จากการที่เล่นกีฬาหลัก
คือ วิ่งตั้งแต่
มินิมาราธอน
ไปจนถึงมาราธอน
วันดีคืนดี เพื่อนๆ
ที่วิ่งด้วยกัน
ชวนให้ไปเล่น
ทวิกีฬา กับไตรกีฬา
ก็เลย ต้อง
หันมาหัดปั่นจักรยาน
กับเค้ามั่ง
หลังจากเข้าไปศึกษา
หาข้อมูลเกี่ยวกับจักรยานใน
เว็บ Thai
Mtb.com ก็เลยติดพัน
เล่นจักรยาน
ทั้งเสือภูเขาประเภทต่างๆ
รวมทั้งจักรยานถนน
ทั้ง เสือหมอบ Time Trial
และ จักรยานไตรกีฬา
โดยได้รับความช่วยเหลือแนะนำ
จากเพื่อนๆในเว็บดังกล่าวมาตลอด
ทำให้ได้
จักรยานหลายแบบ
เข้ามาเก็บไว้ปั่นต่างแบบ
ต่างสไตล์กันไป
เลยรวบรวมเอาไว้เผื่อ
จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ
ในการเลือกซื้อ
รถประเภทต่างๆไว้ใช้
ลองเลือกคลิกดูกันครับ
Menu
COLNAGO C50 HP HM 2005 (Road Bike)
COLNAGO C 40 2003 (Road Bike)
TREK Equinox 11 ( Time Trial Road
Bike)
Klein Adept Pro 2003 (Full
Suspension Mountain Bike)
Klein Attitude 2003 (Hard Tail
Mountain Bike)
DAHON Speed Pro (Folding Bike)
Cannondale F 3000 SL (Hard Tail
Mountain Bike)
Cannondale Iron Man (Triathlon Bike)
TREK Y Frame (Full Suspension
Mountain Bike)
"Cannondale
Ironman"
จักรยานคันแรก
ที่ได้มาเมื่อเริ่มมาเล่นจักรยานจริงจังในรอบนี้
เป็นจักรยานไตรกีฬา
เนื่องจาก
จะหามาใช้
ในการซ้อมและแข่งไตรกีฬา
และทวิกีฬา
หลายคนมักจะตั้งคำถามว่า
จักรยานไตรกีฬา
ต่างกับ
จักรยานอื่น
โดยเฉพาะเสือหมอบอย่างไร
เพราะว่าบางครั้ง
มันก็ดูเหมือนๆกัน
ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันซักเท่าไร
คำตอบคือจุดต่างๆ
หลักๆ ได้แก่
1.องศาของท่อนั่ง(Seat
Tube)
ของจักรยานไตรกีฬา
จะชันกว่า
จักรยานเสือหมอบทั่วไป
เพื่อให้ท่านั่งขี่
ใกล้เคียงกับการวิ่ง
หรือเรียกว่าเป็นการนั่งวิ่ง
ทำให้เมื่อลงจากจักรยานมา
วิ่งต่อ
รู้สึกต่อเนื่องของข้อต่อและกล้ามเนื้อได้ดีกว่า
การใช้รถเสือหมอบธรรมดา
2 .ขนาดของล้อ
จักรยานไตรกีฬาปกติ
จะใช้ล้อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
650 มม.
ซึ่งใกล้เคียงกับล้อของจักรยานเสือภูเขา
ในขณะที่เสือหมอบ
จะใช้ล้อ ขนาด 700 มม.
เหตุผลที่ใช้ล้อขนาดเล็ก
ว่ากันว่า
ช่วยให้ตัวคนปั่นอยู่ใกล้พื้นมากกว่า
เมื่อปั่นโต้ลมแถวริมทะเล
ซึ่งเป็นบริเวณ
ที่นิยมแข่งไตรกีฬา
จะโต้ลมน้อยกว่า
และ
ขนาดล้อที่เล็กกว่า
ทำให้ช่วยผ่อนแรงได้มากกว่า
ล้อใหญ่
ที่ใช้เกียร์เท่าๆ
กัน แต่ว่า
จักรยานไตรกีฬา
สมัยปัจจุบัน ก็มี
ที่ใช้ล้อ 700 มม.
