-=Jfk=-

Watch Knowledge

หน้านี้ เป็นการรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ในแวดวงนาฬิกา และศัพท์ต่างๆ เกี่ยวกับนาฬิกาที่น่าสนใจ น่ารู้ มาไว้รวมกันๆ หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ และถ้าพบมีจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข หรือ เพิ่มเติม เมลล์มาบอกกันบ้างนะครับ จะได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อๆไป

Menu

Chronometre & Chronograph
Tachymetre Or Tachymetric Scale
Helium Escape Valve
การใช้งานระบบ GMT ของ Rolex
Split-Seconds Chronograph Or Rattrapante
ตารางกันน้ำจริง นาฬิการะดับต่างๆ
ประเภทของนาฬิกาตามกลไกการทำงาน
Perpetual Calendar
Complication & Grand Complication Watches
บทบัญญัติ 25 ข้อ สำหรับคนเล่นนาฬิกา
บัญญัติ 12 ข้อ ของ Geneva Seal (Poincon De Geneve)

Chronometre & Chronograph

สองคำนี้เป็นคำที่ทำให้หลายคนสับสบกับมันบ่อยๆ จริงแล้วมันต่างกันโดยสิ้นเชิง

Chronograph หมายถึง นาฬิกาที่มีฟังชั่น ที่ใช้ในการจับเวลา โดยพวกนี้บางทีอาจจะเห็นว่าที่หน้าปัดมีวงของเข็มจับเวลาต่างๆ แปลกตาสวยดี ซึ่งหลายคนยอมควักตังค์จ่ายซื้อนาฬิกาแบบนี้โดยที่ไม่ได้เคยใช้งานมันจริงจังด้วยซ้ำไป

Chronometer หมายถึง นาฬิกาที่ได้ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงจาก สถาบันตรวจสอบความเที่ยงตรงของนาฬิกาแห่งสวิสต์เซอร์แลนด์ (Controle Offficial Suisse Des Chronometres) หรือ COSC โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะนำเครื่องนาฬิกานั้นจัดวางในตำแหน่งแตกต่างกัน หลายๆตำแหน่ง และในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน รวม 15 วัน ระหว่างนั้นจะต้องมีความคลาดเคลื่อนบวกลบ ประมาณไม่เกิน 5 วินาทีต่อวันจึงจะผ่านการทดสอบ และค่าทดสอบสำหรับนาฬิกาแต่ละเรือนที่ส่งเข้าไปนั้น =200 $ หรือเกือบ 9000 บาท ดังนั้นนาฬิกาที่ผ่านการตรวจสอบนี้จึงมีราคาค่อนข้างสูง ในแต่ละปีจะมีนาฬิกาที่ส่งเข้าทดสอบและผ่านการทดสอบนี้ประมาณ ล้านกว่าเรือน ซึ่งมากกว่าครึ่งของนาฬิกาที่ได้รับการตรวจสอบมาก ก็คือ Brand ดังที่หลายคนรู้จักกันดีนั่นคือ Rolex
แต่มีหลายบริษัทชั้นนำที่ไม่ได้ส่งนาฬิกาเข้าทดสอบ COSC แต่ว่าทำการทดสอบด้วยตัวเอง แถมยังเกทับว่าการทดสอบของตัวเองนั้นเหนือกว่า COSC ด้วยซ้ำไป อย่างเช่น JLC จะมี นาฬิกาใน Line Master 1000 ซึ่ง ผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวด นานถึง 1000 ชม. หรือ 41 วันกว่าๆ ก่อนออกจำหน่าย

  Back To Menu

Tachymetre or Tachymetric Scale

Tachymetre หรือ Tachymeter หรือ Tachymetric Scale คือตัว Scale ที่เค้าเขียนไว้ที่ขอบหน้าปัดนาฬิกา (Bazel) ของพวกนาฬิกาจับเวลา (Chronograph) ที่มีเข็มวินาที อยู่ตรงกลางเรือนร่วมกับ เข็มชม.และเข็มนาทีปกติ อย่างเช่น Omega Speedmaster Broad Arrow เรือนข้างบน หรือ Rolex Cosmograph Daytona เป็นต้น
ประโยชน์ของมันก็เพื่อใช้ อ่านค่าอัตราเร็วต่อ หนึ่งหน่วยเวลา โดยการอ่านจากเข็มจับเวลาวินาที อันดังกล่าว เช่น ถ้าจับระยะทางรถวิ่ง ในหนึ่งกม.โดยเริ่มกดให้จับเวลาเมื่อเริ่มต้นหลักกม.แรก และเมื่อครบหนึ่งกม. แล้วก็กดหยุดการจับเวลา ถ้าเข็มชี้ที่ตำแหน่งไหนบน Scale ก็อ่านค่าความเร็วตรงจุดนั้น

ตัวอย่างเช่น ถ้าเข็มวินาทีเดินไป 30 วินาทีเมื่อครบหนึ่งกม. (ชี้ตรงเลข 6 ) ก็จะตรงกับตำแหน่งที่เขียนไว้ว่า 120 กม. คือรถเราวิ่งด้วย ความเร็ว 120 กม.ต่อชม.
หรือถ้าใช้เวลาวิ่ง 15 วินาที (เข็มหยุดชี้ที่เลข 3) ก็จะตรงกับ 240 กม.ชม.เป็นต้น
นอกจากนี้ยังใช้สำหรับการจับเวลา อย่างอื่นๆได้ด้วย เช่นจับเวลาชิ้นงานที่ผลิตออกมา ตั้งแต่เริ่มต้นผลิต จนเสร็จเรียบร้อย เป็นต้น

Back To Menu

Helium Escape Valve

ตัว Helium Valve นี่ หลายคนเข้าใจสับสนเรื่องการใช้งานกันมาก บางคนเข้าใจว่ามีการอัดก๊าซฮีเลี่ยมเข้าไปในนาฬิกาเพื่อช่วยกันน้ำ หรือ ว่าตอนดำน้ำมีก๊าซฮีเลี่ยมซึมเข้านาฬิกาต้องปล่อยออก
แต่ในความจริงแล้ว การใช้งานของ Helium Escape Valve โดยทั่วไป แล้ว คนปกติ หรือแม้แต่นักดำน้ำธรรมดา จะไม่ได้มีโอกาศได้ใช้ หรือ ปล่อยให้มันทำงานเลย
พวกที่จะได้ใช้ต้องเป็นพวกที่ทำงาน ใต้น้ำที่ระดับความลึกมากๆ (มากกว่า 60 เมตร) และต้องอยู่ ติดต่อกันหลายๆวัน
โดย คนพวกนี้จะเป็นพวกคนทำงานใต้น้ำ ที่ต้องไปไปอยู่ในถัง(Bell หรือ Chamber) ซึ่งเป็นห้อง หรือถังที่ทำงานใต้น้ำ ภายในบรรจุก๊าซที่ช่วยในการหายใจ ซึ่งเป็นก๊าซ ที่ใช้ Helium ผสมกับ ออกซิเจนแทน อากาศปกติที่มี ไนโตรเจน ผสมกับออกซิเจน ซึ่งในห้องนั้น จะมีความกดดันอากาศ จะสูงกว่าบรรยากาศ ข้างบนผิวน้ำทะเล มากหลาย Bar (เนื่องจากความลึกของระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ซึ่งตามปกติแล้วในทุกระดับความลึกที่เพิ่มขึ้น ทุกๆ10 เมตรจะมีแรงดันเพิ่มขึ้น 1 bar แม้ว่าห้องที่เข้าไปอยู่นี้ จะการปรับแรงดันช่วย แต่ก็ความดันในนั้นก็ยังคงสูงกว่าบรรยากาศปกติข้างบนอยู่ดี) เมื่อแรงดันอากาศสูง จะทำให้อากาศในตัวเรือนนาฬิกาหดตัวเล็กลง ทำให้เกิดสภาพที่เหมือนภาวะคล้ายสูญญากาสอ่อนๆเกิดแรงดูดอากาศจากภายนอกเข้าตัวเครื่อง
ประกอบกับการที่อากาศที่ใช้หายใจในห้องนั้นมี ก๊าซ Helium ซึ่งเป็นก๊าซที่มีโมเลกุลขนาดเล็กผสมอยู่ อย่างที่บอกไว้ข้างบน ดังนั้นพออยู่ ในห้องนั้นนานๆหลายๆวัน ก๊าซฮีเลียมบางส่วน จะแทรกซึมผ่านเข้าไปในตัวเรือนนาฬิกา ได้
พอถึงตอนที่จะขึ้นจากน้ำ แรงกดดันในน้ำจะค่อยๆ ลดลงตามลำดับความลึกที่ลดลง ซึ่งจะทำให้อากาศ และ ก๊าซฮีเลียมที่อยู่ในตัวเรือนนาฬิกา ก็จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นกลับขึ้นมาเรื่อยๆ ตามระดับความลึกที่ลดลง เมื่อแรงดันก๊าซในตัวเรือนนาฬิกาจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจจะทำให้กระจกนาฬิกา หลุด หรือแตกได้ ดังนั้นจึงต้องมีวาล์วปล่อยก๊าซฮีเลี่ยมที่ว่าออกมา เพื่อลดแรงดัน ดังกล่าว

