ยอดเขาที่สูงเกิน
8000 เมตรในโลกนี้
ที่สำรวจพบ
มีรวมทั้งหมด 14 ยอด
และ 14 ยอดนี้
อยู่ในเอเชียทั้งหมด
โดยอยู่ในส่วนของ
เทือกเขาหิมาลัย
และเทือกเขา Karakoram (ซึ่งจริงๆแล้ว
ก็เป็นส่วนนึงของเทือกเขา
หิมาลัย (Great Himalayan )
เช่นกัน
มาไล่ตามลำดับความสูงกันเลย
อันดับ
1 Everest รอยต่อ เนปาล
และ ธิเบต(จีน)
ความสูง 8848 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรก
เมื่อ 29 พค. 1953
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 3684
คน
อันดับ
2 K2 อยู่ที่ รอยต่อ
ปากีสถาน และ
ธิเบต(จีน)
ความสูง 8611เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรก
เมื่อ 31 กรกฏา 1954
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 284
คน
อันดับ 3
Kangchenjunga
อยู่ที่รอยต่อ
เนปาล และ อินเดีย
ความสูง 8586 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรก
เมื่อ 25 พค. 1955
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 209 คน
อันดับ 4 Lhotse
อยู่ที่รอยต่อ
เนปาล และ ธิเบต(จีน)
ความสูง 8516 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรก
เมื่อ 18 พค. 1956
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 221 คน
อันดับ 5 Makalu
อยู่ที่ รอยต่อ
เนปาล และ ธิเบต(จีน)
ความสูง 8485เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 15 พค. 1955
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 234 คน
อันดับ 6 Cho Oyu
อยู่ที่รอยต่อ
เนปาล และ ธิเบต(จีน)
ความสูง 8201 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 19 ตค. 1954
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 2668 คน
อันดับ 7
Dhaulagiri 1 อยู่ ใน เนปาล
ความสูง 8167 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 13 พค. 1960
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 358 คน
อันดับ 8 Manaslu
อยู่ใน เนปาล
ความสูง 8163 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 9 พค. 1956
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 297 คน
อันดับ 9 Nanga
Parbat อยู่ใน
ปากีสถาน ความสูง
8126 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 3 กค. 1953
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 287 คน
อันดับ 10
Annapurna 1 อยู่ใน เนปาล
ความสูง 8091 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 3 มิย. 1950
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 153 คน
อันดับ 11
Gasherbrum 1 (Hiden Peak )
อยู่ที่รอยต่อ
ปากีสถาน และ
ธิเบต(จีน) ความสูง
