-=Jfk=- Trekking Corner

Mera Peak Trekking Nepal (6460 M)
"ปฏิบัติการไต่ฟ้า หานรก"(31 March - 16 April 2012)

31 มีนา 55 เดินทางจาก สุวรรณภูมิ ( 0 m ) สู่ กาฐมาณฑุ เนปาล (1365 m )

คืนก่อนเดินทาง เข้าไปนอนที่คอนโด ในกทม.ล่วงหน้าหนึ่ง ตื่นเช้าออกจากบ้าน โดยแฟนกับลูกสาว ขับรถมาส่ง หลังจากเช็คอิน ผ่านตม. ซึ่งวันนี้คนไม่มากนัก เสร็จแล้ว ก็แวะไปหากาแฟ ที่ Black Canyon เติมไฟประจำวัน ก่อน ที่ จะบินออกจากสุวรรณภูมิ ด้วยเที่ยวบินTG319 เวลา10.15 น. ไปถึง สนามบิน กาฐมาณฑุ ( KTM ) ในเวลา 12.25

สนามบินกาฐมาณฑุ ในวันนี้ยังคง ไม่ต่างกับ 5 ปีก่อน ที่ผมเคยไปเยือนมากนัก เป็นสนามบินขนาดเล็ก เที่ยวบินลงไม่มาก ลงเครื่องกลางลานจอดแล้ว เดินเข้าตัวอาคาร แต่เที่ยวบิน ของ TG เป็นเครื่องใหญ่ผู้โดยสาร ลงเครื่องพร้อมกัน หลายร้อยคน ทำให้ช่วงเวลาที่เครื่อง TG ลง สนามบินเล็กๆนี้คึกคัก ขึ้นทันตาเห็น ตม.เต็มทุกช่อง ( เที่ยวบิน ของ TG บินไปกลับ KTM ทุกวัน วันล่ะเที่ยว และมักเต็มเกือบทุกเที่ยว เป็น Route ที่ทำกำไรให้การบินไทยได้ดีทีเดียว) เข้ามาแล้วแปลกใจ ป้ายประกาศอันใหญ่ (มุมล่างขวา)ที่ประกาศว่า เนปาล ไม่รับแบ๊งค์ 500 และ 1000 รูปี ของอินเดีย (สงสัยปลอมเยอะ อิๆ)

สนามบิน ที่ KTM นี่ดูเหมือน TG เราจะเป็นขาใหญ่ ประจำเหมือนกัน สายพานลำเลียงกระเป๋า สองสายพาน TG จอง และเห็นป้าย TG ในหลายๆจุด ของ ที่นี่ยังกะเป็นเจ้าถิ่นเลย :)

ผ่านออกจาก Air Port มาข้างนอก แม้แดดจะแรง แต่ยังไม่ร้อนมากนัก เนื่องจาก KTM อยู่ในที่สูงระดับ 1360 กว่าเมตร ทำให้อากาศเย็นสบาย และออกจะหนาวในตอนเช้า และกลางคืน
ที่นี่ ยังคล้ายๆกับไทยเราสมัยก่อน ที่ สนามบิน คนเดินทางไป และกลับ จะมีญาติมารอรับส่งมาก เต็มไปหมด เจ้าหน้าที จะกันให้รออยู่ด้านนอกอาคารโดยสาร ไม่ให้เข้าไปรับข้างใน (ที่เคยผ่านไปแล้ว เห็นญาติมารอรับส่งมากๆ สุดๆ ประมาณมากกว่ากนี้เป็นสิบเท่า ก็ต้อง ที่ สนามบิน มนิลา ที่ฟิลิปปินส์ อันนั้น ญาติเยอะสุดๆ :) )

จากประตู เราก็มี ญาติ มารอรับกับเค้าเหมือนกัน โดยนิรู ตัวแทนจากบริษัท จัด Advance Trekking ที่เป็นคนจัดทริปให้เรา มารอคล้องมาลัยดอกคำปูจู้ (ดาวเรือง) เหมือนนักการเมืองบ้านเราตอนหาเสียงเลย พร้อมทั้งนำพนักงานมาช่วยขนกระเป๋ารถมารอต้อนรับ และขนของจากแอร์พอร์ต ไปยังรร.ที่พัก ในย่าน Thamel เห็นสภาพร้านค้า ริมทางในเมืองหลวง เนปาล แล้ว นึกย้อนไปตามชนบทไทย แถวๆ 20 ปีก่อน :)

จากแอร์พอร์ต วิ่งมาไม่ไกล ก็ถึงที่พัก ใน KTM ของเรา คือโรงแรม Tashi Hotel ในย่าน Thamel เป็นย่านช้อปปิ้ง ที่คึกคักแห่งนึง ของ KTM เป็นรร.เล็กๆ ขนาดหาดาวไม่เจอ แบ่งพักกันห้องล่ะสองคน ไฟฟ้าในห้อง จัดสรรตามเวลา ตอนค่ำในเมือง มีการใช้ไฟมาก ก็จะจ่ายไฟแค่ที่จำเป็นบางดวง ไฟตามปลั๊กไม่จ่ายเข้ามา ทำให้ชาร์ตแบตเตอรี่ไม่ได้ ต้องรอเป็นกลางวัน หรือหลัง5 ทุ่มไปแล้ว ค่อยชาร์ตแบ็ตได้ แต่ที่นี่มี Wifi ให้ใช้ฟรี พวกเรา มี Plan พักเตรียมอุปกรณ์ กันที่นี่ 2 คืน

เอาของเข้าเก็บที่ห้องแล้ว ก็เริ่มออกไปเดิน ตะลุยช้อปปิ้ง หาอุปกรณ์ ปีนเขา และ และเสื้อผ้ากันหนาวกัน ร้านที่พวกเราอุดหนุนคึกคักเป็นพิเศษ ก็ Manakamana Export ด้านบนที่เจ้าของร้านเป็นแขกหล่อ ใจดี ขายเสื้อผ้าราคาดี กับ ร้านสองพี่น้องด้านล่าง ที่มีทั้งเสื้อผ้า และ อุปกรณ์ มากมาย แต่รกสุดๆ แต่ราคาดี ร้านนี้ เลยโดน กันไปเยอะผมเอง ก็โดน ไม้เท้า Black Diamond กับ กระติกน้ำ Primus 1 litre กับของจุกจิก อีกหลายอย่างจากร้านนี้เหมือนกัน

ช้อปกันพอเหนื่อย ป๋าคม พาแวะไปทานข้าวมื้อบ่ายที่ ร้านครัวไทย มื้อแรกในเนปาล เลยเป็นอาหารไทย จากร้านคนเนปาล กุ๊กไทย มื้อนี้สั่งกระเพราหมูไข่ดาว ราดข้าวมากิน ให้หายคิดถึงเมืองไทย รสชาติ ต้องเรียกว่า " พอ แหลก ล่ายยยยย " อิๆ
อิ่มท้องแล้ว ก็ออกเดิน ช้อปปิ้งกันต่อ จนค่ำ ก่อนเดินกลับเข้าที่พัก ซึ่งไม่ไกล แต่เส้นทางวันแรกๆ ยังงงๆ ถนน ถนนหน่อย :)
เดินกันทั้งวัน พอเข้าที่พักตอนค่ำ ชักหิว เลยชวนน้องๆ แวะออกไปหาอาหารรองท้องที่ห้องอาหาร เมดิเตอร์เรเนียนใกล้ที่พัก อันนี้ รสชาติ " แหลก ม่าย ค่อย ลง " :P

1 เมษา 55 Shopping และเตรียม อุปกรณ์ Trekking ที่ ย่าน Thamel ใน KTM อีกหนึ่งวัน

เช้าตื่น กินอาหารเช้าที่ รร. แล้วออกเดินเล่นช้อปปิ้ง ใกล้ๆ โรงแรมกัน กลับเข้ามาเห็นแขกลับมีดสองคนนี้มานั่งรับจ้าง ลับมีดและกรรไกร หน้า โรงแรม เทคนิค น่าสนใจดี ใช้แรงคน(เสื้อแดง) คอยดึงเชือกปั่นหินลับมีดแทนมอร์เตอร์

พอๆ ใกล้เที่ยง นิรู กับ ไก๊ด์ ก็แวะมารับเดิน ไปลองเช็คอุปกรณ์ ที่จะใช้เช่า เพื่อเดินเขา Boot , Crampon, Harness , assending , Juma และ Ice Axe แล้ว กลับมาเดิน ช้อปปิ้งกันต่อ(ช้อปกันทั้งวัน จนหมดตัวไปตามๆ กัน อิๆ
ก่อนแวะทานมื้อบ่าย ที่ครัวไทย เช่นเดิม มื้อนี้ เจอผัดซีอิ๊วเค็มปี๋ แถมเค็มจากเต้าเจี้ยวที่ใส่ (ผิดสูตรไทยไปมั้ยเนี่ย ผัดซีอิ๊วใส่เต้าเจี้ยวเนี่ย) จนต้องช่วยกันบอกต่อ ว่า ระวังเค็ม อิๆ

ตามถนนในเนปาล จะเห็นแท็กซี่ และรถทั่วไป นิยมใช้ Suzuki กันเยอะ โดยเฉพาะไอ้ตัวขาวข้างบน ซึ่งมันคือ Fronte บ้านเรา ในอดึต แต่ที่นี่เรียก Murai ใช้กันมากๆๆๆๆๆ แม้จะเก่ามากแล้ว แต่ รุ่นใหม่ อย่าง Swift ทั้ง Hatch back และ Sedan ก็มีให้เห็นเยอะ อีกแบรนด์ ที่เห็นมาก ก็เป็น Hundai

มื้อคำวันนี้ ทางบริษัท จัด Trekking ให้เรา พาไปเลี้ยงต้อนรับ ที่ร้านอาหารพื้นเมืองเนปาล พร้อม มีโชว์ระบำประจำชาติ ของชาวเขาเผ่าต่างๆ คล้ายๆ โชว์แถว ทิเบต และแชงกีล่า เนื่องจากคน และวัฒนธรรม คล้าย ๆกัน
เครื่องดื่มยอดนิยมคืนนี้คือ Lassi เป็นนมเปรี้ยวปั่นใส่ผลไม้อร่อยดี

2 เมษา 55 บินเครื่องบินเล็กจาก KTM ( กาฐมาณฑุ ) เมืองหลวงเนปาล (1365 m ) ไปยัง Lukla เมืองหลวงแห่งการปีนเขาโลก(2843 m)

เช้าวันนี้ทานอาหารเช้า ที่โรงแรมแล้ว ก็ออกมาเตรียมกระเป๋า เช็คอุปกรณ์ ขึ้นรถตู้ ที่ นิรู มารับไป สนามบินเพื่อ ออกเดินทางไป Lukla  แต่เช้า เนื่องจากสัมภาระและอุปกรณ์ ที่ใช้มากมาย ของที่ไม่ใช้ ก็ทิ้งฝากไว้ที่รร.นี้ก่อนเอาไปแต่อุปกรณ์ และเสื้อผ้า ที่จำเป็นต้องติดตัวขึ้นเขา

ระหว่างทางผ่าน บ้านเมืองของเค้า ค่อนข้างจะเก่า หลายๆแห่งไม่ฉาบปูนกันปล่อยให้เป็นอิฐเปลือย ไม่แน่ใจว่าเพื่อประหยัด หรือ ว่าเพื่อเลี่ยงภาษีอาคาร ให้กลายเป็นอาคารที่ยังสร้างไม่เสร็จดี เหมือนบางประเทศ

แอบเก็บรูปรถแถวๆ แอร์พอร์ตมาฝากตามประสาคนชอบรถ อย่างที่บอกครับ ที่นี่ นิยมรถเล็ก เนื่องจากถนนหนทาง ค่อนข้างแคบ และคงเน้นประหยัดด้วย นั่นแหละ

สนามบิน KTM ด้าน Local สภาพ จะทรุดโทรมกว่า ทางด้าน Inter พอสมคววร คล้าย สถานีรถโดยสารบ้านเราสมัยก่อน แต่คนเยอะมากๆ ค่อนข้างแออัด
การจัดตั๋ว เช็คอิน ขายตั๋วกันเหมือน ขายตั๋วรถเมล์เลย ไม่ต้องเช็คพาสต์ปอร์ตกัน แจกตั๋ว แล้ว เอาไปขึ้นเครื่องเหมือนรถทัวร์ แต่ว่า ระบบตรวจกระเป๋า กันนาน แต่ ไม่ละเอียด(งงมั้ย อิๆ)

จากการรอด้านนอก โหลดกระเป๋าแล้ว ก็เข้าไปนั่งรอต่อใน Lobby Gate ด้านใน เดินเล่นอ่านโปสเตอร์โฆษณา มีทั้ง กิจกรรมท่องเที่ยว และทริป นำเดินเขา อย่างข้างบนนั่น ทริปนำปีนเขา Elbus ในรัซเซีย ยอดเขาสูงสุดของ ยุโรป 1 ใน 7 Summit ของ ยอดเขาที่สูงที่สุดในแต่ล่ะทวีป อันได้แก่

1 Mt.Everest ของ เอเชีย ใน ธิเบต และ เนปาล สูง 8850 m
2 Mt. Aconcaqua ของ South America ใน อาเจนติน่าใกล้ ชายแดน ชิลี สูง 6962 m
3 Mt. McKinley (ชื่อเดิม คือ Denali ) ของ North America ใน อลาสก้า ( USA) สูง 6194 m
4 Mt. Kilimanjaro (Uhuru Peak) ของ Africa ใน แทนซาเนีย สูง 5963 m
5 Mt. Elbus ของ Europe ใน รัสเซีย สูง 5642 m
6 Mt. Vinson Massive ของ Antarctica ใกล้ขั้วโลกใต้ สูง 4897 m
7 Mt. Carstensz Pyramid หรือ Puncak Jaya ของ Australia /Oceanea ใน ปาปัวนิวกินี ต่อ กับ อินโดนีเซีย สูง 4,884 m
(Note สำหรับการจัดอันดับ ของ ทวีปออสเตรเลีย ถ้าไม่รวม Oceanea นับแต่ทวีปออสเตรเลียเท่านั้นยอดเขาที่สูงสุดคือ Mt.Kosciuszko ในรัฐ นิวเซาท์เวลซ์ ของออสเตรเลีย )ซึ่งสูงแค่ 2228 m เท่านั้น )