Helium Valve ของ Rolex Sea Dweller จะเป็นรูด้านข้างตัวเรือน ไม่มีปุ่มหรือสกรูขันคอยปล่อย แต่จะมีสปริงรับแรงดัน จะปล่อยก๊าซออกมาเองเมื่อแรงดันก๊าซในเครื่องเพิ่มขึ้นตอนก๊าซ ขยายตัวขณะขึ้นจากน้ำ โดยมีลักษณะเป็น One way Valve ก๊าซดันออกได้ แต่น้ำดันเย้อนกลับเข้าไม่ได้

ส่วน Helium Escape Valve ของ Seamaster นั้น จะมีปุ่มชันเกลียวที่ 10 น. ซึ่งต้องคลายเกลียวที่ปุ่มก่อนเวลาใช้งาน แล้วข้างใน ใต้ปุ่มนั้น ก็จะมี One way valve ซึ่งเป็นวาล์วสปริง ทางเดียว คอยปล่อยก๊าซออกมาเหมือนกัน
ถ้าถามว่า จะคลายเกลียวปล่อยก๊าซออกตอนไหน ก็ตอบว่า คลายตอนที่กำลังเริ่มลอยตัวขึ้นมา ขณะที่ยังอยู่ใต้น้ำนั่นแหละ
ถ้าถามว่าน้ำ คลายเกลียวแล้ว น้ำไม่เข้าเหรอ ตอบว่าไม่เข้า เพราะว่า สปริงมันเป็นแบบ One way Valve ดันออกได้ ดันเข้าติดบ่าวาล์ว แถมแรงดันของแก๊ซในเครื่องตอนนั้นจะสูงมากขึ้นเรื่อยพยายามจะดันออกมาอยู่แล้วจึงช่วยป้องกัน น้ำย้อนเข้าไปได้อีกชั้นนึง

Back To Menu

การใช้งาน ระบบ GMT ของ RolexMasterII

นาฬิากา Rolex GMT ทั้ง Master II และ Master I รวมทั้ง ExplorerII จะมีเข็มแดงหัวลูกศร หรือบางครั้งก็เรียกเข็ม ว่าเข็ม 24 ชม. จะเดินเดินรอบละ หนึ่งวัน หรือ 24 ชม. ทำให้สามารถใช้ดูเวลา แยกกลางวันหรือกลางคืนได้ ซึ่งเป็น Concept เดิมสำหรับ พวกนักสำรวจทั้งหลาย เช่นถ้าต้องเข้าไปอยู่ในถ้ำนานๆ ไม่รู้ว่ามีแสงแดดหรือไม่ ถ้ามีแต่เข็มสั้นชี้ที่เลข 2 เราก็จะไม่รู้ว่าเป็นเวลา ตีสอง หรือบ่ายสองโมง แต่ว่า ถ้าดูจากเข็ม แดง ถ้าเป็นบ่ายสอง เข็มจะชี้ที่ตัวเลข 14 ที่ขอบหน้าปัด(Bazel) (หรือตรงกับเลข 7 ในหน้าปัดปกติ) แต่ถ้าเป็นตีสอง มันก็จะชี้ที่เลข 2 ที่ Bazel หรือ เท่ากับเลข 1 ในหน้าปัดปกติ

แต่เนื่องจากเข็มแดง ในGMT ทั้ง Master II และ ExplorerII สามารถตั้งแยก กับเข็มชมปกติหรือเข็มสั้นได้ ดังนั้นเราจึงสามารถตั้งให้มันบอกเวลา ในอีก Time Zone นึงได้ นั่นคือใช้บอก 2nd Time Zone

โดยการตั้งเข็มแดงไม่สามารถตั้งแยกโดยตรงได้
แต่จะตั้งโดยการดึงเม็ดมะยมออกมาจนสุดเหมือนการตั้งเวลาทั่วไป แล้วหมุนเข็มยาวหรือ เข็มนาทีให้เดินไปครบรอบหรือครบชม. ซึ่งจะทำให้ เข็มแดงจะเลื่อนหนึ่งชม. เช่นกัน(โดยดูตัวเลขที่ขอบ Bazel ซึ่งเป็นรอบล่ะ 24 ชม.) ขณะเดียวกัน เข็มสั้นหรือเข็มชมปกติก็จะเลื่อนไปตามกันหนึ่งชม.(แต่เป็นตัวเลขที่หน้าปัดปกติ)

ให้ตั้งไปเรื่อยๆจนได้เวลา ของ Time Zone ที่สองที่ต้องการจะตั้ง
ตัวอย่างเช่น สมมุติจะตั้งให้ของอังกฤษ ซึ่งช้ากว่าเมื่องไทย 7 ชม. และ ขณะที่ตั้งเป็นเวลา 9:00 น.เมื่องไทย ซึ่งอังกฤษ จะเป็นตี 2 เราก็หมุนจนเข็มแดงชี้ที่ ตี 2 ซึ่งตอนนั้นเข็มสั้นก็จะตามไปอยู่ที่ตี 2 ด้วยเช่นกันดังรูปนี้(เข็มนาที อยู่ตรงไหนไม่ค่อยสำคัญเพราะว่าใช้ร่วมกันอยู่แล้ว)


เข็มแดงถูกหมุนมาที่ตีสอง ตามเวลาประเทศที่ 2 ที่ต้องการตั้งและ เข็มสั้นตามมาด้วย

เสร็จแล้วค่อยมาตั้งเข็มสั้น หรือเข็มชม.ปกติ ให้กลับมาชี้ตรงกับเวลาในประเทศไทย ซึ่งอันนี้จะตั้งได้โดย Quick Setหรือการหมุนเร็ว โดยดึงเม็ดมะยมดึงออกจังหวะแรก (หรือครึ่งทาง) เหมือนกับการตั้ง วัน และ วันที่ในนาฬิกาอื่นๆ จังหวะนี้จะทำให้ เข็มชม.ปกติเดินเร็วๆ คลิคละ 1 ชม. ซึ่งเข็มนี้จะหมุนสองรอบต่อหนึ่งวัน เหมือนเข็มชม.ทั่วไป ก็ตั้งไปจนมันชี้ที่ 9 น. พอดี ก็เสร็จเรียบร้อย

เข็มสั้นกลับไปบอกเวลาปกติประเทศไทย 9 น.แต่เข็มแดงยังคงบอกเวลาอังกฤษที่ 2 น.