8080 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 5 กค. 1958
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 265 คน
อันดับ 12 Broad
Peak อยู่ที่รอยต่อ
ปากีสถาน และ
ธิเบต(จีน)ความสูง
8051 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 9 มิย. 1957
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 359 คน
อันดับ 13
Gasherbrum 2
อยู่ที่รอยต่อ
ปากีสถาน และ
ธิเบต(จีน) ความสูง
8034 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 7 กค. 1956
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 =836 คน
อันดับ 14
Shichapangma อยู่ที่
ธิเบต(จีน) ความสูง
8027 เมตร
ถูกพิชิตครั้งแรกโดย
เมื่อ 2 พค. 1964
จำนวนคนที่ขึ้นถึงยอด
รวมถึง มิย. 2008 = 274 คน
ตาราง
สถิติที่น่าสนใจ (จาก
Wikepedia)
จากตาราง
จะเห็นได้ว่า จาก 14
ยอดที่สูงเกิน 8000
ของโลก
ยอดที่มีคนขึ้นไปมากที่สุด
ก็คือยอดที่สูงสุด
หรือ Everest
ซึ่งมีคนขึ้นไปแล้วเกือบ
4 พันคน
รองมาคือ Cho Oyu (โชยุ)
ซึ่งเป็นยอดสูงอันดับ
6 ที่ตามหลัง Everest
อยู่ราวๆ
หนึ่งพันคน (
เนื่องจากเป็นยอดที่เกิน
8 พันที่ว่ากันว่าปีนง่ายสุด
และกลุ่มผมเคยมีแผนจะไปกันในปี
2013 แต่ว่า ค่า Permit (ใบอนุญาติในการปีนเขา)
ที่ขึ้นราคาจาก
คนล่ะ 1500 $ หรือ 45000 บาท
มาเป็น 8500 $ หรือ กว่า
250000 บาท
รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆที่ทาง
ธิเบตเก็บขึ้นแพงมาก
ทำให้โครงการ ต้องชะงักกันไป
และ
อาจจะส่งผลต่อยอดการปีน
Cho Oyu ลดลงมาบ้าง)
ที่น่าแปลกใจ
คือ ยอดการปีน Annapurna
ซึ่งเป็นยอด 8
พันแรก ที่ถูกพิชิต
และ ตัว ABC หรือ Annapurna Base
Camp ของที่นี่
ถือเป็น Trek ยอดนิยม
รองจาก EBC
แต่กลับมียอดคนพิชิต
น้อยสุดแค่ 153 คน
เมื่อดูจากรูปทรงของภูเขา
แล้วการปีนคงค่อนข้างยากเนื่องจากเป็นหน้าผาหินชัน
และเมื่อดูไปที่อัตราการตาย
พบว่า Annapurna
มีอัตราการตายสูงสุดในการขึ้นยอด
คือ อยู่ที่เกือบ 40%
ในขณะที่ Everest
อยู่ที่แค่ 6%
เท่านั้น
ส่วนยอดเขา
ที่มีอัตราการตาย
อยู่ในลำดับ 2-3 คือ K2
และ Nanga Parbat
อยู่ที่ราวๆ 22 -23%
แม้ว่า K2
จะถูกยกให้เป็นยอดเขาที่
ปีนยากที่สุด
ส่วนยอดเขาที่ปีนยากสุด
และอันตรายสุด
ก็คือ K2
ยอดสูงอันดับสอง
ซึ่งจะเห็นว่า
ในระยะแรกก่อนปี 1990
นั่น อัตราตายต่อ คนประสบความสำเร็จ
นี่ กว่า 40%
หรือเกือบครึ่ง แต่
ในทุกๆยอด
จะเห็นว่าอัตราการตาย
หลังปี 1990
ลดลงอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจากความสะดวกของเส้นทาง
การจัดการ
และอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างมากนั่นเอง
