การปลูกย้าย
เซลรากผม (Hair Transplant)
เป็นการทำศัลกรรม(ผ่าตัด)ชนิดหนึ่ง
โดยส่วนใหญ่จะเลือกทำในคนวัยกลางคนซึ่งผมส่วนหน้าผากมักจะร่น(ล้าน)
(จากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศชาย)
จนอยู่ตัวแล้ว
ไม่ล้านเพิ่มมากอีกแล้ว
จึงจะทำการปลูกย้ายเซลรากผม
หลักการ
หมอจะเลือกผมส่วนที่มีเซลรากผมทนต่อการหลุดร่วงมากที่สุด
คือผมส่วนท้ายทอย
นำมาปลูก
บริเวณที่ไม่มีผมหรือผมบาง
ซึ่งหลังปลูกแล้ว
ผมจะคงอยู่ถาวรตลอดไปไม่ร่วงล้านอีก
(แต่มีการผลัดเปลี่ยนหลุดร่วง
และงอกใหม่ตามอายุของเส้นผมตามปกติ
)
ปกติผมคนเรา
จะมีความหนาแน่นของรูขุมขนต่อพื้นที่หนังศรีษะต่างๆกันออกไป
โดยเฉลี่ยคนไทยจะมี
ความหนาแน่นของรากผม
ประมาณ 60-80 รากต่อ
หนึ่งตร.เซ็นติเมตร
ถ้าผมมีความหนาแน่นประมาณ
50-60 รากต่อหนึ่ง ตร.ซมก็ถือว่าามีความหนาแน่นพอรับได้
ไม่ดูว่าศรีษะล้าน
หรือ ผมบาง
ดังนั้นถ้าพื้นที่
ที่จะต้องปลูกนั้น
ถ้าไม่มีผมเลยปกติ
หมอก็มักจะปลูกให้มีเซลรากผมประมาณ
50-60 กร๊าฟ ต่อตรซม.
ซึ่งอาจจะแบ่งปลูกประมาณ
สองถึง
สามครั้งจนแน่นพอ(ครั้งละ
20-30 กร๊าฟต่อหนึ่งตร.ซม.)
และในแต่ละรูขุมขนหรือ
หนึ่งรากผม
จะมีจำนวนเส้นผม
ต่างกันไปตั้งแต่ 1-4
เส้นต่อราก (คนไทยจะเฉลี่ยอยู่ประมาณ
2 เส้นกว่าๆ ต่อราก)
การปลูกแต่ละครั้ง
ก็จะทำประมาณ 500-1000
กร๊าฟ
ระยะเวลาที่ใช้ทำ 3-6
ชม.แล้วแต่จำนวนกร๊าฟที่ทำว่ามากน้อยแค่ไหน
จำนวนครั้งที่จะต้องทำกี่ครั้งก็แล้วแต่ปริมาณพื้นที่ที่ทำ
ว่ามีมากน้อยแค่ไหน
และต้องการแทรกให้แน่นแค่ไหน
เทคนิคการปลูก
วิธีที่นิยมกันในปัจจุบัน
และได้ผลดี
คือการปลูกโดยใช้เทคนิค
ของ Dr,Strouse
ขั้นตอนแรก
หมอจะตัดผมเฉพาะบริเวณส่วนท้ายทอยส่วนที่ต้องการใช้ให้สั้นเกือบติดหนังศรีษะ
ก่อนที่จะสระผม
แล้วเตรียมผ่าตัด
ขั้นตอนที่สองหมอจะตัดเอาหนังศรีษะจากตรงท้ายทอยที่เตรียมไว้ออกมา
โดยตัดเป็นแถบยาวกว้างประมาณ
หนึ่งเซ็นต์
ความยาวแล้วแต่ประมาณที่ต้องการใช้(อาจจะยาวถึงสิบเซ็นต์กว่าๆได้ถ้าต้องใช้เซลรากผมเยอะ)
แล้วเย็บปิดแผล
โดยขั้นตอนนี้หมอจะฉีดยาสลบอ่อนให้หลับ
และ ฉีดยาชา ก่อนจะตัดหนังพร้อมกับเส้นผมที่ว่าออกมา
และเย็บปิดแผลเสร็จโดยใช้เวลาประมาณครึ่งชม.
ขั้นตอนที่สาม
หมอจะนำหนังที่ตัดออกมา(Doner)
มาตัดแบ่งแยกเอาเซลรากผมออกมาเป็นเซลๆ
โดยใช้กล้องขยายช่วยตัดแบ่ง
โดยตัดหนังศรีษะส่วนเกินทิ้งเหลือไว้แต่ตัวผมติดกับเซลรากผม
ออกมาเป็นอันๆ
แล้วแช่ในน้ำแข็ง
เตรียมนำไปปลูก
ขั้นตอนนี้คนไข้จะนอนพักรอ
ประมาณ ชม.ถึง ชม.กว่าๆแล้วแต่จำนวนเซลรากผมที่ต้องหั่นแบ่ง
ขั้นตอนที่สี่ ทำการปลูกเซลรากผมลงบริเวณที่จะปลูก