การตั้งวันที่ ของ GMT Master II และ Explorer II ก็จะใช้การหมุนเข็มสั้นแบบเร็วๆ นี่ด้วยโดยหมุนครบสองรอบ 24 ชม.ก็จะเปลี่ยนวันที่ ไปได้ 1 วัน แทนการหมุนวัน กับวันที่โดยตรง

สำหรับ GMT Master II นั้นต่างกับ ExII ตรงที่ขอบ Bazel มันหมุนได้ ดังนั้นสามารถใช้ ขอบ Bazel หมุน เพื่อดูเวลาTime Zone ที่ 3 ซึ่งมักจะนิยมใช้กรณีเดินทางเปลี่ยนประเทศช่วงสั้นๆ เช่น ถ้าจากตัวอย่างข้างบน ถ้าบินจากอังกฤษ ย้อนมาทางประเทศในยุโรป ซึ่งเวลาไวกว่า ที่อังกฤษ 2 ชม. (หรือช้ากว่าเมืองไทย 5 ชม.) เราก็หมุน Bazelให้หมุนทวนเข็มนาฬิกาไป 2 ชม.(เลข 24 หรือกึ่งกลางของ Bazel ย้ายมาอยู่ที่ เลข 11 ของหน้าปัดปกติอย่าลืมว่า 1 ชมของหน้าปัดปกติเท่ากับ 2 ชม.ของเข็มแดง) ซึ่งจะทำให้เข็มแดง อ่านที่ขอบ Bazel ได้เป็นเวลา 4 นาฬิกาเป็นต้น เป็นการบอกเวลาประเทศที่ 3 ส่วนเวลาของประเทศอังกฤษเดิมก็ยังคงดูได้โดยอ่านจากเข็มแดง แต่ดูตัวเลขจากหน้าปัดปกติ โดยใช้ขีดชม.เดิมแทนเวลา สองชม.เช่น ตามตัวอย่างข้างบน มันจะชี้อยู่ตรงตำแหน่ง เลข 1 (ซึ่งเท่ากับ 2 ชม.ของเข็มแดง) ก็อ่านว่า ตี 2 เป็นต้น

Time Zoneแรก ดูจากเข็มสั้นปกติ กับหน้าปัดปกติ บอกเวลาประเทศไทย 9 นาฬิกา
Time Zone ที่2 ดูจากเข็มแดงกับหน้าปัดในปกติบอกเวลา 1ชม.แทน 2 ชม.= 2 นาฬิกา
Time Zone ที่สาม อ่านจากเข็มแดงกับขอบ Bazel ที่ถูกเลื่อนถอยไปให้ไวขึ้น 2 ชม. = 4 นาฬิกา

สำหรับ GMT ธรรมดา ซึ่งปัจจุบันRolex ไม่ได้ทำออกมาแล้วรวมทั้ง Rolex GMT Copy ทั้งหลาย เข็มแดงตั้งแยกกับเข็มชม.ปกติ ไม่ได้ ถ้าต้องการดูเวลาประเทศที่ 2 ก็ใช้หลักการหมุน Bazel เหมือนกับ ตัวอย่างข้างบนได้แต่ก็ดูได้แค่ 2 ประเทศเป็นอย่างมาก

Back To Menu

Split-Seconds Chronograph or Rattrapante

Split-Seconds Chronograph หรือบางยี่ห้อเรียกว่า Doppel Chronograph และบางยี่ห้อก็เรียกว่า Rattrapanteนี่คือระบบการจับเวลา ที่สามารถแยกจับเวลา ได้มากกว่าสองรายการขึ้นไป คล้ายๆกับ Lap ของพวกนาฬิกาควอตซ์นั่นแหละ
การใช้งานเมื่อเริ่มจับเวลา ก็กด Start จับเวลาไปตามปกติ ถ้าจับแค่ครั้งเดียว ก็ใช้เหมือนกับนาฬิกาทั่วไป คือก กดปุ่ม Stop เพื่อหยุดอ่านเวลา แล้วกด Reset เพื่อ Set เข็มจับเวลาทั้งหมด กลับไปเป็นศูนย์
แต่ถ้าใช้จับเวลาต่อเนื่องมากกว่า หนึ่งรายการ จะใช้ ระบบ Split-Seconds ที่ว่า โดยหลังจากกด Start ตามปกติไปแล้ว เมื่อ จะหยุดอ่านเวลาครั้งแรก(เช่นคนที่หนึ่งเข้าเส้นชัย) จะใช้กดปุ่ม Split-Seconds ซึ่งมักจะทำแยกมาอยู่อีกด้าน เช่นแถว 10 น. เมื่อกดแล้ว เข็มวินาที จับเวลาซึ่งมีสองอันซ้อนกัน อันแรกจะหยุด เพื่อให้เราอ่านเวลาอันแรก ส่วนเข็มอีกอันเดินต่อไป เมื่ออ่านเสร็จแล้ว ให้กดปุ่ม Split-Seconds ซ้ำอีกครั้ง เข็ม Split-Seconds จะวิ่งตามไปซ้อนกับเข็ม ที่เดินล่วงหน้าไปแล้วเหมือนเดิมเพื่อจับเวลาต่อไป
ถ้าจะจับเวลาคนที่สองเข้าเส้น ก็กด Split-Seconds ให้เข็ม Split-Seconds หยุดอ่านเวลา
รวมทั้งถ้าจะจับเวลาเพิ่มอีกกี่คน ก็ทำอย่างนี้ซ้ำไปได้เรื่อยๆ ตลอดไปจนพอ
แต่ถ้าต้องการเลิกการจับเวลาทั้งหมด ก็กดปุ่ม Stop เข็มทั้งสองอันจะหยุด และระบบการทำงานจะหยุดการทำงานทั้งหมด เมื่อกด Reset ก็จะกลับไป Set 0 ใหม่
คำเตือน
เวลาใช้ฟังชั่น Spilt-Seconds นี่หลังจาก กด Split-Seconds เพื่ออ่านค่าแล้ว ไม่ควรกดปล่อยค้างทิ้งไว้อย่างนั้นนาน เพราะว่ามันถูกออกแบบมาให้ใช้เพื่อแค่หยุดดูเวลาชั่วคราว อ่านเวลาเสร็จแล้ว ให้รีบกดปล่อยให้มันเดินต่อ ถ้าปล่อยเข็ม Split-Seconds ให้มันค้างขณะที่ระบบจับเวลา มันยังทำงานต่อไป จะเพิ่มความเครียดและล้า ให้กับระบบการจับเวลา และอาจจะทำให้เสียได้(เหมือนกับว่าระบบยังทำงานอยู่แต่เข็มนี้ถูกดึงรั้งให้อยู่กับที่ ค้างไว้ ) แต่ถ้าเป็นการกด Stop หยุดการทำงาน ของระบบจับเวลา อันนั้นปล่อยค้างได้ไม่เป็นไร
กลไกแบบนี้ สำหรับนาฬิกาจักรกล หรือ ไขลาน กับพวกนาฬิกาออโต้เมติค นี่ถือว่าเป็นกลไกที่ค่อนข้างซับซ้อน ทำยาก พวกนี้บางทีราคาแพงกว่ารุ่นจับเวลาธรรมดาเป็นเท่าตัวเลย

ทดสอบการใช้งานของระบบจับเวลา Split-Seconds แบบเสมือนจริง ได้ที่เว็บนี้ครับ

เว็บทดสอบ Omega Split-Seconds

Back To Menu

ตารางการกันน้ำ จริง ของนาฬิกาต่างๆ

นาฬิกาส่วนใหญ่ที่จำหน่ายอยู่ จะมีระดับขีดความสามารถในการกันน้ำได้แตกต่างกันไป ตามการผลิต และวัตถุประสงค์ ที่ออกแบบมาใช้งานสำหรับนาฬิกานั้นๆ
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวเลขที่กำหนดให้กับการใช้งานจริง ในชีวิตประจำวัน จะแตกต่างกันพอสมควร ส่วนใหญ่แล้วการกันน้ำจริง จะกันได้ต่ำ กว่าค่าที่แจ้งไว้ตามสเป็ค ตารางดังกล่าวข้างล่างคือคำแนะนำการใช้งานของนาฬิกา ที่เหมาะสมกับระดับการกันน้ำในระดับต่างๆที่ระบุไว้ตามสเป็คของนาฬิกา ซึ่งยังคงต้องขึ้นกับความน่าเชื่อถือของแต่ละ Brand ด้วย

Back To Menu

ประเภทของนาฬิกาตามกลไกการทำงาน

Mechanical & Quatz Watches
เราจะแบ่งออกตามกลไกการทำงานของมันได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

A.กลุ่มนาฬิกากลไก หรือ นาฬิกาจักรกล หรือ Mechanical Watch พวกนี้คือนาฬิกาที่ใช้การเคลื่อนไหวของฟันเฟืองต่างๆ โดยแรงขับจากลานสปริง เป็นนาฬิกาที่มีมานานหลายร้อยปีแล้ว พวกนี้แบ่งย่อยออกเป็นสองกลุ่มคือ
1.นาฬิกาไขลาน(หรือไขลานด้วยมือ) หรือ Manual Winding พวกนี้คือนาฬิกาดั้งเดิมที่ใช้กันมาโดยอาศัยการไขลานให้สปริงลานตึงขึ้นและเมื่อสปริงคลายตัวก็ใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนนาฬิกาให้เดิน
2.นาฬิกาออโตเมติค หรือนาฬิกาไขลานอัตโนมัติ (หรือไขลานด้วยตัวเอง)(Automatic winding )หรือ Selfwinding หรือ ค่าย Rolex เรียกมันว่า Perpetual (หมายถึงตราบใดที่ยังใส่ก็ยังเดินตลอดไป) พวกนี้จะมี Roter คอยเหวี่ยงเข้าลานให้ เราตลอดเวลาที่สวมใส่ หรืออยู่ในเครื่องหมุนเข้าลานนาฬิกา(Watch Winder) นาฬิกาพวกนี้เวลาเขย่าเบาๆ จะได้ยินเสียง Roter มันสั่นหรือหมุนให้ได้ยิน