ทำให้คนปีนเขารุ่นหลังๆ
พิชิตยอดสูงได้ง่ายกว่าคนรุ่นบุกเบิกมากมาย
ข้อโต้แย้ง
ว่า ยอดเขา Everest
เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกจริงหรือ
แม้ว่า
จะรู้กันดีอยู่แล้วว่ายอด
ของ Everst
เป็นจุดที่สูงที่สุด
ของโลกคือ อยู่สูง
8848 หรือ 8850 เมตร
เหนือระดับน้ำทะเล
แต่ความสูงของภูเขา
ถ้าวัดเป็นความสูงของตัวภูเขา
จริงๆ
ตั้งแต่ฐานภูเขาที่พื้นดินถึงยอด
นั้น
แช้มป์ภูเขาที่มีความสูงจากพื้นดินที่ฐานไปถึงยอดมากที่สุด
คือ Mt McKinley ที่ยอดเขา
อยู่ที่ระดับความสูง
6,194 m
เหนือระดับน้ำทะเลแต่
ภูเขานี้
ตั้งอยู่บนที่ราบที่สูง
300-900
เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
หรือ เฉลี่ย 600 เมตร
ดังนั้น ความสูง
วัดจากฐานถึงยอดเขา
จะสูงเฉลี่ยประมาณ 5600
เมตร
ในขณะที่ Everest
ตั้งอยู่บนที่ราบสูงธิเบต
ซึ่ง อยู่ที่ระดับ
4200-5200 เมตร หรือ
เฉลี่ย 4700
เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ดังนั้นความสูงจากฐาน
ถึงยอดของ Everet
จึงอยู่ที่ระดับประมาณ
3,650 เมตร ถึง 4,650 เมตร
หรือ เฉลี่ย เท่ากับ
4150 เมตรเท่านั้น
ในขณะที่
ถ้านับตั้งแต่ฐานของภูเขาจริงๆไปถึงยอด
โดยไม่คำนึงว่าฐานอยู่บนดินหรือไม่
แช้มป์จะเป็นของ Mt.Mauna
Kea ใน ฮาวาย
โดยยอดเขานี้
สูงจากระดับน้ำทะเลเพียง
4205 เมตร
แต่ถ้าวัดจากฐาน
ถึงยอดจะสูงมากกว่r
10,200 เมตร
เนื่องจากภูเขานี้
ที่ฐานที่จมอยู่ลึกลงไปใต้มหาสมุทร
อีกกว่า 6 กิโลเมตร
จุดสูงสุดของโลก
ถ้าไม่วัดจากระดับน้ำทะเล
แต่ว่า
เปลี่ยนไปวัดจากจุดศูนย์กลางของโลกแทน
แช้มป์ได้แก่
ยอดเขา Chmborazo ใน Ecuador
ซึ่งยอดมันสูงจาก
ระดับน้ำทะเล แค่ 2,168 เมตร
แต่ว่า
อยู่ห่างจากศูนย์กลางของโลก
6,384.4 km(กิโลเมตร) ในขณะที่
ยอดของ Everest
อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางโลก
6,382.3 km (น้อยกว่า 2.1 กม.)
เนื่องจากโลกเราป่อง
ออกตรงกลาง แถวศูนย์สูตร
มีระยะห่าง
จากศูนย์กลางโลก
มากกว่า
แถวขั้วโลกหรือ
ส่วนอยู่อยู่ห่างออกไป
สถิติที่น่าสนใจอื่นๆ
ของการปีนยอดเขา
ที่สูงเกิน 8000
เมตรของโลก
คนที่ พิชิต
ยอดเขา ที่สูง เกิน
8000 เมตร
ได้เป็นคนแรก
ของโลก คือ Maurice Herzog และ
Louis Lachenal โดยขึ้นยอด
Annapurna 1 ได้เมื่อ 3
มิถุนา 1950
คนที่พิชิต
8-Thousander ครบ 14
ยอดเป็นคนแรกของโลก
คือ Reinhold Messner
คนเหล็กจากอิตาลี
ทำได้ครบ ในปี 1986 และที่น่าทึ่งก็คือ
Messner พิชิตยอดเขาทั้ง
14 โดยไม่ได้ใช้
อ๊อกซิเจนช่วยด้วย
สำหรับ
Messner
เค้าที่มีเรื่องราว
ที่น่าสนใจมากมาย
โดยเฉพาะ
ดราม่าในการปีนเขา
Nanga Parba ในปี 1970 กับทีม
และน้องชาย แล้ว
