อิๆ ชมรม ดำน้ำที่ค่าเรียนถูกสุดในโลกแล้วมั้ง อิๆ อันนี้ในเว็บไม่มีเบอร์โทรติดต่อและโฆษณา ถ้าสนใจโทรหาครูโอ้ต (นิธิ) 0866623355 หรือ คุณเป้ 0891378349 เลขาชมรม คนใกล้ตัวครูโอ้ตได้ เลย
Dumnam.com (สำนักดำน้ำดอทคอม) ของครูพู่ศักดิ์ ครูใหญ่ใจดีของน้องๆ
Dive Evulution.com อันนี้เป็นเว็บของครูต้อง ครูดำน้ำชื่อดังที่มีลูกศิษย์ มากมาย ที่ผมเคยติดต่อจะเรียนด้วยเมื่อ ตอนเริ่มดำน้ำใหม่ๆ ราวๆ เดือนมีนา 09 แต่ตัวครู มาจมหายไปกับกระแสน้ำที่เชี่ยวกรากของ แสมสาร ตอนช่วยลูกศิษย์ ที่มีปัญหาขณะดำน้ำ ในกลางปี 2009 แต่ว่า ทีมงานของครูต้อง ก็ยังดำเนินการต่อมาเหมือนเดิม
Mermaid Dive อันนี้ เป็นร้านดำน้ำ และรร.สอนดำน้ำมาตรฐานของฝรั่ง อยู่พัทยา ราคาอาจจะแพงกว่า ร้านไทยๆของเราหน่อย
X Site Diving เว็บดำน้ำ ทั้งสอน และขายอุปกรณ์ ตลอดจนจัดทริป อีกเว็บ
Living Sea เว็บสอนดำน้ำ และขายอุปกรณ์ดำน้ำ รวมทั้งจัดทริปด้วยเช่นกัน
My DivingShop เว็บขายอุปกรณ์ดำน้ำ ของไทยอีกเว็บ
scubadiving.thport.com ของครูทอม ภูเก็ต
WWW.PADI.COM อันนี้ คือเว็บ ของสถาบันสอนดำน้ำที่ใหญ่สุดของโลก เจ้าตลาด ทุกวันนี้

(คลิคที่นี่กลับไปอ่านข้างบนต่อ)
%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%

ด้านล่างนี้เป็น เว็บของผู้ผลิตอุปกรณ์ดำน้ำหลักๆ ค่ายดัง
เอาไว้ค้นดู ข้อมูลอุปกรณ์ใหม่ๆ ของสามค่ายดังวงการดำน้ำ

mares
SCUBAPRO & UWATEC
Aqua Lung

เแวะเยี่ยมบ้านกันหน่อยก็ได้ ที่ www.2jfk.com