กันบ้างเหมือนกัน
3.จักรยานไตรกีฬา
ส่วนใหญ่ จะมี Aerobar
หรือ ตัวพักแขน
เพื่อช่วยลดอาการล้า
ของแขน
หลังจากขึ้นจากว่ายน้ำ
และยังช่วยให้ ตัวคนขี่ก้มต้านลม
น้อยลงกว่า
การจับแฮนด์ปกติ
สำหรับ Ironman
ของ Cannondale คันนี้
ใช้ล้อ Carbon ใบพัด
สี่แฉกของ Spinergy
ซึ่งได้ชุดล้อและเฟรมปล่าว
มาจากพี่ที่เล่นไตรกีฬา
ในบอร์ด Thai MTB นี่แหละ
เมื่อได้มาแล้ว
ก็จัดการให้ คุณ Tum
Spinbike
ช่วยจัดการประกอบให้
ชุดขับเคลื่อน เป็นGroup
Set Duraace 9 speed ของปี 2003
ถ้วยคอ Christ King
ลูกบันได เดิมใช้ Look
แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้
Dura Ace เหมือนกับ
คันอื่นหมดแล้ว
แฮนด์เป็นแฮนด์เขาควาย
อลูมิเนียม พร้อม
Aerobar เข้าชุดกัน
แต่ปัจจุบัน Aerobar ใช้
Full Carbon ของ Deda แทน
คันนี้ ปั่นสนุก
และเป็นรถที่ผมชินกับมันมากและ
ใช้แข่งไตรกีฬาหรือ
ทวิกีฬา เป็นหลัก
น้ำหนักรวม 9.3 kg
Click กลับไป Menu
" Klein Adept Pro
2003 "
คันนี้เป็นคันที่สอง
หลังจากมีรถถนน(รถไตรกีฬา
คันแรกแล้ว)
เมื่อมาด้อมๆ มองใน
Thai Mtb อยู่ระยะนึง
ก็อยากได้เสือภูเขา
มาขี่บ้าง
หลังจากศึกษา
ระยะนึง คิดว่า
ตัวที่เหมาะกับเราน่าจะเป็น
Full Suspension หรือ
เสือภูเขา 2โช้ค
ที่มีโช้คหลังช่วยซับแรงกระแทกเพิ่ม
และ ได้เห็น เพื่อน
ในบอร์ด บอกขาย Klein Adept
Pro 2003 สีมุก เหลือบดำ
สภาพสวยคันนี้
ก็เลยสอยเอามา แล้ว
ให้ร้านช.พานิช
ลพบุรี
ช่วยประกอบให้
เนื่องจากเป็นคันแรก
เลยเลือก
อะไหล่ที่ค่อนข้างดีหน่อยมาใช้
งบเลยบานปลายไปเยอะเหมือนกัน
อะไหล่ขับเคลื่อนเป็น
Group Set XTR ปี 2003 ทั้งชุด
ล้อ เป็น Mavic
Crosmax SL ปี 2003 ซึ่ลวดแบน
สีเงิน ใส่ยาง Maxis Medusa
พร้อมยางใน
โดยไม่ได้ใช้ จุ๊บ
Tube less เพราะว่า
ไม่อยากใช้ยางที่หนักเกินไป
ถ้วยคอ Christ King
โช้ค หน้า Sid Team
Remote ปี 2003 สีเงิน
โช้คหลัง Fox Float
มี Lock Out ติดมากับ Frame
แฮนด์ ใช้ Hand ยก Carbon Fiber
ของ Eaton รุ่น Monkey lite EC90
Stem และ หลักอาน ของ
Thompson ตามสูตร
คันนี้
ประกอบออกมาแล้ว
น้ำหนัก 10 โลนิดๆ
ถือว่าเป็นFull Sus
ที่น้ำหนักน้อยทีเดียว
ปั่นสบายทั้งทางเรียบ
และ ทางลุย ที่สำคัญ
สวย ครับ สวย จริงๆ
ไม่เสียชื่อ Klein :P
Click กลับไป Menu
" Cannondale F3000