พลัดหลง กับน้องชาย
ท่ามกลางพายุหิมะ
ขณะที่ติดบนยอด
โดยไม่มีเต็นต์และแค้มป์
ที่เค้าคิดว่าถูกหิมะถล่มพัดกระเด็นแยกไป
ไม่พบตัว
หลังจากตามหาและ
พยายามช่วยตัวเองอยู่
6 วัน
กว่าจะกลับถึงแค้มป์
เค้าโดนหิมะกัดจนต้องตัดนิ้วเท้าไป
6 นิ้ว
ทำให้ปีนภูเขาหินต่อได้ไม่ดีนัก
เลยหันไปปีนเขาสูงที่เต็มไปด้วยหิมะแทน
จนพิชิต14
ยอดเขาสูงสุดของโลก
ได้ครบเป็นคนแรกของโลกในปี
1986 เป็นคนแรกของโลก
เรื่องราวของเค้าได้ถูกไปสร้างเป็นภาพยนต์
เรื่อง Nanga Parbat
ออกฉายเมื่อเดือนกรกฏาคม
2010 คนนี้น่าติดตาม
เรื่องราว
เค้าน่าสนใจหลายอย่าง
ไว้ว่างๆ
จะรวบรวมเรื่องของเค้าอีกที
คนที่สอง
ที่พิชิต ครบ14 ยอด
คือ Jerzy Kukuczka
เก็บได้ครบหมด
หนึ่งปีให้หลัง
คือปี 1987
คนที่สอง
ที่พิชิตยอดเขาสูง
ทั้ง 14
ยอดครบโดยไม่ได้ใช้อ๊อกซิเจน
เช่นเดียวกับ Messner
คือ Erhard Loretan
ซึ่งกว่าจะเก็บทำได้ครบ
ก็ในปี 1995 หรือ 9 ปี
หลัง Messner
หญิงคนแรกที่ปีนครบ
14 ยอด เป็นคนแรก
นี่มีปัญหาให้ถกเถียงกัน
เมื่อ
Oh Eun Sun จากเกาหลีใต้
เคลมว่าปีนได้ครบ 14
ยอด
เมื่อสามารถพิชิต
Annapurna 1
ได้เป็นยอดสุดท้าย
ใน วันที่ 27 เมษา 2010
แต่จากการตรวจสอบ
แล้วพบว่า
การปีนยอด Kangchenjunga
ในปี 2009
ของเธอไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าประสบความสำเร็จจริง
จึงทำให้สถิติของเธอไม่ได้รับการยอมรับ
และในเวลาการปีนที่ช่วงทับซ้อนกัน
คือ วันที่ 17 เมษายน
2010 Annapurna เช่นเดียวกัน
Edurne Pasaban
สาวชาวสเปนที่พิชิตยอดแรก
ด้วยการขึ้น Everest
ในปี 2001 ก็เก็บยอด
ที่ 13
ของเธอได้ที่นี่
หลังจากพิชิตยอด
ที่ 13 แล้ว
เธอเดินทางต่อไปยัง
ธิเบตของจีน
ต่อทันที
และหลังจากนั้นเพียง
1 เดือน คือในวันที่
17 พฤษภาคม 2010
เธอก็เก็บยอด Shichapangma
ยอดเขาที่ต่ำสุดในบรรดา
14
ยอดทั้งหมดในธิเบต
ได้สำเร็จ
และได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการให้
Edurne Pasaban
เป็นหญิงคนแรกของโลก
ที่พิชิต 8-Thousander
ได้ครบ 14 ยอด
หญิงคนแรกที่
พิชิตยอดทั้ง 14ยอด
ได้โดยไม่ใช้อ๊อกซิเจนช่วย
คือ Gerlinde Kaltenbrunner ทำได้
ในเดือน สิงหาคม 2011
นี่เอง
สถิติล่าสุดถึงปี
2011 มีผู้พิชิต 8-Thousander
ครบ 14
ยอดได้แล้วทั้งหมด
27 คน (ในจำนวนนี้เป็นชาว
อิตาลี และ
เกาหลีใต้ ถึงชาติละ
4 คน และ คาซัคสถาน ,
สเปน ,โปแลนด์
ชาติละ3 คน)
คนที่ปีนยอดเขาสูงเกิน
8000 มากครั้งที่สุด(แต่ไม่ครบทั้ง
14 ยอด) คือ Phurba Tashi
ชาวเนปาลปีนมาแล้ว
26 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1998-2011
อันดับสองที่ตามมาคือ
Juanito Oiarzabal ปีนมาแล้ว 25
ครั้ง ในช่วงปี 1985-2011