หมอจะฉีดยาชาบริเวณที่จะปลูกและใช้เข็มปักนำทางก่อนใช้เหล็กขยายรูหนังศรีษะ(Dilator)
ปักตามลงไปจนครบตามจำนวนที่จะปลูก(จะคล้ายปักเข็มหมุดลงไปบนหมอนปักเข็ม)
เมื่อตอนจะปลูกก็จะถอนDilator
ที่ว่านี้ออกก็จะมีรอยรูเล็กๆที่หนังศรีษะตรงนั้น
แล้วเอาเซลรากผมที่หั่นเตรียมไว้
ใส่ไปในรูดังกล่าว
ซึ่งหนังศรีษะก็จะกระชับหนีบเซลรากผมไว้พอดีไม่ต้องเย็บ
ขั้นตอนนี้อาจจะต้องใช้คนช่วยกันใส่สามถึงสี่คน
เนื่องจากถ้าใช้เวลานานไป
รากผมที่เตรียมไว้อาจจะตายและไม่ติดได้ง่าย
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ
1-3 ชม.แล้วแต่จำนวนกร๊าฟ
ที่ปลูก
หลังปลูกเสร็จอาจจะมีเลือดซึมได้เล็กน้อยใช้ผ้าสะอาดซับเบาๆได้
ยี่สิบสี่ชม.แรกหลังปลูก
ห้ามก้มศรีษะเพราะว่าอาจจะทำให้มีเลือดซึมออกมาตามรอยที่ปลูก
และจะทำให้กร๊าฟหลุดออกมาได้
และงดสระผมสองวัน
หลังจากนั้นก็เริ่มสระผมได้เบาๆ
เพื่อให้สะเก็ดเลือดที่เกาะติดโคนผมหลุดออกไป
ช่วงวันที่ 2-7
วันแรก
จะมีอาการบวมตามหน้าและหนังตามาก
ทำให้รำคาญหน่อยแต่ไม่อันตราย
บางคนอาจจะบวมมากจนหนังตาสองข้างปิดได้
ถ้าบวมมากอาจจะใช้น้ำแข็งประคบช่วยลดบวมได้
ซึ่งการบวมจะมากน้อยขึ้นกับปริมาณจำนวนกร๊าฟที่ปลูกด้วย
ถ้าปลูกมากก็บวมมาก
หลังทำการปลูก
เมื่อผ่าน
สองสัปดาห์ไปแล้ว
กร๊าฟมันจะ
ติดหมดแล้วอาจจะรู้สึกได้ว่าผมที่ปลูกไว้ยาวเพิ่มขึ้นประมาณ
3-4 มม.และจะยาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงประมาณ
หนึ่งเซ้นต์
ในหนึ่งเดือน
หลังจากพ้นเดือนแรกไปแล้ว
ผมส่วนที่ปลูกมา
จะค่อยๆหลุดร่วงออกไป
แต่ไม่ต้องกังวลเป็นการผลัดเปลี่ยนตามปกติ
ซึ่งอีกประมาณหนึ่งเดือนถัดมา(ประมาณเดือนที่สองหลังปลูก)
ผมจะค่อยๆแทงงอกขึ้นมาใหม่
และจะค่อยๆ ยาวขึ้น
และหนาแข็งแรงขึ้นเรื่อยเหมือนผมปกติ
และจะแข็งแรงเต็มที่ภายในประมาณหกเดือน
ถ้าต้องการปลูกแทรกครั้งต่อๆไป
ก็จะทำแต่ละครั้ง
ห่างกันประมาณ
หกเดือน
จนได้ผลลัพท์ที่พอใจ
หรือเหมาะสม ก็หยุด
ค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน
ส่วนใหญ่จะคิดกันตามจำนวนกร๊าฟ
ที่ปลูก โดยอยู่
ที่ประมาณ 60-100
บาทไปจนถึง 150
บาทต่อกร๊าฟ
แล้วแต่หมอ และ รพ.ที่ทำ
หนึ่งกร๊าฟ
ก็หรือหนึ่งกอ หรือ
หนึ่งเซลรากผม
จะมีจำนวนเส้นผมต่างกันไป
ประมาณ 1-4 เส้น คนไทยเราเฉลี่ยมี
ประมาณสองเส้นกว่าๆ
ต่อกร๊าฟ
ถ้าปลูกครั้งละ 500-1000
กร๊าฟ ก็จะตกประมาณ
30,000 -60,000 ไปจนถึง
หลักแสนเหมือนกัน
ผลการปลูกส่วนใหญ่
กร๊าฟที่ปลูกจะติดได้ผลดี
(Take) มากกว่า 95%
ของจำนวนที่ทำการปลูกขึ้นไป
ตัวอย่างภาพการปลูกผม