SL"
คันนี้ได้มาทั้งคัน
จากเพื่อนในบอร์ด
เช่นกัน
ที่เอามาเพราะว่า
หลังจากปั่นมาระยะนึง
อยากได้เสือภูเขาหางแข็ง
(Hard Tail ) หรือ เสือภูเขาที่มีแต่โช้คหน้าอย่างเดียว
ไม่มีโช้คหลัง
เอาไว้แจม
กับงานแข่ง
เสือภูเขา
เพื่อความมันส์เล็กๆ
มั่ง
ก็เลยเอาไอ้ปืนใหญ่กระบอกนี้มา
F 3000 SL เป็น Frame Alu
ขนาดท่อแบบ Over size
สวยใหญ่
แต่น้ำหนักเบา
โช้คหน้าเป็นโช้คสปริงแกนเดี่ยว
แบบ Head Shock ของ Cannondale มี Lock
Out
ที่เป็นปุ่มหมุนบิด
อยู่เหนือ Stem
แฮนด์เป็น Hand ยก Carbon Eaton
EC 90 รุ่นยอดนิยม
เช่นเคย
Stem ของ Cannondale
หลักอาน Thompson
ชุดอะไหล่คันนี้ผสม
หลายอย่าง
ใบจานหน้า เป็น ของ
Brand ดัง Race Face ขาจาน ของ
Cannondale
เฟืองท้าย
และมือเบรค ของ XT และ
สับจาน หน้าหลัง และ
V เบรค XTR
ชุดเปลี่ยนเกียร์เป็น
Sram Rocket
ชุดล้อ ติดรถมาเป็น
Roff Propell ขอบ Ceramic
แต่ตอนนี้เปลี่ยนมา
ใช้ Mavic Crosmax XL ปี 2003
ซี่ลวดดำกลม
ยางเป็น Panaracer สีดำ
คาดฟ้า เข้ากับสีรถ
น้ำหนักตัวนี้แต่งเต็มยศ
อยู่แถว 10 โลถ้วนๆ
เบาดี ปั่นพุ่ง (ขี่สนุก
แต่คนขี่แรงไม่ดี
อิๆ )
Click กลับไป Menu
" Trek Y Frame"
คันนี้เป็นอีกคันที่ได้จากเพื่อน
ในบอร์ด Thai MTB
ที่มาที่ไป
เริ่มจากการที่เห็นเพื่อนโพสต์รูปจักรยาน
Trek Y Frame ให้ดูแล้วปิ๊ง
รูปทรงสวยแปลกตาของมัน
ก็เลย
ถามเพื่อนๆในบอร์ดว่าใครเห็นที่ไหน
ยังมีบ้าง
มีคนแนะนำว่า
ที่สิงค์โปร์มี Old Stock
อยู่
ตอนแรกกะฝากใครไปหิ้วมา
แต่ว่าเผอิญมีเพื่อนในบอร์ด
ที่มีอยู่และเสนอมาให้รับดูแล
ก็เลยเอามาดูแลแทนต่อ
คันนี้อะไหล่จะพื้นๆ
โช้คหน้า Judy อะไห ล่ XT
ผสม Deore ล้อ ใช้
ขอบล้อ Mavic 618 ซี่ลวด DT
แต่เจ้าของเก่าชอบความแปลกใหม่เลยจัดการให้
ลุงนำชัย Probike
ถักซี่ลวดให้คนดูตาลายเล่นๆ
:P ส่วนยาง
นี่เปลี่ยนมาใส่
Panaracer Speedblaster 1.75
สีแดงดำให้เข้ากับสีโช้ค
ซะหน่อย :)
คันนี้เวลาโดดแล้วรู้สึกเหมือนโช้ค
จะอ่อนไปหน่อย
เด๋วนี้เลย
กลายเป็นรถที่ลูกสาว
คนโต
ใช้ขี่เล่นออกกำลังกายไปแทน
นน.รถทั้งคัน 12 Kg
Click กลับไป Menu
" Colnago C40 B
Stay " ITM uniko
คันนี้เป็นเสือหมอบคันแรก
ที่อยากได้เพราะว่า
บางครั้งจะไปแจมปั่นออกทริป
กับกลุ่มเสือหมอบ
หรือ
ขอไปแจมงานแข่งมือใหม่เสือหมอบ