แต่เข้ามาใน GATE นี้ แล้ว ก็ยังไม่ได้ไปนะ ปล่อยให้เข้ามานั่งรอต่อกัน อีกเกือบสองชม. กว่าจะถึงกำหนดเครื่องออก แล้วเรียกไปขึ้นเครื่องก็ตกสิบโมงกว่า โดยพวกเราเดินทางโดย Air Agni (อัคนี) รอบแรกไปได้ 14 คน (เต็มเครื่อง ) อีกสี่คนที่เหลือ ต้องไปไฟลทฺ์ถัดไป
ค่าโดยสาร KTM และ Lukla เที่ยวเดียว สำหรับคนต่างชาติ 9000 rs หรือ ราวๆ 110 US ตก 3300 แพงเหมือนกัน สำหรับระยะเดินทาง แค่ 20 กว่านาที แต่สำหรับคนเนปาล ประมาณ 4000 rs หรือ 1600 บาท เท่านั้น แต่ถ้าไม่นั่งเครื่อง ก็เหลือทางเลือก คือการเดินเท้า 7 วัน รถไม่มี แต่วันดีคืนดีฟ้าปิด เครื่องบินไม่ได้ ติดกันหลายๆวัน นักท่องเที่ยวที่ติดค้างที่ Lukla ต้องเดินเท้ากลับ KTM กันมาแล้วบ่อยๆ:P

จริงๆแล้วจาก Gate เรียกไปกลางลานจอด แล้ว ก็ยังให้นั่งรถในรถบัสที่มาส่ง รอเครื่องกันอีกพัก เลยถ่ายรูป เครื่องบินสายการบินอื่นๆที่วนเข้าออกมารับส่งผู้โดยสารกัน ชื่อสายการบิน คุ้นๆ คนไทยกันดี เช่น ธารา แอร์ , แอร์สีดา รวมทั้ง แอร์อัคนี ที่เราไป ชื่อคุ้นๆอย่างนี้เพราะว่าภาษาไทยเราไปยืมภาษาบาลีสันสกฤษ เค้ามาใช้มากมายนั่นเอง

เครื่องที่เราไปเป็นเครื่องบินเล็ก ขนาด14 ที่นั่ง (แอบเห็น ที่เครื่อง ว่า ซื้อ เครื่องเก่ามาจาก Air Tasmania ) สภาพเครื่องพอทนพอลุ้นกับหลุมอากาศ แอบมองไปเห็นบางเครื่องที่จอด อยู่ ใช้เก้าอี้ผ้าใบให้นั่ง ก็มี อิๆ

เครื่องบินแค่ 20-25 นาที ก็ถึงสนามบิน Lukla ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 2843 เมตร หลังจาก ลูกหาบรับของจากเครื่องเสร็จ ก็เดินแบกจากสนามบินเดินกลับที่พักกันเลย เพราะว่า ที่นี่ไม่มีรถ ใช้เท้าเดินกันเท่านั้น ยกเว้นของหนัก ถ้าไม่ใช้คนขน ก็ใช้ จามรี หรือ Yak ช่วยขนสินค้า ส่งกัน

แอบสำรวจรันเวย์สนามบิน ค่อนข้างสั้นมาก ตอนขาลงเครื่องจะแล่นขึ้นเนิน ก่อนเลี้ยวเข้า ลานจอดซึ่งมีสี่ลำ จอดเสร็จรีบให้คนลง ขนของลง ก่อน ขนของขึ้นให้คนขึ้น แล้วออกต่อไปเลย โดยไม่ต้องดับเครื่อง เพราะว่าต้องรีบทำรอบแข่งกับอากาศที่ปิด
ตอนเทคออฟออกนี่หวาดเสียวหน่อย เครื่องตั้งลำบนเนิน แล้วพุ่งลงไป ก่อนเชิดหัวขึ้นก่อนสุดทางวิ่ง ซึ่งลงไปเป็นหุบเขา เลย
สนามจอดฮอ ก็อยู่ข้างๆ ชมคลิปขึ้นลง ของเครื่องที่ Lukla ได้ตามลิ้งนี้
" สนามบิน Lukla"

ถนนสายหลักของ Lukla เป็นถนน ที่ทางเดินปูด้วยแผ่นหิน สำหรับคน และ จามรีเดิน ไม่มีรถ สองข้างทางนอกจากร้านค้า พื้นเมือง และร้านขายของที่ระลึก ก็จะเป็น ร้านอุปกรณ์และเสื้อผ้าปีน เขาสำหรับคนที่ลืม หรือขาดของเล็กน้อยๆ ได้ซื้อเพิ่มเพราะว่า Lukla เปรียบเสมือนเมืองท่าของการปีนเขาหลักของเนปาล รวมทั้งการขึ้น เอเวอร์เรสต์ ก็เริ่มต้นจากที่นี่กัน

ริมทางเดินมี ร้านกาแฟดังๆ ทั้ง Hard Rock Cafe Lavazzi และ Starbuck ถือโอกาสแวะเข้าไป อุดหนุนเติม Cafeine เข้ากระแสเลือดกันซักหน่อย :P

พอพวกเราไปถึง และอยู่ ซักพักปรากฏว่า อีกกลุ่ม ที่ตามมา สี่คน เหลือ และบินตาม ในไฟลท์ ถัดมานั้น บินมาเหลืออีกแค่ สิบนาที เครื่องจะลง Lukla แต่อากาศไม่ดี กัปตัน ต้องบินกลับไปลง KTM และบินมาไม่ได้อีกเลย ทำให้ อีกสี่คนที่เหลือ ต้องกลับไปนอน Tashi
แต่พวกเราก๊วนใหญ่ก็เลยต้องค้างคืนรอ อยู่ ที่ Lukla อีกหนึ่งคืน แทนที่จะ เริ่มออกเดินวันแรกกันเลย เสียเวลาไป หนึ่งวัน ฟรี  โดยเข้าพักที่ Sunrise Hotel Lukla นั่นแหละ (ปล.น้ำส้มแก้วบน ขวา นั่น เป็นน้ำส้ม Tank ที่เค้าผสมให้ดื่ม แทนเกลือแร่ให้พลังงานตอนเที่ยงๆ ของเกือบทุกวันที่เราเดินกันไปพักกลางทาง อร่อยดีเหมือนกันได้น้ำตาลจากมันพอสมควร

สำหรับมื้อค่ำก็ฝากท้อง ไว้ที่โรงแรมที่พัก นี่แหละ อาหารหลักๆ ของที่นี่ และตลอดการเดินทาง ส่วนใหญก็เป็น ซุป , สลัด หรือ ผัดผัก แล้ว ก็อาหารพวกแป้ง หรือ ข้าว เช่น จาปะตี หรือ แป้งม้วนอย่างในรูป หรือ บางมื้อ ก็เป็นพวก เส้นมะกะโรนี หรือ พาสต้า กับซอซมะเขือเทศ จะมีเนื้อปลา หรือ เนื้อ จามรี หรือ ไก่แทรกบ้าง ก็ไม่มานัก กินไปหลายๆวันก็เลี่ยน ต้องอาศัยกุนเชียง ปลาและหมู น้ำพริก และมาม่า ที่พวกเราเตรียมไปมาผสมด้วย
ห้องพัก ที่ Lukla พอใช้ได้ แต่อากาศเย็นๆ หนาวๆ นี่ มาเจอที่นอน และผ้าห่ม ที่นุ่มอุ่นสบายมากๆๆ แล้ว ฝันหวานเลย
ราคาค่าห้องพัก ถ้า Walk in เข้าไปเอง 1500 rs หรือ 600 บาท สำหรับสองคน ไม่แพงนัก แต่สำหรับการ จองผ่านเอเยนซี่ อย่างเช่นที่เราพัก ค่าห้องลดเหลือแค่ 500rs หรือ สองร้อยบาทเท่านั้น ถูกมากมาย แต่ค่าอาบน้ำร้อน ซึ่งเค้าจะเปิดแก๊ซให้คิดคนล่ะ 300 รูปี แพงกว่าค่าห้องซะอีก

3  เมษา 55 วันแรกของ Trekking จาก Lukla (2843 m) ไปยัง Chutanga Camp (3020m) ระยะทาง ประมาณ 4 กม.

ตื่นเช้าแวะ ออกหากาแฟดื่มกัน แวะมันเกือบทุกร้านเลย ทั้ง Starbuck , Lavazza , illy รวมทั้ง Everest cafe ซึ่งทั้ง 3-4 แห่งนี้ แต่งร้านดี ใช้เครื่องชงกาแฟอย่างดี  จนคิดว่าเป็นฟรานซ์ไชส์ จริง ๆ แต่ว่า เห็นแต่ล่ะร้านขายกาแฟของอีกค่าย ด้วยเลยชักไม่แน่ใจ กาแฟเฉลี่ย แก้วล่ะ 250 Rsหรือ 100 บาท แพงเหมือนกันแถม ถ้าไม่กินที่ร้าน ใส่แก้วกระดาษ คิดอีก 20- 40 rs อีกต่างหาก :)

หลังจากกินอาหารเช้า และ ได้กาแฟ กระตุ้นความสดชื่นแล้ว พวกเราก็แอบไปเกาะรั้ว สนามบินรอลุ้นเที่ยวบิน ที่จะมาลง Lukla ว่า จะมีไฟล์พวกเรามาลงได้หรือไม่ ลุ้นกันทุกครั้ง  ที่เครื่อง Air Agni ลงมา จน 9 โมงกว่า   พวกเราอีกสี่คน ถึงได้เดินทางมาถึง หลังเช็คอุปกรณ์เตรียมตัว แล้วก็เริ่มออกเดินกันเลย ตอนประมาณ 10 น. ทางเดินช่วงแรก ผ่านสนามบิน ศาลเจ้า โรงพยาบาล และหมู่บ้านชาวบ้าน ไปก่อนออกจากเมือง Likla

หลายช่วงของทางเดินจ ะเป็นภูเขาหิน ที่ต้อง ข้ามลำธาร และน้ำตกหลายแห่ง ที่มักมีสะพานไม้ให้ข้าม เป็นระยะ ได้ออกแรงกันพอประมาณ ไม่เหนื่อยนัก

ก่อนไต่ระดับสูงขึ้นเลาะไปตามป่า ที่มีไม้ดอก bul bul สีม่วงเล็กๆกระจายทั่วไป และกุหลาบพันปี Rodorendon สีแดงและชมพู กระจาย อยู่ทั่วไป

ฝนตก โปรยปรายมาตลอด ตั้งแต่เริ่มออกเดิน จนประมาณเที่ยงเศษ ก็มาถึง T House ที่อยู่ก่อนถึง  Chutanga เล็กน้อย ก็แวะพักทานอาหารกลางวันกันที่นี่ ด้วยความที่ฝนตกตลอดเวลา ไกด์บอกว่า ถ้าเดินไปข้างหน้าที่กางเต็นต์จะแฉะ มากกว่า ก็เลยตัดสินใจ พักคืนแรกที่นี่เลย  ความสูงที่ Chutanga ประมาณ 3020 เมตร
 ตอนบ่ายอากาศ ค่อนข้างหนาว และตากฝนกันมา เลย ผลัดกันแว่บเข้าครัว ไปนั่งผิงไฟ ย่างเสื้อผ้า ให้พอแห้ง คลายหนาว

ด้วยความที่ ฝนตกเกือบตลอดเวลาไม่ค่อยมีแสง หมอกเยอะ แม้จะพอมองเห็นยอดเขาสวยๆ แต่ถ่ายรูป ออกมากลายเป็นภาพขาวดำกันไปหมดเลย :P

คืนแรกของการเดินทาง มาถึงที่นี่ ก็เลยกลายเป็นวันที่เดินกันเบาๆ แค่สอง ชม.กว่าๆ หลายคนยังไม่สะใจ อยากไปต่อ(ไม่รู้ว่านรก รออยู่ข้างหน้า :P )
คืนนี้ นอนเต็นต์สบายๆ ไม่หนาวมากนัก

4  เมษา 55 Trekking วันที่สอง จากแค้มป์ก่อน Chutanga เล็กน้อย(3000 M) ข้าม Zartwa La 4610m ไปพักที่ Thuli Kharka 4300m ระยะทาง ประมาณ 10กม

วันนี้เป็นวันมหาโหดวันนึง ที่จะต้องไต่ระดับ จาก Chutanga ข้าม สันเขา Zatrwa LAระดับความสูง 4610 เมตร แล้ว ลงไปนอนที่ Thuli Kharka  โดยรวมแล้วต้องไต่ระดับกัน ราวๆ 1600 เมตรโหดทีเดียว หลังอาหารเช้า ฟ้ายังไม่ค่อยเปิดนัก ท้องฟ้า ไม่ค่อยใส ถ่ายรูปกันร แล้ว เริ่มออกเดิน กันเลย

เดินไต่ระดับขึ้นไปไม่นาน ก็ถึง Chutanga จุดหมายแรก ที่เราจะแวะนอนตั้งแต่เมื่อวานแต่ฝนตกเลยหยุดพักซะก่อน
ที่นี่วันนี้เราไม่แวะ แต่เดินผ่านกันไปเลย แล้วก็เดินไต่ระดับกันไปเรื่อยๆ  

ระยะแรก ทางเดินยังเป็นดิน มีดอกไม้ ต้นไม้มากพอสมควร แต่พอไต่ระดับสูงขึ้น เส้นทางเริ่มมีน้ำแข็งและหิมะปกคลุมสลับหิน เดินยากขึ้น เรื่อยๆ