B.กลุ่มคือนาฬิกาควอทซ์ หรือนาฬิกาอีเลคทรอนิค หรือนาฬิกาที่ใช้แบตตารี่ หรือที่อจTommy แห่ง Siam Naliga เรียกว่านาฬิกาใส่ถ่าน พวกนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มให้เดินบอกเวลา หรือ รายงานผลผ่านจอ LCD หรือ หลอดไฟ LED และพวกนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอทซ์ แล้วรับสัญญาณความถี่ กลับออกมาให้ ไมโครโพเซสเซอร์ประเมินออกมาเป็นเวลา เพื่อควบคุมการเดินของเข็ม นาฬิกาพวกนี้ให้ความเที่ยงตรงสูง แถมราคาค่อนข้างถูกเพราะว่าชิ้นส่วนอีเลคทรอนิคในปัจจุบันทำได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ ทำให้ราคาไม่ค่อยแพง แต่ว่าไม่ค่อยได้รับความนิยมนิยมกันในหมู่นักเล่น นาฬิกามากนัก
ปัจจุบันนาฬิกาในกลุ่มนี้ บางรุ่น จะมี Roter เหวี่ยงหมุนตามการเคลื่อนไหวเวลาใช้งาน คล้ายกับนาฬิกาออโต้เมติค แต่แทนที่จะเหวี่ยงเข้าลาน มันกลับเป็นการเหวี่ยงเพื่อชาร์ตประจุไฟฟ้าไปเก็บไว้ในตัวเก็บประจุไฟฟ้า แล้วนำพลังงานไฟฟ้านี้ไปใช้กับระบบอีเลคทรอนิคแทนแบตเตอรี่ปกติ นาฬิกาพวกนี้คนที่บุกเบิกก็คือ Seiko ที่เรามักเรียกระบบนี้ตาม Seiko ว่า นาฬิกา
" K i n e t i c "
นาฬิกาQuatz ในปัจจุบันยังมีการนำพลังงานจากแหล่งอื่นมาใช้ร่วมด้วยอีก เช่นใช้ Solar Cell ชาร์ตประจุไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มาใช้เป็นต้น รวมไปถึงพวกนาฬิกา ที่ใช้พลังงานจากแรงกดอากาศ ที่ต่างกันก็มี

ล่าสุดในปัจจุบันยังมีนาฬิกา อีกระบบ ที่อยู่ตรงกลาง เป็นการผสมผสาน ระหว่าง นาฬิกาควอทซ์ และ นาฬิกาจักรกล นั่นคือ " S p r i n g D r i v e " จากค่าย Seiko เช่นกัน โดยมันเป็นนาฬิกาที่ขับเคลื่อนเฟืองและเข็มให้เดินด้วยลานเหมือนนาฬิกาจักรกลไขลานธรรมดา แต่ว่าพลังงานบางส่วนจากสปริงลานนี้จะถูกนำไปหมุนตัว Dynamo ขนาดจิ๋ว สร้างเป็นพลังงานไฟฟ้า เพื่อป้อนให้ผลึก Quatz เพื่อนำสัญญานความถี่นั้นมาคำนวนเป็นเวลา เพื่อควบคุมการเดินของเข็มอีกที ซึ่งจะได้ความแม่นยำเที่ยงตรงสูงมากขึ้น

เปรียบเทียบความนิยม

หลายคนอาจจะรู้สึกว่าแปลก ที่ทำไมนาฬิกาจักรกล ซึ่งแพงกว่า เที่ยงตรงน้อยกว่า นาฬิกาควอทซ์ จึงได้รับความนิยมจากนักสะสมมากกว่า
ในราวประมาณ สามสิบ ถึง สี่สิบปีก่อน เมื่อทางค่ายญี่ปุ่นคิดค้นนาฬิกาควอทซ์ ขึ้นมาได้ ตอนนั้นหลายคนคิดว่า นาฬิากาจักรกลคงถึงกาลอวสานปิดฉากลงได้แล้ว เพราะว่าความเที่ยงตรง และราคาที่ถูกกว่ามากมายเหนือกว่านาฬิกาจักรกล ที่ทำด้วยมือจากสวิสต์ (และหลายค่ายในสวิตซ์ก์ปิดตัวเองจริงๆด้วย)
แต่เมื่อผ่านเวลาแห่งความตื่นเต้นกับนวัตกรรมใหม่ไประยะนึงแล้ว คนเริ่มหันกลับหานาฬิกาจักรกลเพื่อนเก่า
เหตุผลก็คือนาฬิกาจักรกล จะอาศัยกลไกที่ซับซ้อน ออกแบบให้ทำงานต่อเนื่อง และใช้ฝีมือในการทำปราณีตมากกว่า นาฬิกาควอทซ์ ซึ่งแค่ส่งสัญญานไฟฟ้าเข้าไปในผลึกควอทซ์ แล้วรับความถี่ออกมา แล้วใช้คอมประมวลผล ก่อนส่งไปควบคุมการหมุนของเข็ม ซึ่งทุกอย่างค่อนข้างสำเร็จรูป และตายตัวไปหมด
ยิ่งพวกฟังชั่นพิเศษต่างๆ พวกการจับเวลา หรือ ตั้งปลุก หรือปฏิทิน นี่ง่ายมากสำหรับพวกควอทซ์ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ นาฬิกาจักรกล ต้องอาศัยการดีไซน์กลไกซับซ้อน แบบสุดยอดเลย
ข้อเหนือกว่าอีกอย่างคือนาฬิกาจักรกล เป็นกลไก Mechanic ล้วนๆ ไม่ต้องอาศัยไฟฟ้า ทำงานได้ด้วยตัวของเอง ไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่ อาจจะต้องการเพียงแค่การทำความสะอาด และหล่อลื่นเล็กน้อย นานๆครั้งเท่านั้น ทำให้ความคงทนสูงกว่าพวกควอทซ์ซึ่งมีแบตเตอรี่และวงจรอีเลคทรอนิคส์ ซึ่งพวกนี้นอกจากต้องคอยเปลี่ยนถ่านให้มันตอนหมดแล้ว ถ้าเผลอปล่อยให้มันหมดทิ้งในเครื่อง บ่อยครั้งที่แบตที่หมดอายุเสื่อมและเน่าในเครื่องทำให้เสียหายได้

อีกเหตุผลนึงที่คนเล่นนาฬิกาจักรกลชอบก็คือ เสียงกลไกของนาฬิกาจักรกลที่มันเดินขยับเคลื่อนไหว มันดังเหมือนกับจะบอกให้รู้ว่ามันมีชีวิต กำลังทำงานอยู่ ไม่เหมือนควอทซ์ ซึ่งค่อนข้างจะเงียบเฉย เย็นชา กับเจ้าของ เหลือเกิน :P
สรุป ก็คือ แต่ถ้าพูดเรื่องราคาและความคุ้มค่า ตลอดจนความเที่ยงตรง แน่นอนนาฬิกาควอทซ์ คุ้มค่ากว่ามากในด้านเศรษฐศาสตร์
แต่ถ้าด้านจิตใจ หลายคน ที่เป็นแฟนพันธ์แท้นาฬิกา หรือแม้แต่แฟนพันธ์เทียมอย่างผม ยังรัก นาฬิกาจักรกล มากกว่า ควอทซ์ กันเป็นส่วนใหญ่