เค้าจะห้ามรถแฮนด์หงาย
หรือแฮนด์เขาควาย
อย่างจักรยานไตร
เข้าแจมเนื่องจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัย
ดังนั้นเลยต้องหาเสือหมอบมาประจำการ
ฝีมือการประกอบคันนี้
ก็เป็นของคุณ Tum Spinbike
เช่นกัน Frame เป็น Colnago C40
2003 full Carbon พร้อมตะเกียบ
Full Carbon Star fork ของ Colnago
ที่ติดมาให้ด้วยพร้อม
อุปกรณ์ขับเคลื่อนชุดนี้เนื่องจาก
ช่วงนั้น Duraace 2004 10 Speed
เพิ่งออกมาใหม่ๆ
เห็นความเนียนของอุปกรณ์
แล้วเหนือกว่า Duraace 9
Speed 2003
มากในราคาที่ไม่ต่างกันมากนัก
ก็เลยตัดสินใจรอ
จนได้ ของปี 2004 มาใช้
และก็ไม่ผิดหวัง:)
ชุดถ้วยคอ ใช้ Christ King
เจ้าประจำเช่นเคย
Handle Bar เป็น Full Carbon ของ Easton
(เพิ่งรู้ว่า Easton
ก็ทำแฮนด์เสือหมอบ
นึกว่าดังแต่แฮนด์เสือภูเขาซะอีก
:P)
Stem เดิมใส่ Carbon ของ Pazzas
แต่ไปฮ่องกงเห็น Stem
full carbon Monocoq ของ ITM รุ่น Uniko
ชิ้นเดียวไม่มีรอยต่อ
เบาและสวยดี
เลยจับเอามาเปลี่ยนใส่
ให้
ลูกบันได Duraace
สีเดียวกับ
ชุดขับเคลื่อน
หลักอาน เป็นของ Colnago
ที่แถมมาให้พร้อมกับ
Frame (ในขณะที่ Frame ของ C50
จะขายแยก
หลักอานต่างหากแล้ว)
อาน
เป็นเบาะหนังควาย
โครง Carbon ของ Sella Italia
สุดท้ายรองเท้าที่สัมผัสพื้น
เป็นล้อCarbon Zip 404
กับยาง Half High Pressure ของ
Continental
แต่ถ้าวันไหนลมพัดแรง
บางครั้งจะเลือกใช้
ล้อสำรอง Shimano Duraace 2004
แทน
น้ำหนักรถทั้งคันพร้อมอุปกรณ์ครบชุด
7.2 Kg
Click กลับไป Menu
" Trek Equinox 11
Time Trial "
คันนี้เห็นรูปในเว็บโปรไบค์ครั้งแรก
ตอน
ที่เริ่มเปิดตัว
ปลายปี 46
แต่ของยังไม่ออกมาจริง
โดยมาทั้งคันครบชุด
พร้อมกับ อุปกรณ์
Ultraga ผสม Duraace
ดูมันสวยดี
และใช้เฟรมตัวเดียวกันกับตัว
US Postal Team Time Trial ตัวแข่ง Time
Trial ของ Lance Arnstrong
ซึ่งเพื่อนพี่ๆ
แถวพระราม 9
ใช้กันหลายคน
แต่ต่างสีกัน
จึงได้คุยกับคุณนที
แห่ง Probike
ช่วยให้นำเข้ามาให้ถ้าผลิตออกมาจริง
พอผลิตเสร็จจริงที่
USA ตอนราวเดือน พค.และเข้ามาถึงบ้านเรา
ตอนมิย - กค. 47
เข้ามาแต่เฟรม Size S
ตัวนี้ตัวเดียว
ก็เลยสั่งมาประกอบในที่สุด
ตัว Frame ตัวนี้เป็น OCLV
Carbon ของ Trek
ตะเกียบคาร์บอนด์
เช่นกัน
ถ้วยคอที่ให้มากับชุดเฟรมเป็น