ยิ่งเดินขึ้นสูงวิวยิ่งสวยยอดเขาสูง เริ่มโผล่มาให้เห็นเต็มไปหมด มุมล่างซ้ายเห็นคล้ายๆกระท่อมบนสันเขาที่ คล้ายกับจุด Chek in ตามทางเดินเขาที่เราเห็น แต่พอเดินเข้าไปใกล้ๆ มันกลายเห็นหน้าผาหินตัด ที่ไม่มีหิมะเกาะซะนี่ :P

ยิ่งสูง ยิ่งหนาว ยิ่งลื่น ยิ่งเหนื่อย แต่ก็ ยิ่งสวย ไต่ระดับกันต่อไป หลายยอดที่เราเห็นสูงๆ เดินไป มันอยู่ระดับเดียวกับเรา และ เราก็กำลังจะก้าวข้ามมันไป :P

ตอน ใกล้ๆเที่ยง ก็มาแวะพักทานอาหารเที่ยง กันที่ Kharkateng Snow line Tea House ระดับความสูงราวๆ 4000 เมตร
Kharka ที่ได้ยินกันบ่อยๆ เป็นภาษา Sherpa หมายถึง สถานที่ในอดีต ที่มีทุ่งหญ้า หรือ Pasture ที่ในหน้าฝน  พวกเชอปา จะนำสัตว์เลี้ยง เช่น Yak แกะ มาเลี้ยง แล้วรีดนม ทำเป็น กี หรือ เนย ส่งไปขายยังตลาดLukla อันเป็นตลาดหลัก  
ปล. อาหารกลางวันตาม T Houseต่างๆ   ลูกหาบ และคนครัว ของเราจะเตรียมกันเอง เช่าแต่สถานที่ ของ T House ประมาณ 1000 กว่า Rs หรือ 4-5 ร้อยบาทต่อครั้ง รวมทั้ง อาหารเช้า และ เย็นที่แค้มป์ นี่ก็เหมือนกัน ทำกันเอง อร่อยไม่อร่อย ไม่ต้องไปโทษ T House อิๆ

กินข้าวเที่ยงเสร็จ ออกเดินไต่ระดับความสูง กันต่อ เพื่อ ข้าม Zartwa La ที่เป็นช่องทางผ่านสันเขา ซึ่งเป็นส่วนที่สูงที่สุดของเส้นทางวันนี้ต่อไป
ทางช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นหิมะ และระหว่างทางช่วงบ่ายพายุหิมะ และลูกเห็บ ขนาดเล็กถล่มลงมา ต้องหลบ เข้าตามชะง่อนหิน กัน เพื่อหนีความหนาว
ถึงตอนนี้รอยเท้าต่างๆบนหิมะ ก็มองไม่เห็น เลยไม่กล้าเดินทางกันต่อ ต้องรอจนหิมะ หยุด ฟ้าเปิด ไกด์ตามมา พาเดินกันต่อ

พอข้าม Zartwa La ที่ระดับ4600 เมตร ก็เริ่มเดินลงสู่ Thuli Kharka ที่ระดับ 4300 โดยมีทางเดินขึ้นๆ ลงๆสลับบ้าง แต่ส่วนใหญ่เป็นทางลง
หลังหิมะตก ฟ้าเริ่มเปิดให้เห็นท้องฟ้าสีฟ้าใสๆ บ้างแล้วพอชื่นใจ แต่ยังไม่มีแสงแดด
พวกเราชุดแรก ที่ออกนำ วิ่งไปก่อนตอนหิมะตกใหม่ ยังนุ่ม วิ่งได้สบายไปถึงกัน 3-4 โมงเย็น แต่กลุ่มท้ายๆกว่าพายุจะหยุดตามไป ถึงแค้มป์ ก็ หกโมงเย็น ก่อนลงแค้มป์มองไปเห็นแค้มป์และก้อนหินใหญ่รูปเรือ มีหิมะปกคลุมเต็มไปหมด (หินก้อนนี้ดูๆ แล้วนึกถึง เรือไททานิคแฮะ :P)
เข้าถึงแค้มป์เกือบหกโมงเย็น กินข้าวเสร็จหมดแรง เข้าเต็นต์นอนกันเลย

5  เมษา 55 Trekking วันที่ 3 จาก Thuli Kharka (4300 m) ลงไป ที่ Kothe Camp ( 3700 m) ระยะทาง 8กม

เช้าวันนี้ตื่นมา บริเวณรอบๆแค้มป์ ขาวโพลนไปด้วยหิมะที่ตกหนักตั้งแต่เมื่อวาน แต่ว่าวันนี้เป็นวันแรกที่ฟ้าเปิด แต่เช้า แสงแดดสาด ท้องฟ้าใส วิวสวย หลายคนออกมาถ่ายรูปกัน ป้ายบนก้อนหินมุมล่างสุด นั่นเห็นสะดุดตาเลยถามไกด์ เค้าว่า ประมาณว่า เป็นคำสวด ในภาษาพื้นเมือง

หมายกำหนดการ การเดินวันนี้ เส้นทางยาวพอประมาณ ออกจาก Thuli Kharka ตอนเช้า เป้าหมาย คือไปนอนที่ Kote ซึ่งจะเลย Mosum Kharka ไปอีกเล็กน้อย ระดับความสูง ประมาณ 3700 เป็นเหมือนการเดินลงต่ำปรับตัว ไปในตัว
เส้นทางเดิน แม้ว่าดูจากระดับความสูง จะเป็นการเดินลงต่ำ แต่ว่า เดินจริง ก็มีทั้งขึ้น และลงเขาสลับกันไป เส้นทางเลาะไหล่เขามีหิมะปกคลุมสลับกับหิน

เดินกันไป จนประมาณเที่ยง พักทานอาหารที่  Doma Lodge แถวๆ Tashi(คนล่ะอันกับรร. ที่ Thamel นะ :P )

พักทานข้าวแล้ว รอฝนกับหิมะซาลง ก็ออกเดินกันต่อ เส้นทางทางค่อนข้างลาดลงต่ำ หิมะหายไป กลายเป็นหิน และดินเปียก ผ่านป่าสน ภูเขา ที่หนาตาขึ้น บางตอน มี ธารน้ำ และน้ำตกไหลผ่านหลายจุด ยิ่งลงต่ำก็เริ่มเห็นดอก bul bul ริมทางกลับมาให้เห็น และที่ไม่อยากเห็นก็คือ ตอไม้สนขนาดใหญ่ที่ถูกตัด ไปทำฟืน และก่อสร้างบ้านพักบนภูเขา จนสนภูเขาอายุเก่าแก่ หดหายไปเยอะ ทีเดียว

รูปบนเสื้อเหลือง นั่น Mountain Guide ของเราที่จะนำเราขึ้นยอด ชื่อ Domy Sherpa เป็นเชอร์ปาหนุ่มที่เคย นำนักปีนเขาขึ้นยอด Everest มาแล้ว 3 ครั้งเราเดินไต่เลาะตามไหล่เขา มาจนสี่โมงเย็น ก็เห็นซุ้มประตูเข้าสู่ ที่พัก ที่ Kote

ที่นี่ห้องพักดี สะอาด มีลานกางเต็นต์กว้าง มีหญ้าปกคลุม ทั่วไป อากาศดีแม้จะเย็นบ้างเล็กน้อย แต่เรารู้สึกเหมือนได้กลับ ลงมาสู่ที่ต่ำกันอีกครั้ง เมื่อเห็นลานหญ้า ในบริเวณที่กลางเต็นต์
ทางไกด์ ให้ลูกหาบ ต้มน้ำให้อาบคนล่ะกระแป๋งใหญ่ สำหรับใครที่ต้องการอาบ (ส่วนตัวเอง ขอซักแห้ง ด้วยทิชชู่เปียกไปก่อน อิๆ)
และเนื่องจากเส้นทางต่อจากวันนี้ไปต้องเริ่มไต่ขึ้นสูง และไปอีกไกล ทางไกด์เลยขอให้ พวกเราเอาแต่สำภาระที่จำเป็นติดขึ้นไป ของที่ไม่ค่อยได้ใช้ ไม่สำค้ญ แยกทิ้งไว้ที่ Kothe นี่ก่อนเลย
มื้อค่ำวันนี้ ทาง  ครัว มี สตูเนื้อ yak และ เนื้อ Yak ทอด ให้ กินกัน อร่อยดี แต่เหนียวไปหน่อย :)  คืนนี้สมาชิกบางคน ที่ค่อนข้างเหนื่อย และไม่สบาย เลือกที่จะนอนที่ บนห้องพักแทน
อ้อจับตาลานกางเต็นต์ข้างบนให้ดี ว่าเย็นวันนี้เป็นอย่างไร ก่อนที่จะเกิด ปรากฏการณ์ The Day After Tomorow ที่มา ตอน Tomorow Morning เลย อิๆ
6  เมษา 55
Trekking วันที่ 4 จาก Kothe (3700 m) ไป Tangnak (4356m )ระยะทาง 8กม

เช้านี้ที่ Kothe ตื่นขึ้นมาเพราะว่า ลูกหาบมาเขย่าเต็นต์ พอเปิดออกมาดูตกใจเลย สังเกตุจากภาพมุมบนซ้ายเป็นภาพแค้มป์เราตอนเย็น แต่กลางคืนหิมะตกหนักเกือบตลอดคืน จนขาวโพลนไปทั้งทุ่งหญ้า ภูเขา และต้นไม้ เต็นต์เราโดนหิมะทับหนา ราวๆ 15 ซม. เต็นต์หมออิม โดนหิมะถล่มยุบลงมาทับ โชคดี ที่ลงไปตรงที่ว่าง พอดี เพราะว่าน้องเอ้ ไม่ค่อยสบายเลยย้ายขึ้นไปนอน บน T House

ดูจากภาพ แล้ว ไม่น่าเชื่อว่า ต้นไม้และภูเขาเกือบทั้งหมด จะโดนหิมะปกคลุม ไปได้หมด ชั่วแค่ข้ามคืน ยังกะ ฉากหนังเรื่อง The Day Afer Tomorrow ตอนจบเลย แต่ก็ได้วิวสวยนะ :P

พอสายหน่อยแดดออกฟ้าเปิดสวย เห็นยอดเขาสวยๆ หลายยอด ก็ออกมาถ่ายรูปกัน เตรียมของเสร็จก็พร้อมออกเดินทาง เป้าหมายวันนี้ อยู่ที่ Tangnak ระดับความสูง 4356 เริ่มออกเดินกัน 9:00 น.

ทางเดินขึ้นเขา และเลาะริมน้ำ มีหิมะตกตลอดทาง ทางเดิน เส้นทาง Mera ปกติ มันมีเส้นทางเดินทางเดียว ก็จะเดินตามรอยกันไป ไม่ค่อยมีหลงทาง ดังนั้นเดินๆไป คนไปเร็ว ก็จะนำไปก่อนโดยมีไก๊ด์นำไป คนไปช้า ก็จะตามๆกันไป โดย กลุ่มหลังสุดจะมี ไก๊ด์คอยปิดท้าย ช่วยเหลือถ้าจำเป็น ส่วนลูกหาบ ซึ่งแบกของหนักหลายสิบโล ก็จะเดินๆ หยุดๆไปเรื่อยๆ แต่มักจะไปถึงที่แค้มป์พร้อมๆกับกลุ่มกลางๆพอทันกางเต๊นต์และเตรียมอาหารให้เราพอดี

วันนี้ เดินอยู่ช่วงกลางๆ เดินๆไป เอ๊ะ หลงกลุ่ม แล้ว กลุ่มนำก็หายไป กลุ่มตามก็ยังไม่มา แต่ไม่เป็นไรเห็นเส้นทางเดิน ก็เดินไปเรื่อยๆ ไต่เขาเลาะน้ำ เดิน คนเดียวไปราวๆ เกือบ สองชั่วโมง จนใกล้ๆเที่ยง ก็เห็นกลุ่มนำของพวกเรา  ที่เดินนำมาอยู่ประมาณ ครึ่งถึง หนึ่งชม. เดินอยู่บนสันเขาด้านบน ข้างบนไกลลิบๆ ตะโกนร้องเรียกลงมา กลายเป็นว่าเค้าแยกเดินคนล่ะทาง
พอเดินมาถึง T House กลุ่มนำ ก็ตามมาถึง กลายเป็นว่าเราที่เดินทางผิด กลับมามาดักหน้า กลุ่มนำ ไปซะอีก (มาทราบภายหลังว่า ทางเดินด้านล่าง แม้จะสั้น เดินง่ายกว่า แต่ว่า ทางไกด์กลัวว่า บางครั้งมีพวกหินถล่ม ลงมา ข้างล่างอาจจะเป็นอันตรายได้ เลยพาไปเดินขึ้นๆ ลงๆ ตามสันเขาข้างบน แทน ช้าไปอีกเป็นชม. (ขากลับ เลย ไม่มีคนยอมขึ้นด้านบน หนีลงมา ข้างล่าง ทางลัดกันหมด อิๆ)
ถึงเที่ยงแล้ว ยังไม่ได้ทานไรรองท้อง เลยแวะ อุดหนุน โค้ก 500 ซีซี ราคา 300 rs กินเอาพลังงานขวดนึงก่อน

จากนั้น ก็เดินขึ้นไปไหว้พระ บนถ้ำบนเขากัน ก่อน ออกเดินทางต่อ ไต่ตามสันเขากันต่อไป แต่เส้นทางช่วงนี้ แม้จะมีหิมะแต่เดินสบายๆไม่ค่อยลื่นมากนัก

ราวๆ บ่าย 2 ครึ่ง ก็มาถึง Tangnak เข้าไปหลบหนาว ดื่มชา พักผ่อนกันใน T House แต่ว่าอาหารเที่ยงต้องรอลูกหาบ ที่จะตามมาหุงหาจัดเตรียมให้ กว่าจะได้กินมื้อเที่ยง ก็ตกเกือบ 4 โมงเย็น แทบจะต่อมื้อค่ำกันต่อไปเลย   