  Back To Menu

Perpetual Calendar

Perpetual Calendar Watch หรือนาฬิกาที่มีระบบปฏิทินถาวร คือ นาฬิกาที่มีระบบการเปลี่ยน วันที่ ให้อัตโนมัติ ในเดือนที่มี 30 วัน หรือ 31 วัน รวมทั้งเดือนกุมพา ที่มี 28 หรือ 29 วันก็มีการเปลี่ยนข้ามให้เองโดยอัตโนมัติ แสนรู้ซะไม่มี :)
พวกนี้ถ้าเป็นนาฬิกาควอทซ์ ก็ไม่ค่อยยากระบบอีเลคโทรนิค จะมีการตั้งโปรแกรมไว้ และจัดการให้ อย่างสะดวกง่ายดาย
แต่ถ้าเป็นพวกนาฬิกา จักรกล (พวกไขลานและออโต้ จะทำค่อนข้างยาก ต้องใช้เฟืองและกลไกที่ค่อนข้างซับซ้อนในการควบคุม ) นาฬิกาพวกนี้ มักจะต้องมีเดือน กำกับไว้ให้รู้ด้วยว่าเดือนไหนมีกี่วัน ตลอดจนต้องมีปี บอกให้รู้ว่าปีไหนเป็นปีอธิกสุรทิน ซึ่งเดือนกพ. จะมี 29 วัน ซึ่งอาจจะบอกเป็นตัวเลขปี 4 หลัก หรือสองหลักเลย หรือ บอกแค่ว่าเป็นปี อธิกสุรธิน(Leap Year )หรือไม่ เช่นมีเลขบอกปี 1-2-3-4 ซึ่งมักใช้เลข 4 แทน Leap year ดังนั้น นาฬิกาพวกนี้จะแพงมาก เท่าที่เห็นยังไม่มีต่ำกว่าหลักแสน และถ้านาฬิกายี่ห้อดังๆ ก็ขึ้นหลักล้านไปเลย
ยังมีนาฬิกาอีกพวกหนึ่งที่เจะปลี่ยนวันที่ 30 -31 ให้อัตโนมัติ แต่ ในเดือนกุมภา ต้องเปลี่ยนเอาเอง พวกนี้ เรียก
Anual Calendar พวกนี้มักไม่มีการบอกปี เพราะว่าไม่จำเป็นต้องมีกลไกควบคุมตรงนี้ และราคาก็ย่อมเยา ลงมาหน่อย

คำว่า Perpetual นี้สำหรับนาฬิกาอื่นๆจะหมายถึง Perpetual Calendar แต่ถ้าของ Rolex เป็นข้อยกเว้นที่ใช้คำนี้หมายถึง นาฬิกาออโตเมติคแค่นั้นเอง

Perpetual Calendar และ ปีอธิกสุรธิน

สำหรับ Perpetual Calendar Watch ก็ใช่ว่าจะไม่ต้องตั้งปฏิทินตลอดชีพ เพราะว่าหลักการทำงานของมันคำนวน ปีอธิกสุรทิน ไปตามรอบทุกๆสี่ปี หรือปีหนึ่งมี 365.25 วัน แต่ว่าในความเป็นจริง แล้ว การโคจรรอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งรอบ กินเวลา จริงๆ = 365.25636 หรือคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง = 0.00636 วันต่อปี

ดังนั้น การกำหนดปีอธิกสุรทิน นั้นจึงมีข้อกำหนดและข้อยกเว้น+ไม่ได้มีทุกสี่ปีอย่างที่เข้าใจ แต่การกำหนดปีอธิกสุรทิน มีหลักดังนี้

การคำนวนหาปีอธิกสุรทิน ให้คิดปี ตามปี ค.ศ.

กำหนดให้ปีทั่วไป ให้มี 365 วัน (เดือนกพ. 28 วัน)แต่ปีที่หารด้วย สี่ลงตัว เป็นปี อธิกรสุรทิน มี 366 วัน (เดือนกพ.มี 29 วัน)เช่น 1992 ,1996 เป็นต้น
ข้อยกเว้นที่ 1 ถ้าปีที่หารด้วย 4 ลงตัว แต่ ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ลงตัวด้วย ก็ไม่นับเป็นปี อธิกสุรธิน (กพ.มี 28 วัน) เช่นปี 1400,1500,1700,1800 เป็นต้น
ข้อยกเว้นที่ 2 ถ้าปีนั้นหารด้วย100 ลงตัว แต่ว่าหารด้วย 400 ลงตัว ก็ให้นับเป็น ปีอธิกสุรทิน (กพ.มี 29 วัน )เช่นปี 400,800,1200,1600 และปี 2000 ที่เพิ่งผ่านมาเป็นต้น

เพราะฉะนั้นในรอบ 400 ปี จะมีจำนวนวันทั้งสิ้น 365x400 + 100 - 4 + 1 = 146097 วัน หรือเฉลี่ยแล้วปฏิทินแบบนี้จะมี 365.2425 วันต่อปี ซึ่งคลาดเคลื่อนจากกำหนดปีจริงแค่ 0.001386 วันต่อปี ดีกว่าการคิดแบบ สี่ปีครั้งธรรมดา แต่ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้างดังนั้นนานๆครั้งก็จะต้องมีการปรับปฏิทินกันซักที แต่ว่ากว่าจะปรับก็คงหลายหมื่นปีนั่นแหละ :P

ดังนั้นนาฬิกา Perpetual Calendar ทั้งหลายเมื่อครบ 100 ปีก็ต้องส่งเข้าโรงงานปรับตั้งกันครั้งนึง ยกเว้นเมื่อปี เข้าข่ายข้อยกเว้นที่ 2 เท่านั้นเช่นปี 2000 ที่ผ่านมายังนับเป็นปีอธิกสุรทินไม่ได้ยกเว้นมี 365 เจ็ดปีรวด ทำให้ไม่ต้องเอานาฬิกาไปตั้งกัน แต่ถ้าใครอยู่ถึงปี 2100 ทีนี้ไม่รอดแน่ ต้องส่งซ่อม อิๆ :)

Back To Menu

Complication & Grand Complication Watches

Complication Watchesแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ
A นาฬิกาที่มีเข็มเพิ่มขึ้นมา หนึ่งหรือ สองเข็มเพื่อใช้บอกเวลา แบ่งได้เป็น

A1นาฬิกาที่มีเข็มวินาที แยกต่างหาก(Independent Seconds)
A2 นาฬิกาที่มีเข็มวินาที แบบ กระโดด(Jumping Seconds)
A3 นาฬิกาโครโนกราฟจับเวลา (Chronograph with Counters)
A4 นาฬิกาโครโนกราฟแบบแยกวินาที (Split-Seconds Chronograph)

B นาฬิกา ที่มีกลไกตีบอกเวลา (Striking Mechanism) แบ่งเป็น

B1 ระบบตีบอกเวลาทุก 15 นาที (Quater Repeaters)
B2 ระบบตีบอกเวลาทุก 5 นาที (Five Minute Repeaters)
B3 ระบบตีบอกเวลาทุก 7.5 นาที (Half QuaterRepeaters)
B4ระบบตีบอกเวลาทุกๆ นาที (Minute Repeaters)
B5 ระบบตีบอกเวลา (Grand Strike)

C นาฬิกาบอกเวลาทางดาราศาสตร์(ปฏิทิน)

C1ปฏิทินธรรมดา (Ordinary Calendar)
C2 ปฏิทินถาวร (Perpetual Calendar)
C3 ปฏิทินบอกข้างขึ้นข้างแรม(Moon phases)
C4นาฬิกา บอกเวลาของสมการเวลา (Time Equation watches)

Grand Complication Watches คือนาฬิกา ที่มีระบบทั้งสาม รวมกันในเรือนเดียว

  Back To Menu

บทบัญญัติ 25 ข้อสำหรับคนเล่นนาฬิกา

เพื่อนชาวบอร์ดสยามนาฬิกาเราคนนึง Copy มาจาก Time Zone น่าสนใจดี เลยแปลด้วยภาษากระเหรี่ยงมาฝากกัน

1) Never settle. Compromise.
If a Rolex is really what you want, don't throw away money on a Seiko just to buy. Save that money toward the Rolex. If need be, buy a used model and have it refurbished.
อย่าประนีประนอมความอยากได้
ถ้าโรเล็กซ์คือเป้าหมายที่แท้จริง จงอย่ายอมโยนเงินทิ้งไปใหักับไซโก้ เพียงเพราะว่ามีกำลังซื้อแค่นั้น จงเก็บเงินต่อไปก่อนเพื่อมุ่งสู่โรเล็กซ์ที่ต้องการ หรือถ้าจำเป็น (งบน้อย) อาจจะถอยโรเล็กซ์มือสอง แล้ว จับมาขัดสีฉวีวรรณใหม่ ซะดีกว่า (โดยเฉพาะในกระดานขายสยามนาฬิกาเรา อิๆ)