Cane Creek
ยังไม่ได้เปลี่ยนแต่อย่างใด
รวมทั้ง หลักอาน ของ
Bontrager ขนาดยาวแค่
สิบกว่าเซ็นต์อีกหนึ่งอัน
ชุดขับเคลื่อนใช้
Group Set Dura Ace 2004 10 Speed โดยใช้
Bar End Shifter
ตามสไตล์จักรยาน Time
Trial โดยใช้ร่วมไปกับ
ชุด Handlebar และ Aerobar
ปรับระดับได้ ของ Oval
Concept ยึดติดด้วย Stem Carbon
ของ Pazzas ขนาด 90 ยก 5 (เนื่องจากเฟรมไซซ์เล็กสุดซึ่งก็คือ
Size S ของตัวนี้
เทียบเท่ากับ 52
ซึ่งใหญ่ไปนิดนึงสำหรับคนสูง
170 อย่างผม
เลยต้องลดขนาด Stem
ดึง ระยะ Reach ให้สั้นเข้า
พร้อมกับลดหลักอานลงต่ำ
ผลคือลงตัว พอดี
มือเบรค เป็นของ Trekto
เบาะเป็นเบาะหนัง
ของ Sella Italia ตัวสวย
นั่งสบาย
ที่ผมชอบมันเป็นพิเศษ
เลยเลือกมาใช้กับรถหลายๆคัน
ลูกบันได เป็น Dura Ace
เข้าชุดกับ Group Set
เช่นกัน
ประกอบมาครบแล้ว
เหลือสุดท้ายรองเท้า
ที่จะสัมผัสกับพื้น
เลือกใช้ Wheel Set ของ Zip 909
หลัง Disc หน้า ขอบ Aero High
Profile จานดิสต์หลัง
ออกแบบสวยดี
ผิวจานดิสต์
ทำเป็นหลุม Dimple
เล็กๆเหมือนผิวลูกกอล์ฟ
เพื่อหวังผลในการตัดแหวกอากาศได้ดี
ลดแรงต้าน
น้ำหนักตัวพร้อมอุปกรณ์ครบเซ็ท
ชั่งก่อนชกได้ 8.9 Kg
หนักพอสมควรแต่ว่า
ด้วยองศาท่อนั่งที่ตั้งชันทำให้เหมาะกับการนำมาใช้ในการแข่งไตรกีฬา
และทวิกีฬา
เพื่อความต่อเนื่องหลังจากลงจากอาน
มาวิ่งต่อ
จึงเป็นอีกตัวหนึ่งที่ชอบครับ
:P
Click กลับไป Menu
"Klein Attitude
2003"
หางแข็งตัวที่
2
ที่เอามาเข้าคู่กับ
F 3000 SL
คันข้างบนคันนี้
ได้จากเพื่อนในบอร์ด
คันนี้สภาพที่ได้มาเหมือนใหม่เลย
สวยและสมบูรณ์มาก
เจ้าของเดิมซื้อจาก
Probike แล้ว
แต่งไปหลายอย่างแต่
ตอนหลังเปลี่ยนใจ
ไปหลงไหลเสือหมอบมากกว่า(เหมือนผมเลย)
ก็เลยปล่อยคันนี้ออกมา
ด้วยความที่ชอบ Klein
เป็นทุนอยู่แล้ว
เลยจับมาขังไว้ในคอกเพิ่มอีกตัว
คันนี้ ตัว Frame เป็น
Attitude 2003
สีนี่บอกยากจังว่าสีอะไร
เพราะว่ามันเป็นสีเมตตัลลิค
สะท้อนแสง
มองบางมุมเป็นสีเขียวเข้ม
แต่บางมุมออกสีม่วง
บางมุมออกดำไปเลย
ภาพนี้เลยถ่ายให้มันเห็นสีทุกๆ
สีที่มองเห็นด้วยตาปล่าวซะเลย
:P
อะไหล่ถูกเปลี่ยนไปเกือบหมด
ชุดขับเคลื่อนถูกเปลี่ยนเป็น
XT Group Set กับบันได
คลิปเลส Shimano
โช้คหน้าเปลี่ยนมาใช้
Fox Fork รุ่น Terra Logic F80(ระยะยุบตัว
80 มม.)