ช่วงบ่ายที่แค้มป์ Tangnak ฟ้าเปิดสวย มีแสงแดดออกมาให้เห็น พวกเราเริ่มเห็นยอด Mera Peak ในส่วนของ Mera North ที่หันข้างมาทางแค้มป์(ในรูปล่าง) แต่ว่ายอดจริงๆ ยังมองไม่เห็นชัดเจน แต่ก็ สวยสมใจ

อากาศ โดยรวม ที่ Tangnak camp ถือว่ายังดี ไม่มีหิมะหรือ ฝนตก แดดออกพอประมาณ ไม่หนาวมากนัก กางเต็นต์แล้ว เข้าพักในเต็นต์ พอไหว
แต่วันนี้ กว่ากลุ่มหลังที่ตามมา จะเข้ามาถึงก็หกโมงเย็นไปแล้ว ทั้งหนาวทั้งเหนื่อยและเพลียกันไปหมด
คืนนี้ เนื่องจาก การเดินที่ผ่านมาเราเดินกันค่อนข้างไกล ลำบาก และ เดินกันค่อนข้างเร็ว เนื่องจากเรามีเวลาในการ Trekking ค่อนข้างน้อย ต้องทำเวลาทำให้กลุ่มผู้หญิงเริ่มตามไม่ทัน ดังนั้นผู้หญิงในกลุ่ม 3 จาก 6 คน จึงตัดสินใจ ที่จะไม่ไปต่อ แต่จะค่อยๆกลับลงไปก่อน โดยลงไปรอที่ Lukla
เนื่องจาก ถ้าไปต่อก็จะเหนื่อย และอันตราย ตลอดจนขากลับลงไปจะต้องเร่งมากขึ้นกว่าขาขึ้น ก็อาจะทำให้เกิดอันตรายได้ ดั้งนั้น จึงตกลงให้ลูกหาบสองคน นำทีม 3 สาว ลงมาก่อนในวันรุ่งขึ้น
วันนี้ตัวเองวันนี้มีท้องเสียเล็กน้อย  ถามๆ เพื่อนสมาชิก ป๋าคม กับ สมาชิก อีกสองคน ก็มีอาการเหมือนกัน เลยกิน Cipobay กับ Immodium ดักไว้ก่อน
ทุกมื้อหลังอาหารเราจะมีรายการ สำรวจสุขภาพ สมาชิกทีม เพื่อแจกจ่ายยา กันตามอาการ จนกลายเป็นกิจกรรมประจำอีกอย่าง :P
7  เมษา 55 Trekking วันที่ 5 จาก
Tangnak (4356m ) ไป Khare Camp ( 5045m) ระยะทาง 8กม

เช้าวันนี้ ที่แค้มป์ ที่ Tangnak อากาศดี แดดแรงฟ้าเปิด ออกมาเก็บภาพ ยอดเขา และวิวรอบๆกัน ก่อน
มองไปเห็น แป้นกลมสะท้อนแสง คล้ายจานดาวเทียม หรือ สปอร์ตไลท์ขนาดยักษ์ เข้าไปดูพบว่ามันคือ เตาต้มน้ำพลังแสงอาทิตย์เอากาแขวนไว้ตรงกลาง แดดดีๆ แปล๊บเดียว น้ำเดือด เหมาะกับ บนเขาแดดแรง และเชื้อเพลิงหายากอย่างนี้
วันนี้เป้าหมาย ของการเดินทาง คือไต่ระดับสูงขึ้นไป ที่ Khare Camp ความสูง 5045 เมตร 3 สาวในทีม ของเรากลับลงไปกับลูกหาบ 2 คน เหลือพวกเราในทีม อีก 14 คนเดินทางกันต่อไป เมื่อพร้อมก็ออกเดินทางกัน ตอนแปดโมงกว่าๆ

วันนี้ฟ้าใส วิวสวยเดินสบายๆ แต่เนื่องจากต้องไต่ขึ้นสูง อากาศเริ่มเย็นลง หลายคน รวมทั้งตัวเอง ก็เริ่มเอา เสื้อ Down(เสื้อกันหนาวขนห่าน) ออกมาใส่กันหนาวเพิ่ม แต่เดินไป ฟ้าเปิดแสงแดดแรง ต้องถอดออกกันเหลือ แต่ Wind Stopper ไปตามๆกัน อิๆ

ทางเดินเกือบตลอดทางเป็น หิมะปกคลุมบนหิน แต่ไม่ลื่นเดินสบายไปตามร่องเขา ไหล่เขา และไต่ระดับสูงไปเรื่อยๆ วิวตลอดทางสวยๆ ถ่ายรูปกันเพลิน

ระหว่างทางเริ่ม เห็นยอด Mera ชัดเรื่อยๆ ตลอดจนเห็น Mera La หรือ Mera Pass ( La ในภาษาเนปาล แปลว่า Pass หรือ ทาง ) ซึ่งเป็น ทางเดิน น้ำแข็ง บนสันเขาที่จะเดินไปยัง Base Camp และ High Camp ตลอดจนต่อไปขึ้นยอด เป็นเหมือนไฮเวย์ประจำ Mera Area ดูแล้ว คิดถึง ทางเดินบนเขาพระศิวะ เข้าไปยัง มรกตนคร ของ จักรราช(แงซาย) ในเรื่องเพชรพระอุมาเลย :)

ก่อนขึ้นถึงแค้มป์ เป็นทางขึ้นเขาชันหน่อย ต้องออกแรงกั้นเหนื่อยเอาเรื่อง แต่วันนี้เดินไม่ไกลมากนัก และอากาศดี ทำให้สนุก หายเหนื่อยไปเยอะ

ประมาณ 4 ชม. ราวๆ เที่ยงกว่าๆ ก็มาถึงที่พัก ที่ Khare ซึ่งเป็นหุบเขา ที่มีเขาล้อมรอบ ลูกหาบจัดการ กางเต็นต์ให้พวกเรา บนเนิน ข้าง T House ในหุบเขา จากมุมนี้ มองเห็น Mera Pass และ ชะง่อนหิน อันเป็นจุดตั้งของ Hith Camp ตลอดจน North Mera ชัดเจน

ระหว่างนั่งพักเห็นนก ภูเขาสีสวยไม่ค่อยกลัวคนถามไก๊ด์บอกว่ามันคือ ฺ Tibetan Pigeon หรือ Blood Pigeon หรือ ชื่อทั่วไปบางคนก็เรียก Snow Pigeon   เดินมากินเศษอาหาร ตามที่เรานั่งพักกัน รวมทั้งนกดำ คล้ายกา แต่ปากสีเหลือง ในภาพบน ที่เห็นบินวน อยู่เต็มท้องฟ้า ไก๊ด์บอกว่ามันคือ นก Rebine นอกจากนก Rebine ปากเหลืองแล้ว อีกา (Crow) ปากดำ บนนี้ก็มีให้เห็น เหมือนกัน

ป้าย Nepal Mountain Ass - ociation อันบนนั่นเห็น ตอนแรกตกใจ นึกว่าใคร มาด่า นักปีนเขาเป็นไอ้ตูด ซะแล้ว (คนเขียนมันช่าง ไม่ดู วรรคตอนเลยวุ้ย)
รอบๆแค้มป์ แม้จะมีแดด แต่ว่า ก็มีหิมะปกคลุมไปหมด เนื่องจากอยู่ระดับสูง เลยต้องตากแดด กัน กลางอากาศที่เย็นพอสมควร
ช่วงบ่ายไกด์พาพวกเรา ไปลองฝึกไต่เขาโดยใช้ Juma ช่วยดึงตัวขึ้น และ Figure of 8 ช่วยโรยตัวลง

ตกเย็น เรามานั่งปรึกษาเรื่องการขึ้นยอดกัน แล้ว ปรึกษากับไกด์ จากแผนเดิมที่ จาก Khare Camp เราจะเดินประมาณ สี่ชม.ผ่าน Base Camp แล้ว เดินเลยต่อไปอีกราวๆ  3 ชม.ไป High Camp แล้วทานอาหาร ก่อนนอนพักตอนเย็น ก่อนตื่นนอนเตรียมเดินขึ้น Summit ในเวลา ประมาณ ตีสอง หรือ ตีสาม ซึ่ง หมายถึง เราต้องเดินไต่เขา ความสูง ราวๆ 800 เมตร และใช้เวลา เดินบนความสูง เกิน 5 พันเมตร ประมาณ 7-8 ชม. ก่อนไปเจองานหนักขึ้นยอดต่อเลย ซึ่งจะทำให้เรา เหนื่อยจากการเดินไต่หน้าผา และ ต้องใส่ บู้ท เดินผ่านหิมะด้วย จะเหนื่อยเกินไปและได้พักน้อย  
อยากขอเปลี่ยนเป็น  แวะพัก ที่ Base Camp (ระดับความสูงประมาณ 5350 ) หนึ่งคืน ก่อนที่วันต่อไป เดินจาก Base Camp ไป High Camp  (ระดับความสูง 5780) แค่ ประมาณสามชม. ทำให้ วันขึ้นยอด เราจะได้เดินน้อยลงไปอีก สี่ชม. และ ยังได้มีเวลาพักนานขึ้น ก่อนขึ้นยอดอีกด้วย
แต่ปรึกษาแล้ว DB (Dili Bahadur ) หัวหน้าไก๊ด์เรา บอกว่า ถ้าไปนอน Base Camp  หรือบางคน ก็เรียกว่า Mera La ไม่สะดวกกับลูกหาบ ที่ไม่ได้เตรียมตัวมา ต้องขนอาหาร ขึ้นลงไปส่งให้บนนั้น
แต่ จากการสอบถามของเรา กับพวกต่างชาติ อื่นๆ ที่ขึ้นไป พร้อมๆกับเรา และสวนลงมา พบว่าส่วนใหญ่ ฝรั่งกลุ่มอื่นๆ เค้าก็ค้าง Base Camp ) กันเป็นส่วนใหญ่ แสดงว่า ทางไก๊ด์ของเรา พลาดในเรื่องนี้  
ซึ่งถ้าใครคิดไปที่นี่อีก การเดินทางคงต้องวางแผน จาก Khare ไปพัก ที่ Base Camp หนึ่งวัน ก่อน วันถัดไป ค่อยขึ้น High Camp ดีกว่า
นอกจากนี้ ทางไก๊ด์ยังบอกว่า บน High Camp เราก็อยู่ค้างคืน เพื่อรอดูอากาศไม่ได้ เนื่องจากที่แคบ กางเต็นต์ได้แค่พอนอน ครัวก็จัดขึ้นไปได้แค่ชุดเล็กเตรียมอาหารง่ายๆเท่านั้น ขึ้นได้หรือไม่ได้ ก็ต้องลงเลย
เมื่อ เราไม่สามารถ เดินไปพัก บน Base Camp ได้ก่อน และคำนวนเวลาแล้ว เรายังพอมีเวลาเหลือ เราเลยเลือกที่จะพักผ่อนให้ฟื้นตัว และปรับตัวให้สดชื่น และชินกับความสูงที่ Khare เพิ่มอีกวัน ก่อนขึ้นสู่ง High Camp ซึ่ง ไก๊ด์เรา ก็เห็นด้วย

8  เมษา 55 Trekking Day 6 Acclimatize day วันพักปรับตัว ที่ Khare Camp ( 5045 )

วันนี้จึงเป็นวันแรกที่ทีม เรา " ไทยถึก " ได้พักปรับตัวกับเค้าบ้าง ปกติ พวกนักปีนเขาโดยเฉพาะตะวันตกที่มีเวลา เค้าจะค่อยๆเดินไประยะสั้นๆ และหยุดพักปรับตัว ตามความสูงต่างๆเป็นระยะ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว Acclimatiz กับความสูง โดยอาจจะพักที่แค้มป์ต่างๆ วัน หรือ สองวันก่อนไป ต่อ แต่ อย่างที่บอก ก๊วน " ไทยถึก " ของเรา ลางาน กันมา 17 วัน นี่ เจ้านาย แทบจะไล่ออก ลูกน้องจะยึดอำนาจกันหมดแล้ว ดังนั้นการพักปรับตัว สำหรับพวกเรา เลย เป็นของฟุ่มเฟือย แต่เมื่อ เจอสถานะการณ์ ที่บอกข้างบน และ เวลาเราพอแบ่งมาได้หนึ่งวัน จึงจัดการพัก ปรับตัว และพักผ่อนที่ Khare กัน หนึ่งวัน
แต่แม้ว่าจะพักอยู่ที่ Khare Camp โดยเรายังไม่เดินทางต่อขึ้นไป แต่มีเวลา ตอนสายๆ ทานข้าวเสร็จ ก็เลยเดินขึ้นสันเขาด้านซ้าย ของแค้มป์ซึ่ง จะเป็นคนล่ะด้าน กับ ฝั่ง ที่เราจะต้องเดินขึ้น Mera ในวันถัดไป
ขึ้นไปข้างบนสันเขา วิวสวยงาม มองเห็น เทือกเขาทั้งสองด้านสวยงาม
ภาพด้านตะวันตก เป็นวิวด้านตะวันตกของสันเขา เห็น ยอดเขา Khusum khang กับยอดเขา Charpate Himal ซึ่งแปลว่า ยอดเขารูป ปิรามิด หรือสามเหลี่ยมตามลักษณะ เขา ความสูง ราวๆ 6-7 พันเมตรใกล้เคียงกับ Mera แต่ทางขึ้นขึ้นยาก ยังไม่มีคนขึ้น  ใครอยากได้ชื่อขึ้นไปปีนได้เลย อิๆ

ยอดเขา ชุดที่เห็นไกลๆ คล้าย Everest ที่มองเห็นทางด้านทิศตะวันตกนี้ อีกกลุ่มนั่นถามไก๊ด์ เค้าบอกว่า เป็น Khusum khang ยอดเขาสูงอีกกลุ่ม แต่ว่า ไม่แน่ใจเหมือนกันใช่หรือป่าว เพราะว่าหลายเขา ชี้ถามไป แกตอบ Khusum Khang บ่อยๆ อิๆ