2) Whenever possible, pay cash.
Don't rob Peter to pay Paul. Avoid credit cards like the plague; interest rates
eat up discounts. Buy what you can afford.
ถ้าเป็นไปได้ จ่ายด้วยเงินสดดีก่า ขอบอก
อย่าคิดกู้เงินใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า และเลี่ยงการใช้สินเชื่อบัตรเครดิต มันจะเหมือนดินพอกหางหมู ดอกเบี้ยบัตรเครดิต มันจะกินส่วนลดที่ได้มาไปหมด จงซื้อตามกำลังทรัพย์เราเท่านั้น

3) Buy for YOU, not someone else.
If you look long and hard enough you will find someone in TZ, or somewhere else
who will criticize your choice no matter what it is. Buy for you, not to impress someone else.
ซื้อเพื่อตัวเอง ไม่ใช่เพื่อคนอื่น
ถ้าคุณเฝ้าติดตาม เว็บนาฬิกาอย่าง Time Zone (รวมทั้งกระดานสนทนาเรื่องนาฬิกา อื่นๆ ) อย่างจริงจังมานานพอ คุณจะเห็นได้ว่า มีนักวิจารณ์หรือเพื่อนบางคน ตามบอร์ดนาฬิกา หรือ ที่อื่น อาจจะให้คำวิจารณ์ เป้าหมายเรา ซึ่งไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม อย่าไปยึดติดกับมันมาก จงซื้อเพื่อความชอบของตัวคุณเอง ไม่ใช่ซื้อเพื่อให้คนอื่นพอใจ(ก็ตังค์เรานี่หว่า)

4) Consider the movement.
Consider the movement in the watch. Shoot for in-house or fine base calibers like the Zenith El Primero, Piguet, Lemania, Venus...but don't buy a style you don't like simply because the movement is a great one. You can't wear a watch inside-out.
ให้ความสำคัญกับกลไกเครื่องไว้ด้วย
จงคำนึงถึงกลไกของเครื่องไว้ด้วยในการเลือกซื้อ จัดการสอยพวกเครื่อง In House(เครื่องที่บริษัทนั้นทำเอง) หรือ เครื่องที่มีพื้นฐานดี มีชื่อเสียง เช่น Zenith El Primero, Piguet, Lemania, Venus หรืออื่นๆที่มีชื่อเสียง แต่อย่าซื้อนาฬิกาแบบที่ตัวเองไม่ชอบ เพราะว่ามัวแต่ให้ความสำคัญกับตัวเครื่องมากไป เพราะว่าถึงอย่างไร เราก็ใส่นาฬิกา กลับด้านเอาเครื่องออกมาโชว์ไม่ได้อยู่ดี

5) Consider the manufacturer.
There are great ones to choose from but never buy just because of the name!
Patek is considered one of the finest, if not the best manufacturer out there.
But if you don't like the designs, don't buy one!
ให้ความสำคัญกับบริษัทผู้ผลิต
มีบริษัทผู้ผลิตที่ยอดเยี่ยมให้เราได้เลือกซื้อ แต่ จงอย่าซื้อเพียงเพราะแค่ชื่อของมัน(ดัง)เท่านั้น
อย่างเช่นปาเต็ค ฟิลลิป นี่ ต่อให้ไม่นับว่าเป็นผู้ผลิตนาฬิกาที่ดีที่สุดในโลก แต่ก็ยังได้รับการยอมรับว่าหนึ่งในบรรดาสุดยอดผู้ผลิตนาฬิกาอยู่ดี
แต่ถ้าคุณไม่ชอบแบบของมัน ก็อย่าไปซื้อมัน (เพียงเพราะว่ามันเป็น Patek)

6) You won't become the watch.
The watch won't change you. It is a watch. Einstein had a Patek, Hemingway
wore Rolex and Omega. If you buy a Patek it won't make you a genius, and neither
an Omega or Rolex will improve your writing.
คุณไม่มีทางจะเป็นเหมือนนาฬิกา
นาฬิกาไม่มีทางจะเปลี่ยนแปลงตัวตนคุณ มันก็เป็นเพียงแค่นาฬิกาเรือนนึงเท่านั้น
อย่างไอน์สไตน์ นี่ใส่ปาเต็ค ในขณะที่ เฮมิ่งเวย์ ใส่โอเมก้า และโรเล็กซ์
ต่อให้คุณซื้อปาเต็ค มันก็ไม่ทำให้คุณเป็นอัจฉริยะเหมือนไอน์ไสตน์ และ แม้คุณจะใส่โอเมก้า หรือโรเล็กซ์ มันก็ไม่ได้ช่วยให้คุณแต่งนิยายได้เก่งขึ้นมาเช่นกัน

7) Size matters.
Large watches are a fad and a style. Some really look good. Consider your wrist
size because a really oversized watch on a small wrist looks sloppy. If you do
buy a large watch, make sure your shirt cuffs will fit over it. You don't want
to have to redo your wardrobe to fit your watch!
ขนาดของนาฬิกา ก็สำคัญเน้อ
นาฬิกาขนาดใหญ่ ออกจะดูเป็นเรื่องแผลงๆ และ เป็นเอกลักณ์ของแต่ละคน บางคนใส่แล้วอาจจะดูดีจริงๆ แต่ต้องคำนึงถึงขนาดข้อมือของตัวเองด้วย เพราะว่า นาฬิากาขนาดใหญ่เกินข้อมือมาก มันทำให้ดูเทอะทะ รุ่มร่าม
และถ้าคิดจะซื้อนาฬิกาขนาดใหญ่จริง ต้องแน่ใจว่าข้อมือเสื้อเชิร์ตคุณสามารถผ่านมันได้ เพราะว่าคุณคงไม่ต้องการแก้ไขเสื้อผ้าทั้งหมดของคุณเพื่อให้เข้ากับนาฬิกาเรือนใหญ่เรือนใหม่นี้แน่ๆจริงป่าว

8) Get Insurance.
You will sleep better.
ควรจะมีประกัน
คุณจะได้นอนหลับได้สนิทขึ้น (ไม่งั้นก็สร้างห้องนิรภัย เก็บมันซะเลย อย่างที่ผมสร้างให้รู้แล้วรู้แร่ด ถูกกว่าซื้อเซฟตัวใหญ่ๆอีกนะเฟ้ย :P :P)

9) There is always going to be a better deal.
Shortly after you make a purchase, you will spot that exact same model selling
for less. It is one of life's little jokes. Don't let it bother you.
ราคาดีมักมีมาทีหลัง
บ่อยครั้งที่เราเพิ่งซื้อนาฬิกามาใหม่หมาดๆ แล้วมาเจอนาฬิการุ่นเดียวกับเราซื้อมาเป๊ะ แต่ขายถูกกว่า
มันเป็นแค่เรื่องตลกเล็กๆของชีวิต อย่าให้มันมารบกวนจิตใจเราซะล่ะ
( แต่เตือนเพื่อนๆหน่อยว่า อย่าไปกลัวข้อนี้จนเกินไปนะ
เพราะว่ามีคำเตือนอีกอันสำหรับคนซื้อนาฬิกาว่า
GOOD DEAL NEVER LAST LONG ราคาดีอยู่ไม่นาน ถ้าช้าแห้วไม่รู้เน้อ :P)

10) Keep in mind that salespeople are usually only objective about watches that
they sell.
นึกในใจไว้เลยว่า คนขายนาฬิกา มักจะเชียร์ นาฬิกา ที่เค้าขาย (อย่าไปหลงคารมเค้ามากเกินไปฮ่าๆๆๆ )

11) The journey can be more fun than the destination.
Shortly after a purchase you may experience a let down. Let it pass, it's normal.
ระหว่างการเดินทาง สนุกสนาน มันกว่า ตอนถึงจุดหมายปลายทาง
หลังจากสอยนาฬิกาเรือนใหม่ มาได้ไม่นาน บางทีคุณอาจจะ เริ่มปลื้มกับมันน้อยลงๆ อย่าไปซีเรียสกับมันปล่อยให้มันผ่าน มันเป็นเรื่องธรรมดา ของชีวิต (ที่จะแสวงหาความแปลกใหม่ และตื่นเต้นใหม่ๆ ให้กับชีวิต)
(อย่างนี้ต้องอย่ารีบซื้อ ปล่อยให้รู้สึกอยากได้ ตามดู ตามหา ดูมันนานๆ หาความสนุกยาวๆ ไปเรื่อยๆ แบบไม่ต้องเสียตังค์ด้วย :P)