ซึ่งเป็นโช้คที่มีระบบ
Automatic Lock Out
หรือล้อคอัจฉริยะ
ถ้าวิ่งทางเรียบปกติ
โช้คจะถูกล้อคไม่ให้ยุบตัวทำให้ไม่กินแรงปั่นแล้วพุ่งได้ดี
แต่เมื่อเจอหลุมบ่อหรือสิ่งกีดขวาง
จะสามารถยุบตัวได้เองโดยอัตโนมัติ
สะดวกไม่ต้องคอยล้อค
คอยปลดด้วยตัวเอง
Stem เจ้าของเก่า ใส่
Thompson ขนาด 110 ยก 5
มาแต่ตัวผมเล็กกว่าสูงแค่
170 ซม. ทำระยะเอื้อม(Reach)ของรถ
Frame Size M คันนี้ยาวไปหน่อย
สำหรับผม
เลยจัดการเปลี่ยนใส่
Thompson 90 ยก 5
ซึ่งทำให้ระยะเอื้อม
ลดลง 2 ซม.ทำให้กำลังพอดีทีเดียว
แฮนด์เดิมเจ้าของใส่แฮนด์ตรง
พร้อมบาร์เอนด์
แต่ส่วนตัวชอบแฮนด์ยกเลยเอา
แฮนด์ Carbon Easton Monkey lite EC90
มาใส่แทน
ล้อเป็น ล้อยอดนิยม
Wheel Set Crossmax XL ปี 2002 สีดำ
ซี่ลวดกลม ใส่ยาง Maxis
Tubeless
มาให้จากเจ้าของเดิม
แต่ผมเอง ไม่ชอบยาง
Tubeless เท่าไรคิดว่า
จะเปลี่ยนเป็นยางธรรมดา
ที่เบากว่าแทนต่อไป
คันนี้
เท่าที่ลองปั่นดู
สวย เบา พุ่ง
โช้คหน้าทำงานได้ยอดเยี่ยม
น้ำหนักรถ
รวมทั้งคันพร้อมยาง
Tubeless รวม 11 Kg ไม่เบา
แต่ก็ไม่หนักจนเกินไป
แ ต่สวยนะ ว่ามั้ย :P
Click กลับไป Menu
Colnago C50 HP HM 2005
พระโค คันนี้
เอาเข้ามาประจำการแทน
ตัว Colnago C40 ตัวเก่า
ที่ไซซ์ 52
ซึ่งคร่อมไซซ์ใหญ่เกินไปนิดนึงสำหรับคนสูง
170 อย่างผม ในที่สุด
ก็ตัดสินใจ
เลือกเปลี่ยนมาเป็น
ตัวนี้ ซะเลย
ตัวนี้เป็น C 50 2005 ซึ่ง
เป็นตัวที่ ทาง Colnago
เปลี่ยนวัสดุที่ใช้
มาเป็น Himodular (HM) carbon
ซึ่งทำจากเส้นใยคาร์บอน
ถักขึ้นรูปเหมือนผ้าลายสอง
แทนการวางเรียงเส้นใยตามปกติ
ทำให้ได้คาร์บอด์
ที่แข็งแรงขึ้น
แต่มีน้ำหนักเบาลง
กว่าตัวเดิมอีกเล็กน้อย
สำหรับไซซ์
ที่เลือก
ใช้เป็นขนาดเล็กสุด
ของ C50 ที่มีทำออกมา
ก็คือ Size 450 Sloping
ซึ่งเทียบเท่ากับ Size
48 ปกติ (ในขณะที่พวก
Traditional bike หรือ
ท่อบนตรงธรรมดา
มีขนาดเล็กสุด แค่ 52
เท่านั้น)
ถ้าจะเลือกใช้ ไซซ์
ที่ใหญ่กว่านี้
อีกหนึ่งไซซ์ ก็คือ
480 Sloping
ก็จะได้เท่ากับ
ไซซ์ 52 ปกติ
ซึ่งใหญ่เกินไปนิดนึงสำหรับผม
ดังนั้นตัวที่
น่าจะเหมาะสุดก็คงเป็น
450 Sloping ตัวนี้นี่แหละ
อุปกรณ์ขับเคลื่อนสำหรับคันนี้
นับเป็นครั้งแรก
ที่ผมแหกค่ายนอกใจ