ส่วนด้านตะวันออก เป็นแนวของ Mera Area  ที่เราจะต้องขึ้นไปในวันถัดไป
วันนี้อากาศดีฟ้าเปิด เห็นยอด Mera ชัดเจน ทั้ง ส่วน ของ North Summit และ Central Summit (แต่ยอด South Summit) จะมองไม่เห็น เพราะว่าโดนบังอยู่ด้านหลัง รวมทั้งมองเห็นทางเดิน Mera La หรือ Mera Pass ที่เป็นแนวทางเดินหิมะชัดเจน ซูมเข้าไปดู ทางเดินที่พวกเรา จะต้องเดินขึ้น ประมาณ 6-7 ชม.กับระดับ ความสูงที่ไต่ขึ้นกว่า 700 เมตรกัน ( Note ฝรั่งหลายคนรวมทั้งไก๊ด์ ที่มักเดินจาก Khare ไปพัก ที่ Base Camp 1 คืน ก่อนไป High Camp มักบอกว่า ไปพักที่ Mera La กัน เนื่องจาก Base Camp นั่นตั้งอยู่ริมทางเดิน Mera La ส่วนกลางๆ นั่นเอง ส่วน High Campหลบลม อยู่หลังชะง่อนหิน ในรูปข้างบน ก่อนไต่ขึ้นสู่ยอด Summit


แถม Panorama ยอดเขาทางด้านตะวันตก และสันเขาที่เราเดินขึ้นไปชมวิวซะรูป เห็นแก่ฟ้าใสๆ:P

กลับลงมาพักผ่อน สบายๆ ในแค้มป์ วันนี้เจอกับ ฝรั่งเบลเยี่ยม ชื่อเดียวกับ ผู้ พิชิต Everst เป็นคนแรกเลย คือ Edmund อายุ 65แล้ว มากับเพื่อนๆอายุ 50 กว่าๆอีกสองคน เพิ่งลงมาจาก High Camp กำลังลงจะไป Delhi เพื่อดูแลโรงเรียน มูลนิธิ ของครอบครัว เป็นคนแก่ใจบุญ อารมณ์ดี ที่แข็งแรงอีกคน น่าปรบมือให้
ที่ระดับความสูงใกล้ๆ 5100 m นี่พวกเราหลายคนเริ่มมีอาการแพ้ความสูงกันบ้างแล้ว หลายคนเริ่มบวมปัสสาวะน้อย เบื่ออาหาร ต้องเริ่ม ให้ Diamox ช่วยกันเป็นระยะๆ
ที่แค้มป์นี้ มีบริการรับชาร์ตแบ็ต จาก Solar Cell ให้ด้วย แบตที่ผมเตรียมไป หกก้อนใช้หมดไปแล้ว สามก้อน เลยเอาไปจ้างชาร์ตหนึ่งก้อน เค้าคิด ชม.ล่ะ สองร้อยรูปี ของเรา ชาร์ตเต็ม 2 1/2 ชม. ก็ 500 rs หรือ 200 บาท แพงเหมือนกันแฮะ :P
วันนี้  แม้จะอยู่สูง อากาศเย็น แต่ฟ้าใส แดดแรง ตอนบ่าย  เลยถือโอกาสเอารองเท้า เสื้อกันหนาว และ ถุงนอนมาตากแดด บนหลังคา ที่ T Houseกัน
หลังอาหารค่ำ ก็จัดเตรียมแพ็คของ เอาเฉพาะเสื้อผ้า และอุปกรณ์ ที่จำเป็น นำขึ้นยอด สองคนรวมกันกระเป๋าเดียว ที่เหลือทิ้งไว้ที่ Khare นี้ เพื่อลดน้ำหนักให้ลูกหาบให้แบกขึ้น ให้น้อยสุด

9  เมษา 55 Trekking Day7 Khare Camp (5045) ผ่าน Base Camp (5350 m)ไป High Camp (5780 m) ระยะทาง 6กม

ตื่นเช้ามา หิมะตกตอนกลางคืนพอสมควร บริเวณรอบๆ และเต็นต์มีหิมะคลุม แต่ไม่หนาเท่าวันที่ Kothe หลังอาหารเช้า ประมาณ 8 โมงเศษ ก็เริ่มออกเดิน ไต่ระดับกัน ขี้นไปตามสันเขามุ่งสู่ Mera La ทางเดินหิมะ บนสันเขา
หลังจากออกเดิน มาได้ราวๆ หนึ่งชม.น้องผู้หญิง ในทีมอีกคน ก็ตัดสินใจที่จะไม่ไปต่อแต่ย้อนกลับไปพักรอ ที่ Khare Camp ข้างล่าง เลยเหลือ สมาชิกที่ขึ้นต่อไป High Camp รวม 13 คน เป็นชาย 10 หญิง 3

ระยะทางช่วงแรก เป็นทางเดินไต่ตามหินขึ้นไปตามสันเขาประมาณ เกือบ 2  ชม.กว่าๆ ยังใส่รองเท้าบู้ทปกติของแต่ล่ะคน แต่พอหลังจากนั้น ก็หยุดพักเปลี่ยนรองเท้า ที่ลูกหาบหาบบู้ทพื้นแข็งติด Crampon (เหล็กติดใต้พื้นรองเท้าเดินหิมะกันลื่น)ไปให้เปลี่ยนเพื่อเดินบนหิมะต่อ แต่ว่าวันนี้พื้นหิมะนุ่มไม่แข็งลื่นมากไก๊ด์เลยบอกว่า ยังไม่ต้องใช้ Crampon ก็ได้ ใส่แต่บู้ทกัน และจะใช้กันตลอดไป ส่วน Boot ส่วนตัวของทุกคน ลูกหาบก็ขนกลับไปรอให้เปลี่ยนที่ Khare ตอนลงกลับไป

ทางเดินช่วงต่อจากนั้นเป็นน้ำแข็ง และหิมะตลอดทาง จนขึ้นสู่สันเขา เข้าสู่ Mera La ซึ่งเป็น ทางเดินหิมะยาวหลายกิโล เนื่องจากรองเท้าไม่ได้ติด Crampon และทางเดินเป็นหิมะ ดังนั้น ไม้เท้า และขวานน้ำแข็ง ก็เป็นอุปกรณ์ จำเป็น ที่ช่วยให้การเดินปลอดภัยขึ้น

แม้จะอยู่สูง แต่วันนี้ แดดดีฟ้าใส ถ่ายรูปกันเพลิน อากาศไม่หนาวมากนัก Dawn Jacket ที่เตรียมมาเผื่อไว้ ก็เลยสะพายอยู่กับไหล่ไม่ได้ถูกนำออกมาใช้ตลอดทาง แต่แว่นกันแดด กรอง UV นี่ ถอดออกไม่ได้เลย แปล๊บเดียวตาพร่า ถ่ายรูป ต้องใช้ Mode Auto เดาๆเอา มองจอ LCD ไม่เห็น อิๆ

ทางเดินบน Mera La เป็นหิมะที่ปกคลุม ตลอดทาง ต้องเดินตามทางเท่านั้นเพราะว่าสองข้างทางที่เห็นหิมะคลุมกว้าง น่าลงไปเดินเล่น บางส่วนเป็นหลุมบ่อ ที่ถ้าเดินไม่ดี พลาดตกจมลงไปในหิมะได้ ฝรั่งบางกลุ่มนี่เค้า Safety เต็มที่ผูกเชือกเดินตามกันเป็นพรวน แต่ไทยถึก เราเดินกันตามสบายแต่ระวังไม่ออกนอกเส้นทางเข้าไว้

เดินไปได้ประมาณ 4 ชม.ก็เห็นทางแยกลงไป ประมาณ 100 เมตรไปยัง Base Camp แต่พวกเราไม่ได้พักที่นี่  ยังคงเดินตาม Mera La ไต่ระดับไปยัง High Camp ต่อไป เส้นทางมองไปเห็นแต่หิมะ ขาวโพลนสะอาดตาไปหมด แต่ถ้าไม่มีแว่นกรอง UV ช่วยตาบอดแน่จากแสงสะท้อนจากหิมะ อิๆ

บางจุดที่เดินผ่าน เราเห็นร่องรอยแตกของ Gracier ซึ่งบางแห่งเป็นร่องกว้างมาก บางแห่ง กว้างไม่มาก อย่างที่เห็นแต่ลึกลงไปมาก รอยใหญ่ๆ นี่ถ้าตกลงไป ก็ คงเรียบร้อย :(
จากทางเดินเราเห็นจุด Land Mark ของ High Camp เป็นโขดหินใหญ่ ซึ่งดูเหมือนไม่ไกล นัก แต่เดินจริงไต่ระดับ ขึ้นไป ราวๆ 400 กว่าเมตร กับระยะทาง ไม่กี่กิโลที่เห็น ก็ใช้เวลา ประมาณ 2 ชม. รวมแล้ว วันนี้ใช้เวลาเดินราวๆ 6 ชม. จาก Khare ถึง High Camp (ถึงเวลาประมาณ บ่ายสองกว่าๆ)
ที่ตั้ง High Camp เป็นพื้นที่แคบๆ กลางเต็นต์ได้ไม่กี่หลัง อยู่หลัง โขดหินใหญ่บังลม ที่เราเห็นได้ชัดจากด้านล่าง เป็นจุดสังเกตุ
ด้านซ้ายมือ มองไปเห็นกลุ่มยอดเขาสูง ที่สูงเกิน กว่า 8000เมตรหลาย ยอด ที่ภาษาเนปาลเรียกรวมกันว่า Mahalangur Range   ซึ่งมีทั้งหมด 5 ยอดคือ 1 Cho Ou , 2 East Border Kanchan Janga , 3 Makalu ,4 Lhotse ,  และ 5 Everest แต่ว่าวันนี้หมอกเยอะ ฟ้าไม่เปิดเลยเห็นยอดได้ไม่ชัด
พอขึ้นถึงที่นี่ ซึ่งมีระดับความสูงเกือบๆ 5800 อากาศเริ่มเบาบาง เหนื่อยง่าย ทั้งตัวเองและ Buddy คู่เต็นต์ เริ่ม รู้สึกมึนหัวคลื่นไส้ และอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เลยพักผ่อนก่อน
สี่โมงเย็น ลูกหาบเริ่มเสริฟอาหารให้ ก่อนนอนพัก แต่รู้สึกไม่อยากอาหารเลยผ่าน กินยาแล้วนอนพักผ่อนเลย เตรียมตัวตื่น ตีสอง เพื่อเตรียมขึ้นยอด ตอนตีสาม  
การวางแผนขึ้นยอด ไก๊ด์ได้บอกกับเราไว้ว่า ถ้าหลัง 10 โมงเช้าไปแล้วบนยอดSummit อาจจะมีลมแรงมาก อันตราย ดังนั้นตกลงกันไว้ว่า จะออกเดินขี้นยอดกันตอนตีสาม และถ้าถึง 10 น.แล้ว ยังขึ้นยอดไม่ได้ไปถึงไหน ก็แค่นั้นจะไม่ไปต่อ จะย้อนกลับกันทันที เพื่อไม่ให้เหนื่อยและอันตรายเกินไป

10 เมษา 55 Trekking Day 8 " Summit Day" High Camp (5780 m) - Central Summit (6461 m) - High Camp - Khare Camp ระยะทาง 16 km

ตีสอง ตื่นขึ้นมาอากาศค่อนข้างเย็น หิมะตก อาการต่างๆ ของตัวเองหายเกือบปกติ แต่ยังไม่ค่อยหิว ทั้งที่กินมื้อสุดท้ายตั้งแต่เช้าก่อนเดินขึ้นมาจาก Khare ทางลูกหาบเตรียมอาหารเผื่อให้รองท้องก่อนขึ้นยอด แต่ว่า ไม่ค่อยนึกอยากอาหารเท่าไร เลยขอให้ทางครัวเค้าต้มมาม่าให้ถ้วยนึง
แต่พอเตรียมตัว ใส่ Boot และ Crampon พร้อมและ เตรียม Daypack ติดตัวเสร็จ เริ่มออกเดิน ดันลืมกินซะนี่ เลยออกเดินไปทั้งที่ไม่มีอะไรรองท้องเลยเกือบ 24 ชม.
ก่อนออกเดินเช็คสภาพกันแล้ว น้องผู้หญิงหนึ่งคน เลือกที่จะไม่ขึ้นต่อ ส่วนบัดดี้ ของตัวเอง ยังคลื่นไส้รู้สึกไม่สบาย ก็เลยตัดสินใจไม่ขึ้นยอดเช่นกัน คงเหลือ คนขึ้นยอดต่อ 11 คน เป็นชาย 9 หญิง 2
เริ่มออกเดิน กันตอนประมาณตีสาม โดยใช้เชือกโยงติดกันเป็นสายพร้อมใช้ Carabina คล้องล้อคติดเอวไว้กันลื่นตกเขาและหิมะ
ระหว่างทางเดินหิมะตกตลอด แต่ว่าโชคดีลมไม่แรงนักอากาศหนาวพอสมควร อากาศเบาบาง ทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ
หลังจากเดินไปได้ ราวๆ ชม.กว่าๆ  น้องผู้ชาย หนึ่งคน และน้องผู้หญิงหนึ่งคน ก็ตัดสินใจ ย้อนกลับลงไปแค้มป์ ไม่ไปต่อ คงเหลือ ลุยขึ้นยอดกันต่อไปอีก 9 คน เป็นชาย 8 และ หญิง 1