12) If it is broke, fix it.
To err is human. It is better to fix a mistake than try to live with it. If you really aren't happy with a purchase, get rid of it!
ถ้ามันไม่ได้ดังใจหวัง จัดการมันซะ
ความผิดพลาดเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แต่มันเป็นการดีกว่าที่จะจัดการแก้ไขในสิ่งที่ผิดพลาด ดีกว่าที่จะพยายามทนอยู่กับมันไปอย่างนั้น
ถ้าคุณรู้สึกว่าไม่พอใจ นาฬิกาที่ซื้อมาแล้วมากๆจริงๆ ล่ะก้อ กำจัดมันไปให้พ้นหูพ้นตาซะดีกว่า (ส่งไปกระดานขายก็ได้ว่าแต่ กดราคาลงต่ำๆ หน่อยนะ :P :P :P)

13) Consider color.
All stainless steel, all white gold, all platinum with a bracelet goes with everything. With a black strap, almost everything.
18k & black strap is dressy. 18k & brown strap is elegant but more casual, and
looks good with browns, tans, blues, yellow, green, and sometimes even gray.
White dials are dressier and easier to read, black dials are more cool and sporty.
คำนึงถึงสีด้วย
พวกสเตนเลสสตีล ทองคำขาว และ พลาตินั่ม กับสายโลหะของมันเข้ากันได้กับเครื่องแต่งกาย " ทุ ก อ ย่ า ง " รวมทั้งสายหนังสีดำ ก็เข้าได้กับเสื้อผ้า "เกือบทุกอย่าง "
เรือนทอง 18 กับสายหนังสีดำ เหมาะสำหรับชุดออกงาน
เรือนทอง 18K กับสายหนังสีน้ำตาล ดูหรูเรียบ แต่ออกแนวลำลองมากกว่า และเหมาะกับชุดสีน้ำตาล สีแทน ,สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว และบางครั้งก็เข้ากับ สีเทาได้
พวกหน้าปัดขาว ยิ่งดูหะรูหะรา มากขึ้นไปอีก แล้วก็ ดูเวลาได้ง่าย
ส่วนหน้าปัดดำ ดูสวยเรียบๆดี และ ออกแนวสปอร์ต

14) Accuracy is relative.
Your self-winding watch isn't as accurate as your quartz. However it can be 99%
accurate. Off by just a few seconds out of over 80,000 each day is pretty amazing.
ความเที่ยงตรงมันก็เป็นแค่การเปรียบเทียบ
นาฬิกาออโต้ของคุณ อาจจะไม่เที่ยงตรงเท่านาฬิกาควอทซ์ แต่อย่างไรก็ดี มันก็ให้ความเที่ยงตรงมากกว่า 99% ขึ้นไป
ความคลาดเคลื่อนแค่ไม่กี่วินาทีจาก 80000 กว่าวินาที ในแต่ละวัน นี่ก็ถือว่า สุดยอดมหัศจรรย์แล้ว (พอใจกับมันเหอะ:P :P )

15) Take care of your good watches.
Get them serviced, keep them clean. They'll last longer than you will.
ดูแลนาฬิกาเรือนงามของคุณให้ดี
ส่งมันเข้าตรวจเช็คเป็นระยะ ดูแลทำความสะอาดให้ดี มันจะได้อยู่คู่กับคุณตลอดไปได้นานๆ

16) This is want, not need.
No one ever needs a luxury watch, this is about want. If you ask yourself, "do I need this?" the honest answer is always, "no."
นาฬิกา มันเป็นเรื่องความต้องการ ไม่ใช่ความจำเป็น
ไม่มีใคร ที่"จำเป็น"ต้องมีนาฬิกาที่หรูหราฟุ่มเฟือย มันเป็นแค่ "ความต้องการ"เท่านั้น
ถ้าคุณถามตัวเอง ว่านาฬิกานี้มัน"จำเป็น"สำหรับคุณหรือไม่
คำตอบที่ซื่อสัตย์จากใจคุณ ก็คือ " No" :P

17) Never buy a watch as an investment.
Some watches will retain value, most don't.
The watch that actually appreciates in value is unique and chances are it will be your grandchildren who benefit, not you.
อย่าซื้อนาฬิกาเพื่อเป็นการลงทุน
นาฬิกาบางเรือน เก็บไว้ราคาอาจะไม่ตกลง แต่ส่วนใหญ่แล้ว "ไม่ใช่"
นาฬิกาที่ จะได้รับความนิยมและมีราคาสูงขึ้น ต้องมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอก และ คนที่จะมีโอกาสได้รับประโยชน์ จากราคาที่เพิ่มขึ้นนี้ น่าจะเป็น " หลาน " ของคุณ ไม่ใช่ตัวคุณ

18) No one watch will statisfy you completely. There is no single definitive model.
ไม่มีนาฬิกาเรือนใด เรือนเดียว ที่จะตอบสนองความพึงพอใจคุณได้ครบถ้วน
ไม่มีนาฬิกาเรือนใด รุ่นใด หรอกที่จะสมบูรณ์พร้อมไปหมดทุกอย่าง (ดังนั้นอย่าถามว่า ทำไมตู ต้องมีหลายๆเรือน :) :)

19) The more you know, the less you need.
A collection of 4 exceptional watches is better than a collection of 10 mediocre ones.
ยิ่งคุณรู้มากเท่าไร คุณก็ยิ่งต้องการน้อยลง
คอลเลคชั่นของนาฬิกา พิเศษ เจ๋งๆ 4 เรือน เยี่ยมกว่า คอลเลคชั่นนาฬิกาพื้นๆ 10 เรือน (เหมือนกรุพี่Wasan_1 หรือ เฮีย SVK แค่ 4-5 เรือน ) เจ๋งกว่า ของผม เกือบร้อยตัว หลายสิบเท่า อิๆ)

20) Only engrave if it is a special gift.
ถ้าอยากจะแกะสลัก(ชื่อหรือสัญญลักษณ์) ลงไปบน นาฬิกา ก็ทำ เฉพาะที่มันเป็นของขวัญชิ้นพิเศษจริงๆ (อย่ามือบอนทำไปทั่ว เสียของ หมด :P P )

21) Buy what you will wear, not for an occasion.
Don't run out and buy a dressy watch for just one special night.
You probably have one you can wear that will be just fine, or don't wear one at all.
ซื้อนาฬิากาที่คุณจะใส่ ไม่ใช่ซื้อเพื่อใช้ใส่บางโอกาสแค่ครั้งเดียว
อย่าวิ่งออกไปซื้อนาฬิกาหรู เพียงแค่ต้องการเอามาใส่ออกงานพิเศษคืนเดียว
ลองดู ในกรุคุณอาจจะมี ซักเรือนที่เจ๋งพอสำหรับงานนั้น ถ้าหาที่เข้ากับชุดหรืองานไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องใส่นาฬิกาไปเลยก็ได้

22) Wear it.
If it has been two months since you wore it, you don't really like it. Get something you want to wear.
มีแล้ว ก็จงใส่มันซะ
ถ้านาฬิกาเรือนไหนที่คุณปล่อยทิ้งนานมากกว่า 2 เดือนหลังจากใส่ครั้งสุดท้าย แสดงว่า เรือนนั้นคุณไม่ได้ชอบมันจริง ลองหาตัวใหม่ทีคุณต้องการ มาใส่แทนดีกว่ามั้ง (แล้วเรือนที่ว่าล่ะ เอาไปไหน คำตอบเดิมๆ กระดานขายไง :P :P )

23) Limited is usually a marketing term.
Limited to 5,000 pieces is not limited. Limited to 2,000 isn't either.
Really limited is 30. Or 10. Or one.
คำว่า " Limited " มันก็แค่ กลยุทธ การตลาด
ผลิตจำนวนจำกัด 5000 เรือนแบบนี้มันเวอร์ ไม่ใช่ Limited แล้ว หรือแม้แต่ 2000 เรือนก็ ยังไม่ใช่ Limited อยู่ดี มันมากเกินไป
ถ้า Limited จริง มันควรจะเป็น ซักแค่ 30 เรือน หรือ 10 เรือน หรือ แค่ เรือนเดียวไปเลย