ภาพแรกนี้เป็นรอยแผลเย็บของแผลส่วนที่ตัดเนื้อจากท้ายทอยมาใช้ซอยแยกปลูก
(เป็นภาพแทนจาก ใน
Internetในภาพขนาดที่ตัด
ยาว12-13
ซมได้กร๊าฟราวๆ 1500กร๊าฟ)
แผลตรงนี้รอยเย็บจะปิดสนิท
และผมจะบังมองไม่เห็นตั้งแต่วันแรกๆที่ผ่าตัด
และ ครบสองสัปดาห์
ก็ตัดไหมได้เลย
หรือถ้าเป็นไหมละลายก็อาจจะไม่ต้องตัด
ถ้าทำผ่าตัดครั้งที่สอง
หรือ 3
ก็จะตัดข้างๆกันซ้อนกัน
ซึ่งผมบังได้มิดเช่นกัน
ตัวอย่างรูป
คนไข้ที่ปลูกผม

ภาพก่อนทำการผ่าตัด
ด้านหน้าผากมีรอยเถิกร่นลึกจากหน้าผากเข้าไปราวๆ
3นิ้ว

ภาพด้านบนกลางศรีษะมีผมบางและเส้นผมเล็กไม่แข็งแรง
Caseนี้
ทำการผ่าตัดปลูกผมเสริม
รวมสองครั้ง
ครั้งแรกปลูกเสริมตรง
ส่วนหน้าผากที่ไม่มีผมเลย
จำนวนประมาณ 800 กร๊าฟ

รูปนี้เป็นภาพผมที่ขึ้นมาจากการปลูกครั้งแรก
ประมาณหกเดือน
(
ขออภัยภาพตอนผ่าตัดครั้งแรกหายไปจากแฟ้ม
ถ้าหาเจอจะเอามาแปะเพิ่มให้ครับ)
ระยะนี้ผมที่ปลูกมาได้หลุดไปหมดแล้ว
และมีผมใหม่ที่เติบโตจากรากผมที่ปลูกใหม่ขึ้นมาแทนตรงเนื้อที่ที่เคยเป็นที่ว่างเก่า
แต่ยังไม่หนาแน่นพอ
ครั้งที่
สองปลูกแทรกตรงหน้าผากเพิ่มความหนาแน่นอีกประมาณ
600-700 กร๊าฟ
และเสริมตรงส่วนที่บางกลางศรีษะ
อีก พันกว่ากร๊าฟ
รวม 1600 กว่ากร๊าฟ

รูปนี้เป็นรอยปลูกแซมด้านหน้าผาก
จากการปลูกครั้งที่สอง
จุดที่ปลูกจะสังเกตุเห็นเป็นรอยจุดเลือดแห้งตามรอยปลูกเป็นจุดๆ
ถ่ายวันที่ 3หลังปลูก

ภาพนี้เป็นส่วนกลางศรีษะที่บางก่อนปลูก
สังเกตุว่าบางส่วนไม่มีผม
บางส่วนผมบางเส้นเล็กไม่แข็งแรงทำให้ดูผมบางมาก

ภาพนี้เป็นภาพหลังการปลูกเสริมตรงส่วนกลางศรีษะ
จากการปลูกครั้งที่สอง
(ครั้งแรกไม่ได้ทำการปลูกที่บริเวณนี้)
ตอนนี้เพิ่งอายุได้
สี่เดือน
ผมตอนนี้ยังเส้นเล็กและสั้น
และไม่หนามาก
ทำให้ยังดูบางเล็กน้อย
แต่ก็หนาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกๆวัน
ภาพนี้หวีปัดผมส่วนอื่นออกไป
ถ้าหวีผมส่วนอื่นมาเสริมก็จะดูหนาเพิ่มขึ้น


อันนี้เป็นภาพด้านหน้าหลังการปลูก
ครั้งสองแล้ว ครบ 6
เดือน
จะเห็นว่าความหนาของเส้นผมเพียงพอแล้ว
รอยเถิกด้านหน้าหายหมดไป
ตีนผมขยับมาเสมอกับผมเดิมตรงกลาง

เอาภาพก่อนทำข้างบนมาเทียบให้ดูใกล้ๆกันอีกครั้ง