หลังจากเดินต่อไป ได้สามชม.นิดๆ ถึงตอนนั้น 6 โมงเช้านิดๆ เริ่มเห็นแสงสว่างๆ รางๆ  ระดับความสูง อยู่ที่ ประมาณ เกือบๆ 6200 m ผมเองเริ่มรู้สึกเหนื่อยพอประมาณ และเร่งฝีเท้าไม่ค่อยขึ้น กับอากาศเบาบางบนนั้น และ ต้องถ่วงน้ำหนักด้วยรองเท้าและ แคมพ่อนอีกหลายกิโล และรู้สึกว่าทั้งกลุ่มไปได้ช้าลง กลัวว่ากลุ่มจะไปขึ้นยอดไม่ทันตอน 10 น. เลยถาม DB หัวหน้าไก๊ด์เรา ว่าจากจุดนี้ถึง ฐาน Summit ที่เราจะไปไต่เชือก ใช้เวลาอีกนานประมาณแค่ไหน เค้าตอบว่า ถ้าstep ขนาดนี้ อีกราวๆ 6 ชม.
ซึ่งทำให้คิดว่า ถ้างั้นมันไม่ทันแน่ เราเร่งกว่านี้ ก็คงไม่ได้ จะกลายเป็นตัวถ่วงกลุ่มให้ไปไม่ถึง กันทั้งกลุ่ม ถ้าไปต่อ ก็คงขึ้นยอดไม่ทัน และ ถ้าขึ้นยอดไม่ทัน เดินต่อไปอีก สามชม. ไต่ระดับขึ้นไปอีก 100-200 เมตร ก็ไม่ต่างอะไรมากนัก พอดีป๋าคมรัฐหัวหน้าทีม ถามว่า ใครตัดสินใจจะกลับลงไป อีกมั้ย หลังจากตกลงกัน สุดท้ายเลยตัดสินใจกลับลงมาสามคน ผม ป๋าเสริฐ และป๋าคมรัฐ
ส่วนอีกสี่หนุ่มขาแรง หมอสุ่น หมอโอ หมออาร์เธอร์ และคุณวินัย ที่เราคิดว่า เค้าน่าจะทำเวลาได้ดี อาจจะไปขึ้นยอดได้ทันแยกไปกับไกด์ สามคนกับเชือกเส้นนึง
ส่วน คุณหมออิม ทันตแพทย์สาว คนเดียวที่เหลือของทีม กับ คุณ TJ ซึ่ง Speed จะช้ากว่าสี่คนแรก แยกไปเชือกอีกเส้น กับ ไกด์อีกสองคน ตามๆกันไป แบบขอลุยถึงไหนถึงกัน
ส่วนตัวเอง 3 คน ที่ลงมา ก็ขอติดกลุ่ม หนุ่มออสเตรเลีย กับ ไก๊ด์เค้าลากลงมา กับเชือกสายเดียวกันจากจุดนั้นถึงแค้มป์ ในเวลา ชม.นิดๆๆ ถึงแค้มป์ก็เข้านอนพัก

หลังจากนอนพักไปซักพัก ราวๆ 10 โมงเช้า ได้ยินเสียงหมออาร์เธอร์ กลับลงมาแค้มป์แล้ว แอบรู้สึกแปลกใจว่าทำไมกลับมาได้เร็ว ออกมาซักถามปรากฏว่า ชุด 4 หนุ่มไก๊ด์พาเดินไป แล้ว Crampon คุณวินัยมีปัญหา ต้องพักซ่อม แล้วเลยไป แค่ South Summit ซึ่ง อยู่ใกล้หน่อย แล้วลงกลับมา โดยดูจากเวลาที่กล้อง พบว่า กลุ่มนี้ขึ้นไปถึง South Summit ประมาณ 7:45 น หรือ หนึ่งชม. สี่สิบห้านาที หลังจากแยกกับผมไปเท่านั้น (ทั้งที่เสียเวลาไปกับการซ๋อมแครมพ่อน ด้วยอีกต่างหาก) ไม่ใช่ 6 ชม.ตามที่เค้าว่าไว้ ทำให้แอบนึกเสียดายนิดๆ ที่ว่าถ้าระยะมันแค่นั้นเราไปสบายๆ 2 ชม.นิดๆ ก็คงทันเวลาสบายๆ เลยพลาดการขึ้น Summit นี้ไปอย่างน่าเสียดาย(แต่ไม่เสียใจหรอก ) เพราะว่า วิวสวยๆ และสิ่งที่ได้รับ มา มันเกินคุ้ม แล้ว
ส่วน กลุ่ม คุณหมออิม กับ คุณ TJ  อีก 2 คนที่แยกไปกับไก๊ด์ อีกสองคน กลุ่มแรก ขาแรงที่ลงมาก่อน คิดว่า ไก๊ด์พาไปขึ้น North Summit ต่กลับเป็นว่า BD ไก๊ด์น่ารักคนขยันพา เดินไป จนถึง ยอดสูงสุด Central summit ตอน 9 โมงๆกว่า แล้วรอคิว อาศัยเชือกของทีมอีหร่านอีกกลุ่มที่ขึ้นยอดพร้อมกัน จนขึ้นยอดนี้ได้สำเร็จทั้ง 2 คน และลงกลับมาถึงแค้มป์ตอนช่วงบ่าย หลังจากพวกเรา ลงจาก High Camp ล่วงหน้าลงมา Khare ก่อนแล้ว
ผมลงจาก Khare ตอน 10:30 เดินลงมาถึง Khare ตอนบ่ายสองกว่าๆ แล้วเข้าที่พัก  ส่วนเพื่อนๆ ก็ทะยอยตามกันลงมา วันนี้ พักที่ Khare อีกคืน

สรุป รอบนี้ จาก 18 คนของเรา 11 ชาย 7 หญิง ขึ้นยอด  South Summitได้ 4 คน คือ หมอสุ่น และ หมอโอ หมออาร์เธอร์ และคุณวินัย และ ขึ้น Central Summit ได้ 2 คน คือคุณ TJ และ หมออิม ทันตแพทย์หญิง ที่อายุน้อยสุดของทีม ซึ่งกลายเป็นหญิงไทยคนแรกที่ขึ้น Central Mera ได้สำเร็จ

11  เมษา 55 Trekking Day 9 Khare (5045) - Tangnak (4356m ) - Kothe (3691 m ) ระยะทาง 16 กม.

ออกจาก Khare วันนี้เราวางแผนเดินรวบระยะทาง สองแค้มป์ในขามาไว้วันเดียว โดยจะข้าม Tangnak ไปพักที่ Kothe เริ่มออกเดินกันหลังอาหารเช้า ราวๆ 8 โมงเศษ ทางเดินช่วงแรก เป็นการไต่ลงจากไหล่เขาลงสู่ที่ราบ

ทางเดินช่วงต้นจะเป็นหิมะปกคลุมหิน พอไต่สันเขาลงมากันประมาณ 1 ชม. พักถ่ายรูป และรอกลุ่มหลัง ที่ตามมา

พักถ่ายรูปเล่นกันราวๆ ครึ่งชม. บัดดี้ผม กับไก๊ด์ปิดท้ายก็ตามมาถึง อาการไม่ค่อยดีนักปวดท้อง และ เดินแล้วเจ็บท้อง เลยจัดยาให้กินแล้ว ให้ Domy Sherpa ซึ่งตัวโตและ เคยขึ้น Everest มาแล้ว สามครั้ง ช่วยเป็นพี่เลี้ยงประกบตามลงมาเป็นเพื่อนๆ ตลอดทาง

เนื่องจากเป็นทางลงเขา และทางเดินไม่ลื่นมากนัก เราเดินกันแค่ ประมาณ สองชม.นิดๆ ก็มาถึง Tangnak  แต่ไม่ได้แวะเลยผ่านต่อไป  Kotheกันเลย

จาก Thangnak ไป Kothe ขากลับนี่ พวกเราขอให้ไก๊ด์พาเดินลงมาทางเลียบน้ำ ด้านล่างที่ผมหลงมาตอนขามา ทำให้เดินได้ไวอีกเกือบๆชม.

วันนี้ฝนตกเกือบตลอดทางแม้ไม่แรงมากนัก แต่ก็พอให้ฉ่ำๆเปียกๆ กันทั่วหน้า แต่ฟ้าปิดเกือบตลอดภาพถ่ายเลย กลายเป็น สี ซาเปีย กันไปหมด อิๆ

พวกเรามาถึง Kothe กันแค่ราวๆ บ่ายสองกว่าๆ ก็แวะทานอาหารกลางวันกัน ที่นี่ และเนื่องจากเดินเหนื่อยกันมาหลายวัน และฝนตกสนามเปียก ทางทีมไม่อยากกางเต็นต์ ก็เลยเลือกเช่า ห้องพักรวมใน T House แทนการกางเต็นต์กัน

หลังจากเก็บของเข้าที่กันเสร็จ ก็มานั่งพักกัน พอราวๆบ่ายๆสาม ทาง Domy โทรมาบอก กับ DB หัวหน้าไก๊ด์ว่า Buddy ผม ปวดท้องมากเดินไม่ไหวยังคงอยู่ที่ Tangnak (ห่างจากที่เราอยู่อีกราวๆ 3-4 ชม.) ทางป๋าคมรัฐ เลยจัดลูกหาบ ย้อนกลับไป 2 คนกะว่าอาจจะช่วยแบกกลับมา แต่ว่า เอาจริงพอได้พักซักครู่  ได้ทานอาหารรองท้าองเล็กน้อย Buddy ผม ก็ค่อยชั่วและเดินต่อ มาเองได้ กลับมาถึงแค้มป์ราวๆ หกโมงกว่าๆใกล้ทุ่ม

ตอนเย็นฝนเริ่มหยุด และ ฟ้าเริ่มเปิด บ้างชั่วคราว แต่ก็ ทำให้พอมองเห็นยอด Noth Mera และ Central Mera จากระยะไกล ได้จาก Kothe นี่เลย
ที่Kothe รอบนี้ เราเจอกับ Gerrard หนุ่ม วิศวกรจารจร ชาวออสเตรเลีย(เสื้อแดงภาพกลางล่าง) ที่ลางานมา 2 เดือน ฉายเดี่ยวมาปีนเขาเนปาลได้เป็นเพื่อนร่วมห้องอาหาร สังสรรค์กันกับ และพบกับ คุณ T Yamashita (เสื้อเหลืองมุมขวาล่าง) ชาวญี่ปุ่นที่เคย ขึ้น Everest มาแล้วสามรอบ กำลังเตรียมขึ้นรอบสี่ และเพิ่งขึ้นไปกางเต๊นต์นอน บน Mera Summit ลงมา (สุดยอดคนจริงๆ )
วันนี้ลูกหาบต้มน้ำร้อนให้อาบคนล่ะกระแป๋งเช่นเดิมได้อาบน้ำ เป็นครั้งแรก หลังจากปีนเขามารู้สึกดี ทีเดียว
วันนี้มื้อค่ำ ทางลูกหาบ ทำพิซซ่า มาเซอร์ไพร๊ซ์ เบิร์ธเดย์ป๋าเสริฐ กัน ในระหว่าง Dinnner ด้วย :P
ถึงวันนี้อาการบวม จากแพ้ความสูงของพวกเราหลายๆคนเริ่มลดลงไปกันมากแล้ว หลายคนเริ่มมีอาการไอ และไข้หวัด ผสมจาก ร่างกายที่อ่อนล้าลง และ การเปลี่ยนอุณหภูมิ และ ความกดอากาศ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แต่ ก็พอไปกันไหวทุกคน โดยอาศัยยาช่วยกันบ้าง เช่นเคย :)

12 เมษา 55 Trekking Day 10 Kothe ( 3691 m)- Thuli Kharkar (4300 m) ระยะทาง 8 km.

เช้าวันนี้อากาศดีพอใช้ แต่ฟ้าไม่ใสมากนัก เตรียมออกจาก Kothe เตรียมตัวเดินทางต่อไปยัง Thuli Khare
ตอนเช้ามี ฮอ มารับนักท่องเที่ยว และคนพื้นเมืองอุ้มเด็ก ซึ่งคาดว่า น่าจะเป็นคนป่วยบินออกไป ออกเดินกัน 8 โมงกว่าๆ สอบถามได้ว่า การเรียกฮอ มารับ แถวนี้ จาก Lukla ค่า บริการ 2500 US แต่ถ้าอากาศไม่ดี ก็เพิ่มเป็น 3000 US สำหรับนักท่องเที่ยว ก็ไม่แพงนัก แต่สำหรับคนพื้นเมืองก็แพงมากสำหรับเค้าเหมือนกัน เลยคิดว่า อาจจะเป็นนักท่องเที่ยวเห็นเด็กป่วยเลยช่วย เรียก ฮอมาให้ แต่ก็มีนักท่องเที่ยวบางคนขึ้นมา แล้วไปต่อไม่ไหวเรียก ฮอ มารับ เหมือนกัน แต่ว่าถ้าระดับสูงมากเกินไป ฮอ ก็ลงไม่ได้เช่นกัน ต้องนั่งม้า หรือหาม กันลงมา

ออกจากแค้มป์ ก็เดินไปตามไหล่เขา ผ่านธารน้ำ ที่มีก้อนหิน และมอสขึ้นปกคลุมคล้ายๆ เขาสูงบ้านเรา แต่สนคนล่ะพันธุ์ กัน ทางเดินช่วงต้นนี่ไปกันสบายๆ ไม่ยากนัก เพื่อนๆส่วนใหญ่ฟื้นตัวกันดี เริ่มเดินลุยกันได้ตาม steb ตัวเองกันแล้ว

ตามทางเดิน หลายจุด เป็นทางชัน และไหล่เขา ได้มีการปรับทางด้วยการทำบันไดหิน และ ทางเดินให้เดินได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าเวลาเจอหิมะทางที่เห็นง่ายๆนี่ก็จะไม่ง่ายอีกแล้ว :P