Shimano มาใช้ อะไหล่
ของค่าย Campagnolo
จากอิตาลีแทน
โดยเลือกชุดอะไหล่
Group Set Record รุ่นขาจาน
คาร์บอน
ซึ่งเป็นตัว Top
ของค่ายนี้มา
สังเกตุขาจานคาร์บอน
ของ Record
ตัวนี้ทำเป็นลายหินอ่อน
สวยแปลกตา
กว่าคาร์บอน
ลายถักทั่วๆไป
ใบจานหน้า
เลือกใช้ขนาดกลางๆ
53-39 ส่วน เฟืองหลัง 10
จาน เลือกใช้ ขนาด 12-25
โดย 4 จานใหญ่เป็น
Titanium ในขณะที่อีก 6จานเล็กที่เหลือ
เป็นชุดจานStainlees Steel
ซึ่งก็เหมาะกับการปั่นทางราบ
เป็นส่วนใหญ่
ถ้าต้องขึ้นเขาชันๆ
อาจจะต้องหาจานหลังใหญ่กว่า
นี้ มาใชัอีกซักชุด
Stem
ยังคงประทับใจ กับ ITM
Unika Monocoqe
อันเก่าจึงได้ถอดจากคันก่อน
ตามมาใช้กับคันนี้
Handle Bar ใช้
รุ่นเดิมคือ EC 90 Carbon
ของ Easton
แต่โดนหลายคนยุให้ลองหา
แฮนด์สวยๆของ ITM
มาใส่คู่กัน
สงสัยเจ็บตัวอีกรอบแหงๆ
:)
สำหรับล้อ
ตอนนี้ได้ Campagnolo Bora Ultra
2006 มาใส่แทน ล้อ Campagnolo
รุ่นNeutron
ที่ได้จากเพื่อนในบอร์ด
ให้มาเอาเป็นล้อซ้อม
และ
ล้ออะไหล่ไปในตัว Bora
ตัวใหม่
จะมีตัวหนังสือ Ultra
สีแดงตัวเบ้อเริ่มเห็นได้ชุด
ดุม Ceremic ในชุดล้อมี
Adaper สำหรับต่อกับจุ๊บยาง
ที่ต่อแล้ว
สามารถเติมลมผ่านจุ๊บได้ดีกว่า
Adaptor ทั่วไป
เนื่องจากวาล์วของจุ๊บยาง
จะย้ายมาอยู่ด้านบนด้วยเลย
สะดวกดี
ล้อหลังขึ้นซี่ลวด
21 เส้น แบบ 2:1
สวยแปลกตากว่าการขึ้นทะแยงกันทั่วไป
ขอบล้อคาร์บอนด์
ทำให้ต้องเลือกใช้
ผ้าเบรค Cork pad
เพื่อไม่ให้ทำลาย
ขอบล้อ
อาน ตอนนี้
ได้ Fizik Arione wing flex Twinflex Full carbon
ลายKevlar สีขาว
สลับดำมาใส่
สวยนุ่มก้น
นั่งสบายดี :)
นน.รวมคันนี้
ล่าสุดชั่งพร้อม
บันได
และขากระติกน้ำไม่รวม
กระป๋องน้ำ หนัก 7.1
กก.
สำหรับความรู้สึกที่ได้ปั่น
บอกตามตรงว่ามีความสุขกับมันมาก
ความเร็วที่ทำได้
เพิ่มจาก C40 คันเก่า
อย่างเห็นได้ชัด
คือ เร็วกว่าประมาณ
4-5 กม.ชั่วโมง
ทั้งที่เหนื่อยๆ
พอๆกัน ฟิตพอๆกัน
สาเหตุหลักคิดว่าคงเป็นจากไซซ์
รถที่พอดีตัวมากขึ้นกว่า
คันเก่าเป็นหลักนั่นแหละ
ซึ่งก็แสดงว่าคิดถูกแล้ว
ที่ตัดสินใจเปลี่ยน
เพราะว่าความเร็วที่ต่างกันขนาดนี้
มีผลต่อการแข่งมากพอสมควร
อย่างเช่นการแข่ง
ทวิกีฬา
ที่ต้องปั่น
จักรยานประมาณ 40 กม.
