แต่ถ้าดูหน้าตาจริงๆ
แล้ว Breitling ตัวนี้
หน้าตาจะไม่เหมือนกับ
ไอ้มดแดงของ Seiko
ซะทีเดียว ตัว Seiko
นั้น วางตำแหน่ง
วงจับเวลา
สองอันไว้เป็นรูปลูกตา
ทั้งสองข้าง ที่ 3
และ 9 น.พอดี แต่ของ
ตัวนี้ กลับวาง
เป็นแนวตั้ง ที่ 9
และ 3 น.
และย้ายตัวเลขบอกวันที่ไปอยู่ที่
3 น.แทน
ส่วนรูปร่าง
ของหน้าปัด
และลักษณะของเข็มนาที
และเข็มชม.
ของทั้งสองรุ่น
ก็คล้ายกัน
รวมทั้งเข็มจับเวลาวินาที
ก็ทรงเดียว กัน
แต่ต่างสี
กันเท่านั้น
ขอบ Bazel ของ Breitling Pult
จะเป็น Rotating Bazel
ปรับหมุนตั้งเวลาได้
ส่วน Tachymetre ที่ใช้คำนวนความเร็ว
ถูกย้ายเข้าไปอยู่ที่
Dial ด้านในแทน
ขนาดตัวเรือน Diameter 41 X46
mm ขนาดBazel 42 และ Diameterกระจก
36 mm. หนา 15.5 mm. สาย 22 มม.
ถือว่าค่อนข้างใหญ่
แต่รูปทรงที่ยาวเพรียว
ก็ทำให้เมื่อสวมกับข้อมือทำให้ดูไม่ใหญ่เทอะทะจนเกินไป
สำหรับกลไกจับเวลาตัวนี้
กดนุ่มมืออย่างเหลือเชื่อ
สำหรับนาฬิกา Vintage
อายุ กว่า 35 ปี
คือนุ่มมือ ไม่แพ้
พวก กลไกจับเวลาแบบColumn
wheel
สมัยใหม่เลยทีเดียว
ส่วนการตั้งเวลา
สำหรับตัวนี้ ไม่มี
Quick Set
แต่การหมุนตั้งวันที่
สามารถ
ทำให้เลื่อนตั้งได้ไว
โดยการหมุนเวลาให้เดินไปมาระหว่าง
21 น. กับ 24 น.กว่าๆ
ซึ่งจะทำให้มีการเปลี่ยนวันที่
ไปครั้งละวัน ได้ (วิธีนี้ใช้กับนาฬิกา
Vintage เก่าๆประมาณ
สามสี่สิบปีก่อนที่ไม่มี
Quick Set ได้ หลายตัว
รวมทั้ง Omega Constallation
บางรุ่นด้วย
ด้านหลัง
เป็นฝาหลังปิดทึบ
สลักหมายเลขรุ่นและ
หมายเลขประจำเรือน
พร้อมกับ ระบุว่า
มีระบบป้องกันการกระเทือน
และป้องกันคลื่นแม่เหล็กได้
(Anti magnetic Shock Resistant )
เปิดฝาดูเครื่องด้านใน
แม้ที่ฝาหลังจะบอกชัดเจน
ว่าเป็นเครื่อง Automatic
Cal 11 17 Jewels
แต่ว่าเมื่อเปิดดูเครื่องแล้ว
จะเห็นว่ามันเหมือนกับเป็นเครื่องไขลานธรรมดา
มองหา Roter เท่าไร
ก็มองไม่เห็น
เล่นเอางงไปเลย
เหมือนกัน :P
แต่เมื่อ
ไปค้นหารูป
เครื่องมาดู
ก็หายงง เครื่อง Cal 11
เครื่องนี้เป็นเครื่อง
Automatic Chronograph
เครื่องแรกของโลก
โดย
ผลิตขึ้นมาในราวปี
1971 เครื่องเดิมเป็น
Automatic Micro Roter แต่ว่า
ได้นำ Module Chronograph
วางซ้อนทับลงไป ทำให้บดบัง
Roter
ขนาดเล็กจนมองไม่เห็น
แปลกไปอีกแบบ
เครื่องตัวนี้
เป็นเครื่องตัวเดียว
กับที่ ใช้ใน Heuer
Autaviaนาฬิกา Vintage
อีกตัวที่ใช้เครื่อง
Cal 11 เหมือนกัน
ที่ผมหามาเก็บไว้คู่กันเรียบร้อยแล้ว
ด้านข้าง
จะเห็นว่า
ด้านบนของตัวเรือน
ค่อนข้างหนา และ
เรียวเล็กมาทางด้านล่าง
โดยปุ่มกดจับเวลา
Start/Stop และ Reset
อยู่ด้านบนเป็นเขาไอ้มดแดง
และมี เม็ดมะยม
อยู่ด้านล่างเป็นลูกกระเดือกไอ้มดแดงแทน
:) พร้อม Logo อักษร ตัว B
ของ Breitling
เหมือนปัจจุบัน
ด้านข้างถ้าเทียบกับ
Seiko ไอ้มดแดง
ล่ะก้อเกือบคล้ายกัน
เช่นกัน
สาย
หนังจระเข้ Original
สภาพสมบูรณ์เหมือนออกจากโรงงานใหม่
พร้อมกับ Buckle
เหล็กประทับตาสัญญลักษณ์
Breitling
สรุป
สำหรับเรือนนี้
เป็นนาฬิกาเก่าสภาพ
สวย
ที่ได้มาในราคาไม่แพงนัก
ทำให้ แม้ตัดใจ
ว่าจะเลิกเล่น Vintage
แล้ว ก็ยังต้องหิ้วติดมือกลับมา
พร้อมกับ ไอ้มดแดง
Seiko ด้วย