เส้นทางเดิช่วงแรกยังค่อนข้างต่ำไม่สูงมากนัก ยังพบมี ดอกไม้และต้นไม้สดให้เห็นตลอดทาง ทางเดินยังเป็นหินไล่ตามไหล่เขา มีน้ำแข็งในบางจุด แต่ถือว่าเดินไม่ยากมากนัก แต่เป็นการไต่ระดับขึ้น ทำให้เหนื่อยกันพอสมควร มาพักทานน้ำกันที่ Doma Lodge ตอนสิบโมงกว่าๆ

หลังพวกทานน้ำ ที่ Doma Lodge แล้วเดินไต่ระดับขึ้นไปต่ออีก ประมาณ ชม. เดียว ก็มาพักมาทานมื้อกลางวันที่ Thashi Dale กลางวันมื้อนี้เป็น มักกะโรนีผัด ง่ายๆ กับซุป พร้อม เครื่องดื่ม Tank ร้อนๆ เช่นเคย ที่นี่ หลายคนประทับใจ ส้วม ในมุมล่างขวา ที่เดินลุยหิมะออกไป ทางหน้าผา ด้านหลังเปิด ชมวิวกว้าง กลิ่นสะอาดดี :P

หลังอาหารเที่ยงเดินต่อไปทางช่วงท้ายนี่ จะไต่ระดับสูง ทางเริ่มเป็นหิมะ ลื่น และเดินยากขึ้น บางช่วง ต้องผูกเชือกช่วยดึง และทรงตัวกันขึ้นไป แต่ก็ยังพอไหว หิมะยังมีโปรยบางในหมอก แต่ก็ยังอุตส่าห์หยุดถ่ายรูปกันบ้าง :P

เดินฝ่าหิมะ ฝ่าลมหนาวไต่ระดับ กันมาเรื่อยๆ จนเข้าถึงที่พักราวๆ เกือบสี่โมง อากาศเย็นลง มีหิมะตกบ้าง อากาศเย็นจนหิมะเกาะหน้าตา ขาวเป็นเกล็ดน้ำแข็งเลย อิๆๆๆๆ
วันนี้เป็นอีกวันที่ งดไม่กางเต็นต์ แต่เลือกพัก T House ซึ่งเป็นห้องห้องล่ะสองคน ขนาดพอๆกับเคบิลในเรือดำน้ำเล็กๆ ไม่ต้องไปถามหาดาว หาแค่ความอุ่นก็พอแล้ว ที่นี่สะดวกสบายดีเหมือนกัน หลังจากลำบากมาหลายวัน ดูหน้าประชาสัมพันธ์ ของที่นี่สิ น่ารักแก้มใสเชียว อิๆ ห้องอาหาร ก็อัดฉีดให้ ตั้งฮีทเตอร์ให้อุ่น ได้พักกันสบายใจ ช่วงมื้อค่ำก่อนแยกย้ายกันเข้าห้อง
อาการเพื่อนๆต่างทุกคนดีขึ้น ยกเว้นผิวเกรียม ปากแห้งแตก ไอกันประปราย แต่ทุกคนยังเดินไหวสบายๆ ไม่ต้องหามไม่ต้องขี่ม้ากัน :P

 

13  เมษา 55 Trekking Day 11 วันสุดท้ายของการ Trek จาก Thuli Kharkar (4300 m) -Zartwa LA(4600 m) - Chutanga - Lukla (2850 m) 14 km

วันสุดท้ายของการเดินลงจากเขาเป็นอีกวันที่เรารวบเดินทางจาก ขามาสองวันเป็นวันเดียว โดยจะจาก Thulli เราจะผ่าน Zartwa La และ Chutanga ไป ถึง Lukla เลยทีเดียว เส้นทางค่อนข้างยาว และเดินยาก และต้องไต่สันเขาสูง ทางเป็นหิมะ ที่ตกหนักลงมาก่อนหน้า จนขาวโพลนไปหมด
หลังอาหารเช้าพวกเรามองหน้ากัน หลายคนหน้าไหม้เกรียมกันเป็นแถว มีหมออิมหน้าใสปิ๊ง แทบไม่มีริ้วรอย เลยถามหาครีมกันแดดหมออิมกันใช้ญี่ห้อไร เอามาดูกันหน่อย ใครสนใจใช้ตามได้ รูปข้างบนนั่นแหละ
วันนี้ ต้องเดินไกล พวกเราออกเดินเช้ากว่าปกติ คือประมาณ 7:30 น. เตรียมอุปกรณ์กันพร้อม แวะไปถ่ายรูปกับหิน ก้อนเก่ง ของที่นี่ แล้วก็อำลาหินเรือยักษ์ ไททานิค กลับบ้านกันซักที :P

ช่วงแรกเริ่มออกเดินก็ต้องไต่หน้าผาขึ้นไป ยัง Zartwa La ออกกำลังกันแต่เช้าเลย แล้ว แม้ทางจะลำบาก แต่ฟ้าสวยใส ถ่ายรูปกันหายเหนื่อย

หลังจากเหนื่อยไต่กัน จนมาถึง สันเขาสูง Zartwa La ฟ้าดินก็เป็นใจ ตอบแทนความเหนื่อย ฟ้าเปิดใสปิ๊ง เห็นวิวรอบด้านหิมะหยุดตก แสงแดดดี เลยหยุดถ่ายรูป ชุดใหญ่กันทั้งทีม

ระหว่างที่ถ่ายๆรูปไป นึกขึ้นได้ นี่มันวันสงกรานต์ นี่หว่า ไม่มีน้ำ ก็ควักเอาหิมะนั่นแหละ สาดกันเล่นซะหน่อย

วิวบนสันเขา สวยทุกด้าน หลังจากถ่ายรูป และพักเหนื่อยกันซักพัก ก็เริ่ม เตรียมออกเดินทางไต่หน้าผา ลงสู่ที่ต่ำด้านล่างกันต่อ
ปล.มุมบนขวาที่ถือขวาน นั่นหมออิม ทันตแพทย์หญิง จากเมืองใต้ หญิงไทยคนแรกที่พิชิต ยอด Central Mera ได้สำเร็จ

ถ่ายรูป และ รื่นเริงวันสงกรานต์กันเสร็จ คราวนี้ นรกรออยู่เบื้องหน้า ทางลงดิ่งชันลงจาก Zartwa La ปกคลุมด้วยหิมะ ที่ลื่นและไม่แน่น หลายคนไถลลื่นกันลงมา แต่ก็ต้องระวังมันโค้งโยนออกจากหน้าผา เห็นเทคนิครองเท้ากันลื่นของลูกหาบที่เอากระสอบมาพันแล้วทึ่ง เลย แค่นี้เค้าก็เดินกันได้แล้ว แต่เราสะ ล้มลุกคลุกคลาน อิๆ

บางช่วงเป็นทางลงหิมะลื่น มากต้องใช้เชือก และขวานน้ำแข็งช่วยทำทางให้ ไก๊ด์ต้องคอยช่วยประกบ ผมเอง หลังจากล้า โรยตัวจากเชือก เจอหิมะลื่นๆ รองเท้าไม่มี Crampon กลายเป็นเดินไม่เป็นเลย ไก๊ด์ต้องช่วยประครองลงมาตลอด กว่าจะลงมาถึง T House นี่หมดแรงเลยเหมือนกัน ต้องเติมพลังด้วย Coke ที่เย็นโดยไม่ต้องแช่ ซัก 500 CC อิๆ

แต่พอลงต่ำ พ้นทางช่วงที่มีหิมะ เหลือแต่หิน เมื่อนั้นแหละถึงเวลาของเรามั่งแล้ว คว้าเป้ใส่หลัง แล้ว เริ่มวิ่งกระโดดไต่ตามยอดหินไล่ตาม และแซงเพื่อนๆ และลูกหาบ ไปเรื่อยๆ ตามสไตล์คนชอบลงเขามากกว่าขึ้น อิๆ

วิ่งๆเดินคนเดียว มาตลอดประมาณบ่ายโมง ก็มาถึง Chutanga ทิ้งกลุ่มหลังมาไกล แต่ก็ยังไม่เห็นกลุ่มหน้า ถามคนพื้นเมืองที่นั่นก็พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง
ก็เลยเดินๆ วิ่งๆคนเดียว ต่อไป Lukla ถ่ายรูปถ่ายวีดีโอดอกไม้และส้นทางสวยๆไปเรื่อยๆ

แถวนี้ ดอก bul bul ยังขึ้นตามกอหินให้เห็นทั่วไป และมี Rododendon ทั้ง สีชมพู และแดง บานเต็มเขา เด๋วว่างๆจะตัดต่อ วีดีโอที่ภาพสวยๆกว่ามาฝากครับ ส่วนมุมล่างขวา ดอกสีขาวเป็นพวงคล้ายโคมคว่ำ นั่นไม่รู้ดอกไรแฮะ แต่สวยดีเวลาบานเต็มต้นเยอะๆ

เดินมาเรื่อยๆคนเดียว จนประมาณ บ่ายสาม ก็ถึง Lukla ก่อนเข้าที่พัก เดินสวนกับฝูง Yak ขนส่งหลักกำลังลำเลียง ของมาส่ง Air Port

เข้ามาถึง ที่พักที่ Lukla ปรากฏว่า กลุ่มหน้าขาแรง วิ่งๆเดินๆลงมาถึงกันก่อนแล้ว นั่งกินกาแฟรอกระเป๋า เพื่ออาบน้ำแต่งตัวกัน
แต่กว่ากระเป๋าสัมภาระ ทีลูกหาบแบกมาจะมาถึงได้อาบน้ำก็ เกือบหกโมงเย็น วันนี้ได้ห้องพักสบายได้อาบน้ำอุ่นอีกครั้ง(ค่าอาบน้ำ 300 Rs ต่อคนเหมือนเดิม อิๆ)
มื้อค่ำ เรามีปาร์ตี้เล็กๆ กันที่ Sunrise Cafe ที่เราพัก พร้อมทั้งมีเค็ก ปีใหม่(เนปาลนับปีใหม่ ในวันสงกรานต์เหมือนไทยเหมือนกัน) พร้อมกับแจกทิปลูกหาบ และไก๊ด์เป็นสินน้ำใจ ก่อนแยกย้ายกันไปนอน
หลังจากเจออากาศเย็นบนเขา กันมาหลายวัน แม้จะมีรองเท้าและอุปกรณ์ป้องกันความหนาวอย่างดี แต่เกือบทุกคนที่ลงมาถึงด้านล่าง จะรู้สึกชาปลายมือปลายนิ้วเท้า กันเกือบทุกคน (อาการแบบนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นกันต่อไปอีกราวๆ 2-4 สัปดาห์กว่าจะกลับมาปกติ)

14  เมษา 55 Lukla - KTM ช้อปปิ้งต่อ

เช้าวันนี้ พวกเรา เตรียมออกจาก Lukla ไปยัง KTM ถ้าโชคดีไฟล์ท์ ที่เราเลื่อนมาหนึ่งวัน บินได้ จะได้ไม่ต้องตกค้างรออยู่ที่ Lukla
ต้องอำลาเตียงอุ่นๆกับ ที่นอนและผ้านวมนุ่มๆที่ได้นอนคืนนี้ ห้องที่นอนรอบนี้ ที่เห็น นี่คือ Super Deluxe ของที่นี่แล้ว ห้องกว้างหน่อยสองเตียงคนล่ะเตียงใหญ่ๆ ห้องน้ำมีเครื่องทำน้ำร้อนด้วยแก๊ซ แต่ต้องจ่ายตังค์ ค่าอาบน้ำก่อน ถึงจะเปิดแก๊ซให้ :P และฝาชักโครกมีเบาะรองกันเย็นก้น อิๆ หลังมื้อเช้าพวกลูกหาบ มาคอยขนของไปส่งแอร์พอร์ต และบางคน ก็มายืนรอส่งพวกเรากลับ

เดินมาแอร์พอร์ตแค่ไม่กี่ร้อยเมตร มุมบนที่เห็นเป็นแท่งกลมๆคนมาเนปาล หรือทิเบต จะคุ้นตา กับแท่งแบบนี้ ข้างในใส่บทสวดมนต์ไว้ คนเนปาล หรือทิเบต เวลาทำบุญเดินผ่านจะหมุนแท่งเหล่านี้ (หรือมีแบบเป็นมือแกว่ง) ครบรอบ แทนการสวดหนึ่งจบ เป็นเทคนิคสวดมนต์ให้ได้มากๆ แบบทางลัด:)
มุมล่างขวา เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว ชาวเกาหลีกลุ่มใหญ่ ยี่สิบกว่าคน เพิ่งลงเครื่องมากำลังจะ Trekking ไป ทาง นัมเช

เข้าไปในล้อบบี้ ของ Gate ระหว่างรอเครื่องออก ข้างในมีร้านขายหนังสือ และ โปสเตอร์แอบเห็นรูป Sir Edmund Hillary ตอนพิชิต Eveste ครั้งแรกเมื่อ 29 พค. 1953 ส่วนที่กระจกโดนแปะสติคเกอร์โฆษณาสารพัดเต็มไปหมด ระหว่างรอก็ถ่ายรูปเครื่องบินเล่น ไปเรื่อยๆ จนในที่สุด Air Agni ที่เรารอคอย ก็บินมาลงได้ ได้บินกลับ KTM ไม่ต้องรอกันและรอบนี้ พวกเราทั้ง 14 คนที่เหลือได้กลับพร้อมกันหมดใน Flight เดียว พร้อม DB หัวหน้าไก๊ด์เราด้วย รวม 15 คนเต็มลำพอดี ทำให้ผมต้องเสียสละ ไปนั่งเก้าอี้สุดท้ายข้าง Rosny Air Hostage ชาวเนปาล
ระหว่างบิน แอบสอบถามข้อมูล การทำงานของเค้าได้ความว่า แอร์สายการบินนี้ บินวันล่ะ 10 เที่ยว อาทิตย์ล่ะ 6 วัน เงินเดือน ประมาณ 3 หมื่นรูปี( 12000 บาท) ถ้ารวมเบี้ยเลี้ยงบินทั้งหมด ก็จะประมาณ 75000 รูปี หรือ ราวๆ 3 หมื่น เมื่อเทียบกับอันตรายจากเส้นทางบินแล้ว ต้องถือว่า ไม่มากนักแม้ค่าครองชีพ ในเนปาล จะไม่สูงนักก็ตาม