ผลต่าง ของเวลา
ตกประมาณ 6-8 นาที
ซึ่งถือว่าไม่น้อยทีเดียว
ถ้าไม่งั้นต้องไปวิ่งไล่ตามเอาเวลาคืนอีกซี่โครงบาน
:)
Click กลับไป Menu
" DAHON Spreed Pro
"
จักรยานจิ๋วคันน้อย
Brand ของ USA แต่ว่า
มาผลิต ในไต้หวัน
คันนี้
เป็นเล็กพริกขี้หนู
แต่ก่อนแต่ไร
ไม่เคยสนใจพวกจักรยานพับได้
หรือ Folding Bike เลย
แต่ว่า
หลังจากออกทริปปั่นกับเพื่อนๆหลายคน
ทางไกล พบว่ามีเพื่อนๆ
ใช้ Folding Bike ทั้ง Bike Friday
และ Dahon
ร่วมทริปปั่นกันมาก
และแถมปั่นได้ความเร็วไม่แพ้เสือภูเขาดัดแปลง
และเสือหมอบซะด้วย
จนชักเริ่มสนใจบ้างแล้ว
จนทริปปั่น กับ TOT
ไปอยุธยา
มีเพื่อนใช้ Folding Bike
ร่วมทริปกันหลายคันมากจึงได้ขอลองดู
ปรากฏว่ามัน
มันส์กว่าที่คิดไว้เยอะเลย
ปั่นได้ความเร็วดี
ไม่กินแรงมาก
ไม่เมื่อยไม่อืดอย่างที่คิด
ยิ่งเห็นตัว Speed Pro
สีสันสดใสตัวนี้
ของพี่ร่วมทริป
ยิ่งอยากได้เอามาพับไว้ยัดท้ายรถเวลาเดินทางไกล
ทันที
และในที่สุดก็ได้มันมา
คันที่ดูเหมือนยาวๆ
(แต่ความจริงแล้ว
ระยะต่างๆ set
มาใกล้เคียงกับรถขนาดมาตรฐาน
ปั่นได้สบาย
แต่ล้อเล็ก
เลยทำให้ดูหลอกตา
แต่พอพับ แล้ว
เหลือแค่ที่เห็น (ใช้เวลาพับประมาณ
สิบวินาทีเท่านั้น
มองจากด้านข้างก็เหลือความหนาเท่านี้หนาพอสมควร
แต่บันไดที่ถอดปลอดได้แบบ
Quick Release
ก็ทำให้ขนาดลดลงไปได้อีกเล็กนอ้ย
เนื่องจากยางที่ใส่มา
เป็นยางขนาดเล็กเหมือนยางเสือหมอบ
ดังนั้นถ้าเจอทางเรียบ
ล่ะก็วิ่งปลิวลม
แต่ถ้าเจอทางขรุขระ
ก็สะเทือนพอสมควร
เกียร์ที่ใช้กับคันนี้
จานหน้ามีจานเดียว
แต่ว่ามีเกียร์อยู่ในดุมหลัง
สามเกียร์
แทนจานหน้าสามจานได้เป็นอย่างดี
ส่วนจานหลัง
เป็นจานแยก 7
จานเหมือนเสือหมอบและเสือภูเขาทั่วไป
ดังนั้น 3X7 หรือ 21
เกียร์นี่พอรองรับสถานะการณ์
ของทางลาดชันต่างๆได้ดีพอสมควร
น้ำหนักตัวนี้
ตามสเป็คโรงงาน
บอกว่า
หนักสิบโลกว่าๆ
แต่ผมชั่งจริง ครบ
ชุด ตกประมาณ 11.5 โล
อ่ะ
ก็ถือว่าน้ำหนักกลางๆ
ใครสนใจ Folding Bike
เจ็บๆลองแวะไปดู
เว็บ DAHON
Bike.com หรือไปที่
World Bike รามอินทรา
ดูก็ได้ ครับ
เค้ามีทั้ง Dahon Giant และ
แบรนด์ไต้หวันราคาไม่แพง
ส่วนแฟน Trek ก็ไปที่
Probike มีเหมือนกัน
ครับ
ถ้าแฟนพันธ์แท้ Bike
Friday
ก็แวะไปสั่งตัดได้ที่เว็บของเค้า
ที่ USA อ่ะbikefriday.com
Click กลับไป Menu