24) You don't have to justify to anyone except yourself.
Someone will someday say, "you paid that much for a watch!!!" You are not obligated to explain, and they won't understand anyway.
ไม่จำเป็นต้องไปชี้แจงให้คนอื่นฟัง นอกจากตัวคุณเอง
วันดีคืนร้าย อาจจะมีใครซักคน มาบอกกับคุณว่า " คุณจ่ายมากเกินไปแล้ว สำหรับนาฬิกาเรือนเดียว" ซึ่งคุณไม่ต้องไปเสียเวลาอธิบายให้เค้าฟังหรอก ยังไงเค้าก็ไม่เข้าใจอยู่ดี (ยกเว้นพวกบ้านาฬิกาเหมือนกัน :P :P )

25) Don't look at the Patek on the other guy's wrist and be envious.
Look at the watch on your wrist and be happy.
Don't judge anyone by the watch they wear, including yourself.
อย่าไปมอง Patek บนข้อมือชาวบ้าน ด้วยความอิจฉา
จงมองนาฬิกาที่ข้อมือตัวเราเองให้มีความสุข
อย่าตัดสินคนแค่นาฬิกาที่พวกเค้าใส่ รวมทั้งตัวคุณเองด้วย

พวกคุณ โดนข้อไหนกันมั่ง

ผมล่ะเจอไปเป็นสิบ ๆ ข้อเลย :)

แปลไว้สี่ห้าปี ตามประสากระเหรี่ยง กลับมาอ่านวันนี้อีกที โอ้หลายแห่งที่แปลผิดไปไกล กลับมาแก้ไขใหม่ ถ้ายังผิดอีก ช่วยบอกกันหน่อยนะ แบบว่าเรียนภาษาประกิต อยู่หลังเขา แถมได้ C อิๆ

Back To Menu

 

Geneva Seal

"The Geneva Seal" หรือ "Poincon De Geneve"
มีที่มาจาก ตอนต้น คริสต์ศตวรรษ ที่ 17 ตอนนั้น Geneva เป็นศูนย์กลางของ การผลิตนาฬิกาของสวิสต์และของโลก ซึ่งโด่งดังมาก มีการรวมตัวของช่างที่มีชื่อเสียงผลิตนาฬิกาชั้นดี ออกมามากมาย ต่อมามีช่างนาฬิกาจากที่อื่นมากมาย ที่หลั่งไหล เข้ามาใน Geneva เพื่อผลิตนาฬิกาเช่นกัน พวกสมาคมผู้ผลิตนาฬิกา แห่งสวิสต์จึงได้ยื่นเรื่อง ให้รัฐบาลสวิสต์ ออกกฏหมายในปี 1886 ให้ นาฬิกาที่ผลิต ในแคว้นเจนีวา จะต้องผลิต ตามกฏข้อบังคับทางด้านเทคนิค 12 ข้อ จึงจะได้รับตรารับรองเครื่องหมายคุณภาพ "Poincon De Geneve" หรือ "Geneva Seal" ประทับติดกับนาฬิกา เป็นการรับรองมาตรฐานความปราณีตได้ ซึ่งจะมีเครื่องหมายโล่ สัญญลักษณ์ของเค้าติดไว้ที่เครื่อง
กฏบัญญัติ สิบสองข้อ (Geneva Seal Criteria) เพื่อรับ "Geneva Seal" มีดังนี้
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 1(A)
The workmanship of all the caliber's components, including those of additional mechanisms, must meet the requirements of the office for optional inspection of Geneva watches.
1.(a)งานฝีมือของส่วนประกอบเครื่อง รวมทั้งกลไกเพิ่มเติมต่างๆ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกา ของสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 1 (B)
Steel parts must have polished angles and their visible surfaces smoothed down. Screw heads have to be polished, with their slots and rims chamfered.
1(b)ชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กต้องได้รับการขัดเงาขอบตัวเรือน และผิวหน้าที่มองเห็นได้ ต่างๆ ต้องได้รับการขัดเรียบ หัวสกรูต้องได้รับการขัดเงาและร่องสกรู ต้องได้ขัดเกลาแต่งขอบ
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 2
All movements must be provided on the train and escapement with ruby jewels having polished holes. On the bridge side, the jewels must be half frosted with polished sinks. The endstone for the center wheel on the baseplate is not required.
2.ส่วนเคลื่อนไหวทั้งหมดต้องติดตั้งตามแนวที่กำหนด และหลีกห่างจากทับทิมประดับ ส่วนทางด้านสัน อัญมณีนั้นต้องติดตั้งโผล่ขึ้นมาครึ่งลูกจากช่องที่ได้รับการขัดเงาไว้ ไม่จำเป็นต้องมีตัวหยุดสำหรับล้อศูนย์กลางที่แผ่นฐาน
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 3
The balance spring should be pinned up in a grooved plate with a stud having a rounded collar and cap. Mobile studs are allowed.
3. บาลานซ์สปริงควรปักยึดลงในแผ่นร่อง ด้วยดุมที่มีหัวและบ่ารูปวงกลม อนุญาตให้ใช้ดุมแบบเลื่อนขยับได้
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 4
Split or fitted indexes are allowed with a holding system except in extra-thin calibers where the holding system is not required.
4.สามารถเลือกใช้เข็มชี้แบบแยกส่วน หรือแบบประกอบโดยมีระบบจับยึด ยกเว้นในคาลิเบอร์ ที่บางเป็นพิเศษ ไม่จำเป็นต้องมีระบบจับยึด
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 5
Regulating systems (balances) with variable radius of gyration are allowed provided they comply with criteria ONE (A) and ONE (B).
5.ระบบควบคุม(บาล้านซ์)ที่มีการหมุน แบบรัศมีแปรผันนั้นอนุญาติให้ใช้ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนด ตามข้อ 1A และ 1B
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 6
The wheels of the going train have to be chamfered above an below and have a polished sink. In wheels 0.15mm thick or less, a single chamfer is allowed on the bridge side.
6.ล้อเฟืองตามแนวต่างๆ ต้องได้รับการขัดเกลา ทั้งด้านบนและล่าง สำหรับเฟืองที่หนา 1.5 มม.หรือบางกว่าต้องขัดเงา สำหรับด้านสันให้ใช้การ ขัดเกลาด้านเดียวได้
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 7
In wheel assemblies, the pivot shanks and the faces of the pinion leaves have to be polished.
7.ส่วนประกอบของเฟือง เช่น ก้านเดือย แกน และ ผิวหน้าของเฟืองเล็กที่เว้นไว้ต้องได้รับการขัดเงา
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 8
The escape wheel has to be light, not more than 0.16mm thick in large calibers and 0.13mm in calibers under 18mm, and its locking-faces have to be polished.
8.เฟืองจากต้องมีน้ำหนักเบา และหนาไม่เกิน 0.16 มม.ในคาลิเบอร์ขนาดใหญ่ และหนาไม่เกิน 0.13 มม.ในคาลิเบอร์ ที่บางกว่า 0.18 มม.ผิวหน้าด้านล้อคต้องได้รับการขัดเงาด้วย
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 9
The angle traversed by the lever is to be limited by fixed banking walls to the exclusion of pins or studs.
9.มุมที่กวาดโดยกระเดื่องต้องถูกจำกัดด้วยตัวกั้น ขอบแบบตายตัว เพื่อกันการดันของเข็ม หรือดุมต่างๆ

GENEVA SEAL CRITERIA NUMBER 10
Movements fitted with shock proofing are accepted.
10.กลไกเคลื่อนไหวที่ต่อเข้ากับ ระบบกันกระเทือนนั้นเป็นที่ยอมรับได้
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 11
The rachet wheel and the crown wheel should be finished according to registered patterns.
11.ล้อเฟืองRachet และล้อเฟืองของเม็ดมะยม ควรได้รับการปรับแต่ง ตามแบบที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้
GENEVA SEAL CRITERION NUMBER 12
Wire springs are not accepted.
12.ไม่อนุญาติให้ใช้ลวดสปริง

  Back To Menu

Back to Jfk watch Collection

www.2jfk.com

มีข้อแนะนำ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติมแนะนำได้ครับ

jfk@2jfk.com