ระหว่างเส้นทางบิน ขากลับ ตอนแรกบ่นกันว่า ค่าตั๋ว 3300 บาท สำหรับระยะทาง 20 นาทีกว่าๆนี่แพงนะ แต่เจอเครื่องตกหลุมอากาศ บินสั่นสะท้านตลอดทาง ทำให้ต้องตะโกนบอกกันว่า เปลี่ยนใจแล้ว 3300 บาท นี่ถูกเกินไป อิๆ
มองลงไปด้านล่าง จะเห็นว่า พื้นที่เนปาลเกือบทั้งหมดเป็นภูเขา ถนนส่วนใหญ่ไม่ลาดยางมี บ้านพักอาศัย และการทำเกษตร แบบขั้นบันไดตามไหล่เขาทั่วไป กลับมาถึง KTM รถบริษัทก็มารับเรา ไปส่งรร. Tashi ที่ Thamel เช่นเดิม แล้ว ก็ออกตะเวณช้อปปิ้ง กันต่อ ตามเคย ออกไปเดินรอบนี้ได้เสื้อกันหนาวขอทาน ข้างในบุผ้า ฟรีซ กับ Messenger bag ขอทาน เข้าชุดกันมาคู่นึง
มื้อเที่ยงเราฝากท้องกันที่ร้าน แฮมเบอร์เก้อร์ มื้อนี้อร่อยราคาไม่แพงด้วย ขนมปังกรอบนอกนุ่มใน รสดี เนื้อก็อร่อย ชิ้นล่ะ ประมาณ 150 รูปี หรือ แค่ 60 บาทเอง

ส่วนมื้อค่ำ เราไปทาน steak จานร้อน ที่อร่อย และราคาไม่แพงกัน(จานล่ะประมาณ 250 รูปี หรือ 100 บาท และ ชิม Tibetan Hot  Beer คล้ายๆอุ แก้วล่ะ 100 Rs ที่เห็นเค้าสั่งกันเยอะ แต่รสชาติ แฮ่ะๆ ๆ หลังมื้ออาหาร เค้าเสริฟไม้จิ้มฟันพร้อมข้าว ที่มีกลิ่นคล้ายๆมิ้นต์ ให้เคี้ยวดับกลิ่นปาก
ส่วนที่คาใจยังไม่ได้กินกัน ก็คือ หม้อไฟหม้อใหญ่ ที่เห็นฝรั่งโต๊ะข้างๆเค้าสั่งกันในรูปสุดท้าย ที่แอบซูมมา สั่งมาลองเหมือนกัน แต่เค้าบอกต้องสั่งจองล่วงหน้าสองชม. วันถัดมา มีงานเลี้ยง กะว่าจะกลับมากินต่อตอนสามทุ่ม จองไว้อีก ปรากฏว่าร้านเค้าปิดสามทุ่ม ก็เลยอดเช่นกัน จนทุกวันนี้ยังคาใจไม่ได้ชิมกันเลย :(

15 เมษา 55 พักผ่อนชมวัด Swayambhunath ( สเวยัมภูนาท ) และ เมือง Bhaktapur ( ภัคตาปูร์)

วันนี้ เนื่องจากเราเดินทางมาจาก Lukla ได้โดยไม่ต้องรอเครื่อง ทำให้เป็นวันว่างอีกวันที่ KTM ของพวกเรา
ทางเนรู แห่งบริษัทจัด Trekking ให้เรา เลยจัด รถทัวร์เล็ก และไก๊ด์พาเราเที่ยววัน ช่วงเช้า แวะ พาพวกเราไปเที่ยววัดสยามภูวนาท ในเมืองกาฐมาณฑุ วัดนี้เป็นวัดพุทธ นิกายมหาญาน แต่ก็มีรูปปั้นและศิลปะของฮินดู ปนอยู่บ้าง จุดเด่นของ วัดนี้ ก็คือ มหาเจดีย์ ที่มีดวงตาพระพุทธเจ้า ที่เราจะเห็นเป็นสัญญลักษณ์ ทั่วเนปาล และเป็นของที่ระลึกด้วย วัดนี้มีลิงมาก บางคนเลยเรียกมันว่าวัดลิง ตั้งอยู่บนเนินเขา มองลงมาเห็นวิวเมืองหนาแน่นทีเดียว

วัดนี้จะมีของที่ระลึกขาย หลายอย่างทั้งพวก งานทองเหลืองหล่อ และไม้แกะสลัก และที่นิยมกันอีกอย่างคือภาพวาดสีน้ำมัน หรือสีโป้สเตอร์รูปภูเขา และความเป็นอยู่ของชนพื้นเมือง ซึ่งตรงคอนเซ้ป ที่ตอนนี้ไปไหนจะหารูปแทน เมืองนั้นติดมือกลับมาเป็นที่ระลึก เลยเลือกได้ภาพสี Acrylic ภาพนี้ มา ขนาด 120 X 60 cm ราคา ก็ต่อได้ จาก 100 US มาเหลือ 50 US ก็ไม่แพงนัก(แต่ คงมาแพงค่ากรอบมากกว่าค่ารูป ทีหลัง :)
อ้อ เห็นธงราวในภาพ จะนึกถึง ธงราว ที่เห็นประดับตามสถานที่ต่างๆ ทั้งวัด และภูเขา รวมทั้งตามสันเขาเป็นสีสรร ต่างๆ ตอนแรกคิด ว่าใช้สีสวยๆเฉยๆ แต่มาทราบภายหลังว่า มันจะมีห้าสี แทนธาตุทั้งห้า คือ

สีเหลืองแทน Earth ธาตุดิน
สีเขียว แทน spirit หรือ จิตวิญญาณ
สีแดง แทน Fire (ธาตุไฟ)
สีขาว แทน Wind (ธาตุลม)
สีน้ำเงิน แทน Water (ธาตุน้ำ)

ช่วงเที่ยง นั่งรถออกจากเ KTM ไป ภัคตาปูร์ ซึ่งห่างออกไป ราวๆ เกือบๆ 30 กม. ค่าผ่านประตูสำหรับชาวต่างชาติ ค่อนข้างแพง คือ15 US
แต่ ถ้าคน เนปาล เอง หรือ ประชาชน ที่อยู่ในกลุ่มประเทศ SAARC (  อินเดีย ,ปากี, บังคลาเทศ ,ศรีลังกา ,อัฟกานีสถาน และ มัลดิฟ )รวมทั้งจีน จ่ายแค่ 100 rs หรือ 40 บาทเท่านั้น พวกเราพอไปถึง ก็เจอฝนตกพอดี เลยแวะทานมื้อเที่ยง หลบฝนกันก่อนเสร็จอาหารฝนก็หยุดพอดี
ภัคตาปูร์ได้รับการยกย่องและอนุรักษณ์ ให้เป็นเมืองมรดกโลก มีศิลปะ อาคารสิ่งก่อสร้างที่สวยงาม หลาอย่าง รวมทั้งงานไม้แกะสลัก มีจตุรัส ให้เดินเที่ยวหลายแห่ง มีวัด และ ศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธี ทางศาสนาฮินดู หลายอย่าง ช่วงเราไปเพิ่งผ่านเทศกาลฉลองปีใหม่ 13 เมษา เหมือนสงกรานต์บ้านเรา ก็มีพิธีแห่ ที่ใช้รถในภาพ ร่วมพิธี และมีการใช้สัตว์เข้าร่วมพิธี บูชายัญ (Sacrifice) ซึ่งวันที่เราไป ก็มีลูกวัว ตัวนึง โดนจัดการเชือด บูชายัญเช่นกัน

ที่ภัคตาปูร์ มี โรงเรียนศิลปะการวาดภาพ หลายแห่ง ที่นักท่องเที่ยวแวะเยี่ยมและซื้อภาพวาดกัน ภาพส่วนใหญ่ก็เป็นภาพทางด้านศาสนา เห็นภาพวาด ที่รร.สอนนี้ โชว์ด้านล่างเป็นภาพขนาดใหญ่ วาดด้วย สีที่ทำจากธรรมชาติ เช่นหิน และแร่ธาตุต่างๆ รวมทั้งพืช และทองผสมกับ กาวหนังสัตว์ที่เคี่ยวให้เหนียวเพื่อยึดติดภาพถาวร วาดบนผ้าใบ เป็นภาพใหญ่สวยดี แต่ราคา หลักแสนเลย ต้องถอย แต่พอดีขึ้นไปเจอภาพเดียวกันภาพนี้ขนาดเล็กหน่อย ขนาด 45 X 60 ซม. ราคา 250 US แต่ต่อไปต่อมาเหลือ 120 US ก็เลยได้ติดมือกลับมาอีกชิ้น :P

กลับเข้าเมืองตอนเย็น เข้าที่พักแล้ว มีนัดทานมื้อค่ำ ที่ทางบริษัท พาไปเลี้ยงส่งพวกเราที่ครัวไทย บุฟเฟต์เป์นมื้อสั่งลา มื้อนี้อาหารอร่อยถูกปาก ช่วยเติมน้ำหนักกลับคืนมาได้อีกหน่อย (แต่ถึงบ้าน ชั่งน้ำหนักทริปนี้เป็นทริปแรกที่ไปต่างประเทศแล้วน้ำหนักไม่ขึ้น ทั้งๆที่ปกติ จะขึ้น 4-10 โลประจำ แต่รอบนี้ กลับลดไป 5 กิโลพอดีๆ อิๆ)

16  เมษา 55 ช้อปปิ้งส่งท้าย แล้ว อำลาเนปาล KTM - สุวรรณภูมิ

ก่อนกลับขอรวมรูปดอกไม้ประดับตามโรงแรมและริมทางซักรูป รูปซ้ายล่างสองรูปนั่นเป็นอกไม้ที่แปลกดีหน่าตาคล้ายๆพวกกล้วยไม้ดินหรือรองเท้านารี แต่ว่า ดอกบานหุบ เป็นเวลา ได้ สวยดี :P

วันเดินทางกลับ ตื่นเช้าแพ็คของเตรียมตัวเดินทางกลับบ้านกัน
มองไปรอบๆตัว สำรวจว่าลืมอะไรไว้หรือป่าว หลังจากลืมโลชั่นอาบน้ำขาไป Lukla และ ลืมผ้าเช็ดตัว Micro Fiber ตอนกลับจาก Lukla ดูแล้วโอเค คราวนี้ไม่มีอะไร แต่เหลือบไปเห็นทิชชู่ แล้วนึกแปลกใจ ที่เนปาล นี่อะไร ก็มี " รู " ไปหมด คนนี่ เนรู นีรู แม้แต่เงิน ก็ ยังเป็น รู(ปีร์) แต่พอทิชชู่ คนอื่นเค้ามี รูกัน ที่นี่ดัน ไม่มี " รู "
กำหนดรถมารับเรา ตอน 10 โมงครึ่ง พวกเราทานข้าวกันเสร็จ ยังขอช้อปกันต่อตั้งแต่ร้านยังไม่เปิด และช้อปกันต่อจนนาทีสุดท้าย
ก่อนกลับ เพื่อนผู้หญิง เค้าไปช้อปผ้าพันคอแคชเมียร์ (ผ้าทอจากขนส่วนคอจามรี) ที่ว่ากันว่านุ่มกว่า Pashamina หรือผ้าทอจากขนจามมรีธรรมดา มาจากร้านที่ นายกปูเรา เคยแวะไปอุดหนุน รอบแรก เค้าไปต่อ มาได้ 3 ผืน 210 เหรียญ จากผืนล่ะ 180 เหรียญ แอบจับดู แบบมันนุ่มฟูมากๆๆๆๆ อยากได้ฝากคนที่บ้าน เลยตามไปมั่งแต่ของผมไปต่อแบบเทกระเป๋าให้ดู ว่าหมดตัวแล้ว ค้นได้ให้เพิ่มเลย อิๆ สุดท้ายได้มาที่ผืนล่ะ 50 $ ก่อนวิ่งกลับมาขึ้นรถอิๆ เรียกว่าช้อปกันจนวินาทีสุดท้ายจน 10:30 น. รถมารับไปแอร์พอร์ตนั่นแหละถึงหยุดช้อป อิๆ
นั่งรถมา มองมือตัวเอง มื้อซ้าย ใส่ถุงมือกันหนาวเกือบตลอดไม่มีปัญหา แต่มือขวาที่ต้องถอดถุงมือคอยถ่ายรูปเป็นระยะโดนแดดเผาเกรียม แบบไม่รู้ตัวเลย เพราะว่าไม่ค่อยได้ทาครีมกันแดดเหมือนหน้า ครั้งหลังโบ๊ะมือด้วยแล้ว อิๆ
เครื่องออกจาก KTM ราวๆ บ่ายหนึ่งครึ่ง เวลาพื้นเมือง 18:30 กลับถึงสุวรรณภูมิ ด้วย TG 320 โดยปลอดภัยแยกย้ายกันกลับบ้าน อิๆ

หลายคนรวมทั้งป๋า บ่นว่าเข็ดแล้ว แต่ว่า แค่อาทิตย์เดียว ป๋าคม แกชวนสงกรานต์ปีหน้า เตรียมขึ้น Anapura IV ความสูง 7500 กว่าเมตร ไปกันเกือบเดือน เห็นพวก ที่มือ เท้ายังไม่หายชากัน เริ่มยกมือ ตามไปกันอีกแล้ว ผมเองกะว่า ถ้าไม่กลัวลูกน้องมันยึดอำนาจ ว่าจะตามไปอีกรอบ :P

Back To-=Jfk=- Trekking Corner

www.2jfk.com

มีข้อแนะนำ หรือ ข้อมูลนะนำได้ครับ

jfk@2jfk.com